Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45891
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีรฉัตร์ สุปัญโญen_US
dc.contributor.advisorวีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนาen_US
dc.contributor.authorชนินทร์ ต่วนชะเอมen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:20:26Z-
dc.date.available2015-09-18T04:20:26Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45891-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนากระบวนการการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับพระสงฆ์เพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ 2.ศึกษาผลการพัฒนากระบวนการ การศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับพระสงฆ์เพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ 3.ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากระบวนการ การศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับพระสงฆ์เพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ และ 4.พัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนากระบวนการ การศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับพระสงฆ์เพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของพระสงฆ์ ได้แก่พระสงฆ์ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 รูป กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนากระบวนการ ได้แก่พระสงฆ์3รูปที่สมัครใจเข้าร่วมกระบวนการเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1.พระสงฆ์ส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องการฉันอาหารไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และการไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยปัญหาด้านสุขภาวะของพระสงฆ์ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1)การฉันอาหารครบ 5 หมู่ 2) การออกกำลังกายที่เหมาะสม 3) การตรวจสุขภาพ 4) การนำผลการตรวจมาดูแลตัวเอง 5) การหาความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการดูแลสุขภาพ ในขณะที่พระสงฆ์มีความต้องการในเรื่องการรักษาสุขภาพ และการหาความรู้ที่ถูกต้อง รวมทั้งมีความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้มีความเป็นรูปธรรมชัดเจน 2.กระบวนการการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับพระสงฆ์เพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาวะ ประกอบด้วย 1.) วิเคราะห์ปัญหา ประเมินและวินิจจัยความต้องการการเรียนรู้ ทางด้านสุขภาวะ 2.) กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเรียนรู้ 3.) ออกแบบแนวทางการเรียนรู้ 4.) กำหนดแนวทางการประเมินความสำเร็จ 5.) สร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลความฉลาดทางสุขภาวะ 3.ผลการวิเคราะห์คะแนนความฉลาดทางสุขภาวะ ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า พระสงฆ์มีคะแนนความฉลาดด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ในขณะที่ผลการสัมภาษณ์ พบว่า พระสงฆ์ที่เข้าร่วมโครงการเห็นว่า กิจกรรมทั้งหมดมีความเหมาะสมสำหรับพระสงฆ์ ทำให้รู้จักดูแลตนเองได้ เข้ากับผู้อื่นได้ ในสังคม ชุมชน ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น สุขภาพจิตสดชื่น ได้รับสาระประโยชน์ 4. ปัจจัยส่งเสริมในการนำกิจกรรมไปใช้ ประกอบด้วย 1) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ด้านผู้เรียน 3) ด้านกระบวนการ 4) ด้านเนื้อหาสาระ และเงื่อนไขการนำกิจกรรมไปใช้ ประกอบด้วย 1) ด้านสถานที่ 2) ด้านเวลา 3) ด้านผู้เรียน 5.ยุทธศาสตร์การพัฒนากระบวนการการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับพระสงฆ์เพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาวะประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาวะสำหรับพระสงฆ์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การวางแนวทางการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาวะสำหรับพระสงฆ์ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การวางแนวทางประเมินผลการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาวะสำหรับพระสงฆ์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความต่อเนื่องของกระบวนการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาวะสำหรับพระสงฆ์en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of these research were to 1)develop an informal education process to enhance health literacy for Buddhist monks, 2)study development results of an informal education process to enhance health literacy for Buddhist monks, 3)analyze factors and condition relavant to the development of an informal education process to enhance health literacy for Buddhist monks,and 4)propose strategy for the development of an informal education process to enhance health literacy for Buddhist monks. The research sample for the study of problems and needs of Buddhist monks consisted of 500 Buddhist monks in Bangkok Metropolitan.The data were analyzed by using descriptive statistics and content analysis. The major findings were as follows: 1. Most of Buddhist monks had problems in eating food with incorrect nutrition and did not exercise regularly. The top five health problems of Buddhist monks included 1)eating five food groups, 2)correct exercise, 3)health check-up, 4)self-care using the result of health check-up and 5)searching knowledge about health care.The needs of Buddhist monks included health care and searching correct knowledge about health care, as well as need for concrete health problem solving. 2. An informal education process for Buddhist monks to enhance health literacy composed of 1) analyzed problem and need of health care learning , 2) defined objectives and learning goals, 3) designed guidelines for learning, 4) defined guidelines for assessing the success , and 5) created tools for collecting data of health literacy. 3.The subjects’ means scores of health literacy after participating in the program were higher than before with respect to both knowledge attitude and practice, while the result of interviews with the Buddhist monks showed that all activities were suitable for them,help them know how to take care of themselves, and made them stronger both physically and mentally. 4.The supporting factors in these activities were activities, learners, facilitator ,and learning content while the conditions were places, time, and learners. 5.There were strategy for the development of an informal education process to enhance health literacy for Buddhist monks including:1) identifying goals and objectives of an informal education process to enhance health literacy for Buddhist monks, 2) developing guidelines for informal education process to enhance health literacy for Buddhist monks, 3) developing guidelines for assessing the success an informal education process to enhance health literacy for Buddhist monks ,and 4) promoting the continuity of an informal education process to enhance health literacy for Buddhist monks.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.643-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียน
dc.subjectการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
dc.subjectสุขภาวะ
dc.subjectสงฆ์ -- ไทย
dc.subjectNon-formal education
dc.subjectAdult learning
dc.subjectWell-being
dc.subjectPriests, Buddhist -- Thailand
dc.titleการพัฒนากระบวนการการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาวะสำหรับพระสงฆ์en_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF AN INFORMAL EDUCATION PROCESS TO ENHANCE HEALTH LITERACY FOR BUDDHIST MONKSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWeerachat.S@chula.ac.th,drpaw@hotmail.comen_US
dc.email.advisorWirathep.P@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.643-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284278627.pdf9.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.