Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45896
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา แก้วเทพen_US
dc.contributor.authorจิรเวทย์ รักชาติen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:20:31Z
dc.date.available2015-09-18T04:20:31Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45896
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการศึกษากรอบความรู้เรื่องเพศในเพลงไทยพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงขอบฟ้าทางความคิดเกี่ยวกับเรื่องเพศในสังคมไทยในแต่ละยุคสมัยซึ่งปรากฏในบทเพลงไทยที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศให้แก่คนในสังคมในแต่ละช่วงเวลาร่วมกันกับพื้นที่การสื่อสารอื่นๆ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษากรอบความรู้เรื่องเพศที่กำหนดความเป็นชาย ความเป็นหญิง และความสัมพันธ์ชายหญิงที่ปรากฏในเนื้อร้องของบทเพลงไทยประเภทต่างๆ โดยออกแบบงานวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบโบราณคดีของความรู้ในส่วนของการศึกษาวัตถุของวาทกรรมในการศึกษาผู้ชาย ผู้หญิง และความสัมพันธ์ชายหญิงในฐานะของวัตถุแห่งความรู้เรื่องเพศที่ปรากฏในเนื้อร้องของบทเพลงไทยประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมาจนถึงปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า กรอบความรู้เรื่องเพศที่ปรากฏในสังคมไทยตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงปัจจุบันที่กำหนดความเป็นชาย ความเป็นหญิง และความสัมพันธ์ชายหญิงนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ กรอบความรู้เรื่องเพศแบบเดิมจากศาสนาที่อาศัยหลักของการจัดระเบียบซึ่งพบในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และกรอบความรู้เรื่องเพศแบบใหม่จากวิทยาศาสตร์ที่อาศัยมนุษย์เป็นศูนย์กลางของการจัดการความสัมพันธ์ต่างๆ โดยจะเริ่มพบรอยแตกระหว่างกรอบความรู้เดิมที่เปลี่ยนแปลงเข้าสู่กรอบความรู้แบบใหม่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่4 และได้รับการยอมรับโดยสมบูรณ์หลังการเปลี่ยนแปลงพ.ศ.2475 เป็นต้นมา นอกจากนี้กรอบความรู้ยังแสดงความสัมพันธ์กันระหว่างพื้นที่การสื่อสาร อำนาจของสถาบันที่สร้างหรือกำหนดความรู้ และรูปแบบของความรู้ที่มีเหตุผลในแต่ละช่วงเวลาอย่างแยกไม่ออกอีกด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeThe research of sexual episteme on Thai songs aims to reveal the horizon of thoughts about sexual knowledge in Thai history from Thai songs. The lyrics in Thai songs perform an educational function of sexuality concept to people in Thai society together with other communication areas. The objectives of this study are to study sexual episteme defining masculinity femininity and their sexual relationships appear on the various sorts of Thai songs. This qualitative research employed archaeology of knowledge (the formation of objects) as a methodology. The objects of sexual discourse are ‘man’, ‘woman’ and ‘man-woman relations’ in lyrics of Thai songs during Rattanakosin era (C.1781-2013) The result reveals that during Rattanakosin era to the present, sexual episteme defining masculinity, femininity and sexual relationships can be divided into two types of sexual episteme as follows: 1) the old sexual episteme according to religion employed concept of ‘Order’ for sexual knowledge in early Rattanakosin era (c.1781-1855) and 2) the new sexual episteme according to science knowledge employed ‘Human’ as the center of sexual relationship management established since the King Rama IV era and developed perfectly after the democratic revolution (c.1932-2013). In addition, the episteme reveals correlation among the communication areas, the power of the institutions that constructing and ordering knowledge and the different forms of rational knowledge in Thai history.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.648-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเพศ
dc.subjectเพศในดนตรี
dc.subjectเพลงไทย
dc.subjectวจนะวิเคราะห์
dc.subjectSex
dc.subjectSex in music
dc.subjectSongs, Thai
dc.subjectDiscourse analysis
dc.titleกรอบความรู้เรื่องเพศตามทัศนะของฟูโกต์ในเพลงไทยen_US
dc.title.alternativeFOUCAULT'S SEXUAL EPISTEME ON THAI SONGSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKanjana.Ka@Chula.ac.th,kkeawthep@hotmail.com,kkeawthep@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.648-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5285101328.pdf6.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.