Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45804
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูลen_US
dc.contributor.authorนนท์ชนิตร อาชวพรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:05:20Z
dc.date.available2015-09-17T04:05:20Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45804
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องมือวัดอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาครู 2) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับศตวรรษที่ 21 ระหว่างสถาบันผลิตครู และ 3) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาครู ตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 หรือที่กำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพอยู่ในสถานศึกษาของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐ จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบวัดอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาครู วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้กลุ่มวิธีกำหนดน้ำหนักความต้องการจำเป็น Weight needs index (WNI) ด้วยสูตร WNIc ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. เครื่องมือวัดอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยความตรงเชิงเนื้อหามีค่าดัชนี IOC อยู่ระหว่าง 0.600 – 1.000 ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.932 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูง และมีความเที่ยงแต่ละองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.861 - 0.915 ส่วนค่าอำนาจจำแนกของทุกข้อ สามารถจำแนกคนที่มีอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมสูงและต่ำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ในภาพรวมนิสิตนักศึกษาครูมีพฤติกรรมที่สื่อถึงการเป็นครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก และเมื่อพิจารณาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับศตวรรษที่ 21 ในภาพรวม ทั้ง 2 องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ พบว่า ส่วนใหญ่นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับศตวรรษที่ 21 สูงกว่านักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง 3. การมีความรู้และสามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ถือเป็นประเด็นที่มีความต้องจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาอันดับเป็นอันดับที่ 1 ในทุกๆ มหาวิทยาลัย รองลงมาคือ การผลิตผลงานการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย และความสามารถในการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้ นักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมมากที่สุด รองลงมาคือ นิสิตครูของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to 1) develop an instrument to measure innovative teacher identity for the 21st century 2) explore and compare innovative teacher identity for the 21st century levels of student teachers and 3) analyze needs of developing innovative teacher identity for the 21st century of student teachers. The sample consisted of 348 student teachers from the Faculty of Education in four public universities: Chulalongkorn University, Kasetsart University, Srinakharinwirot University and Ramkamhang University. Data were collected through innovative teacher identity for the 21st century format questionnaire. Descriptive analysis and Weight Needs Index (WNI) by WNIc were used for data analysis. The research findings were as follows: 1. The quality of this innovative teacher identity for the 21st century format questionnaire was good. The content validity was between 0.600 – 1.000. For convergent validity, the result showed the confirmatory factor analysis with reasonable criteria for evaluating the fitness of measurement model. All model fit statistics fell within acceptable range, which indicated that the measurement model fit was reasonable. The reliability of the overall questionnaire and of each subscale was relatively high. Cronbach’s alpha for the overall scale was 0.932 and subscales were between 0.861 - 0.915. The scale could discriminate to high and low group of innovative teacher identity as well. 2. Student teachers performed innovative teacher behaviors at moderate to high level. Student teachers at Srinakharinwirot University had significantly higher innovative teacher identity for the 21st century than student teachers at Ramkamhang University on several indicators. 3. Knowing and ability to use ICT tools for learning management need the development the most, follow by generating up-to-date learning works and ability to communicate for learning management through ICT. Besides, student teachers at Ramkamhang University need the development of innovative teacher identity the most, followed by student teachers at Chulalongkorn University, Kasetsart University and Srinakharinwirot University orderly.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.609-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการประเมินความต้องการจำเป็นth
dc.subjectคริสต์ศตวรรษที่ 21th
dc.subjectอัตลักษณ์th
dc.subjectนักศึกษาครู -- ไทยth
dc.subjectNeeds assessmenten_US
dc.subjectTwenty-first centuryen_US
dc.subjectIdentity (Philosophical concept)en_US
dc.subjectStudent teachers -- Thailanden_US
dc.titleอัตลักษณ์ครูเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาครู: การประเมินความต้องการจำเป็นen_US
dc.title.alternativeINNOVATIVE TEACHER IDENTITY FOR THE 21ST CENTURY OF STUDENT TEACHERS: A NEEDS ASSESSMENTen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorauyporn.ru@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.609-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683344527.pdf8.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.