Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45909
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิธิดา จรุงเกียรติกุลen_US
dc.contributor.advisorเกียรติวรรณ อมาตยกุลen_US
dc.contributor.authorประศักดิ์ สันติภาพen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:20:39Z-
dc.date.available2015-09-18T04:20:39Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45909-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างการดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวมของผู้รับบริการในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้รับบริการในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในจังหวัด กาฬสินธุ์ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 31 คน รวม 62 คนด้วยวิธีจับคู่ โดยควบคุมอายุ สถานะทางสังคมเศรษฐกิจ ความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด กลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมเป็นเวลา 12 สัปดาห์รวม 108 ชั่วโมงโดยวิเคราะห์ผลก่อนและหลังการทดลอง ผลจากการวิจัยมี ดังนี้ 1) รูปแบบกิจกรรมอันเกิดจากการบูรณาการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่พัฒนาขึ้นมี 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นเตรียมการระดับมหภาค ขั้นเตรียมการระดับจุลภาค(ชุมชน) ขั้นดำเนินโครงการ ขั้นขยายผลโครงการ และ 12 ขั้นตอนย่อย คือ (1) การกำหนดวัตถุประสงค์และเลือกหลักการการเรียนรู้ (2)การกำหนดเนื้อหาและเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (3) การทดสอบ (4) การประเมินผลความเหมาะสมปลอดภัย (5) การสำรวจชุมชน (6) การประเมินบริบทชุมชน (7)การนำแหล่งเรียนรู้ ทรัพยากรเรียนรู้ในชุมชนมาประยุกต์ใช้ (8) การปรับปรุงกิจกรรมด้วยใช้หลัก วิกฤติ วิพากษ์วิจารณ์ วินิจวิเคราะห์ วิสัยเปลี่ยน/ทัศนคติเปลี่ยน (9) การดำเนินกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยเชิงบูรณาการ (10) การประเมินผล (11) การตรวจสอบปัจจัยเงื่อนไข และ (12) การรายงานนำเสนอคู่มือ 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมฯที่พัฒนาขึ้น พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้เพิ่มขึ้น(ค่าเฉลี่ยมากขึ้น 4.26) ทัศนคติเชิงบวกดีขึ้น(ค่าเฉลี่ยมากขึ้น 0.17) ทัศนคติเชิงลบลดลง(ค่าเฉลี่ยน้อยลง 0.09) พฤติกรรมเชิงบวกดีขึ้น(ค่าเฉลี่ยมากขึ้น 0.24) พฤติกรรมเชิงลบลดลง(ค่าเฉลี่ยน้อยลง 0.09) นอกจากนี้พบว่า การใช้ยาลดลง ดัชนีมวลกายลดลง เส้นรอบเอวลดลง อารมณ์เชิงบวกดีขึ้น อารมณ์เชิงลบลดลง และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (p-value<0.05) 3) ปัจจัยส่งเสริมการจัดกิจกรรมตามรูปแบบกิจกรรมฯที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ความร่วมมือของชุมชน กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ให้เกิดการตีความเอง เนื้อหาที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ เงื่อนไขของการใช้รูปแบบกิจกรรมฯ ประกอบด้วย การกำหนดเวลาและระยะเวลา แหล่งเรียนรู้ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการตีความ และสถานที่จัดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน 4) ผลการประเมินคู่มือและรูปแบบกิจกรรมอันเกิดจากการบูรณาการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอยู่ในระดับดีมากen_US
dc.description.abstractalternativeThe main purpose of this study was to develop the non-formal education activity model to enhance self-holistic care of clients in primary health care units. The experimental and controlled samples were 31 clients in each group. Totally, 62 clients in primary health care unit in Kalasin province volunteered to participate in the experiment. The activities consisted of 108 hours of 12 weekly classes. The paired baselines for age, socioeconomic status, blood pressure, and fasting plasma glucose level were conducted. The pre-post tested data were analyzed. The findings were as followed; 1) The developed non-formal and informal education integrated activity model consisted of 4 main levels: general, community, project, results extension, and 12 sub-steps: (1)planning for objectives and learning principles; (2)designing for contents and activities; (3)try-out; (4)evaluating safety; (5)surveying community; (6)assessing context; (7)improving activities by using community resources; (8)designing comprised of dilemma awareness, dialog or discourse, determine premise, diversify attitude; (9)non-formal and informal education integrated activities; (10)evaluating; (11)monitoring the factors and conditions; and (12)reporting the manual. 2) The results of model implementation showed that experimental group improved in knowledge(increased x̄ = 4.26), positive-attitude(increased x̄ = 0.17), negative-attitude(decreased x̄ = 0.09), positive-practicing(increased x̄ = 0.24), negative-practicing(decreased x̄ = 0.09), and other aspects: drug usage, body mass index, waist circumference, global mood scale were better than before experiment with significant different (p-value<0.05) compared to controlled group. 3) The supporting factors included community co-operation, symbolic activities, contents that serve of needs and problems. The conditions were timing, symbolic learning resources and suitable place in community that relevant to the life styles. 4) The results of an evaluation of activity manual and the developed model were reported as very good in health promoting application.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างการดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวมของผู้รับบริการในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF A NON-FORMAL EDUCATION ACTIVITY MODEL TO ENHANCE SELF HOLISTIC HEALTH CARE OF CLIENTS IN PRIMARY HEALTH CARE UNITSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuwithida.C@Chula.ac.th,Suwithida.C@chula.ac.then_US
dc.email.advisorkiatiwanamatyakul@yahoo.comen_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384233427.pdf8.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.