Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46019
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติen_US
dc.contributor.advisorสังวรณ์ งัดกระโทกen_US
dc.contributor.authorเสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:21:31Z
dc.date.available2015-09-18T04:21:31Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46019
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยและองค์ประกอบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended learning) ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 2) ศึกษาปัจจัยและองค์ประกอบในกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 3) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานและกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และ 4) ศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานและกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed methods research) แบบ Embedded design ซึ่งเก็บข้อมูลเชิงปริมาณกับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ จำนวน 545 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานจำนวน 1 รายวิชา พร้อมทั้งสัมภาษณ์ผู้สอนและผู้เรียนในรายวิชา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินผลงาน แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โมเดลสมการโครงสร้าง และวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเกต และสัมภาษณ์ผู้สอนและผู้เรียนเพื่อตรวจสอบความตรงของข้อมูล สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1) จากการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยเปรียบเทียบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีตัวแปรการเรียนการสอนแบบผสมผสานและกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นตัวแปรเชิงสาเหตุและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีตัวแปรปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียนการสอนแบบผสมผสานและกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีตัวแปรการเรียนการสอนแบบผสมผสานและกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นตัวแปรเชิงสาเหตุสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่าโมเดลปฏิสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานและกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เนื่องจากจากการพิจารณาค่า Chi-square/df เท่ากับ 39.959 เท่า ประกอบกับค่าดัชนีความสอดคล้อง (AIC = 29387.991, GFI = .271, AGFI = .183, RMR = .0860) แสดงให้เห็นว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานและกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ไม่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทั้งนี้ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้สอนประยุกต์กลยุทธ์การเรียนการสอนที่หลากหลายเข้ากับกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และใช้ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ มากกว่าการบูรณาการ 2) จากการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเป็นโมเดลที่สามารถปรับเพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ได้เหมาะสมที่สุด โดยโมเดลที่พัฒนามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square 94.869, df = 77, p = .0816, GFI = .979, AGFI = 0.962, RMR = 0.0147, RMSEA = 0.0207) ซึ่งตัวแปรกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน สามารถอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรตาม คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ได้ร้อยละ 29.1 โดยองค์ประกอบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานเป็นองค์ประกอบที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (b= .194 ,SE = .070) และการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานมีความสัมพันธ์กับกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (b = .702, SE = .031) นอกจากนี้จากการสังเกตและสัมภาษณ์ผู้เรียน พบว่า กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นกระบวนการที่ผู้สอนประยุกต์ในกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดให้ผู้เรียนตลอดภาคการศึกษา อาทิ การตั้งคำถาม การระดมสมอง การสร้างห้องเรียนที่ยิดหยุ่น เป็นต้น 3) จากการวิเคราะห์โมเดลความถดถอย ตัวแปรปัจจัยในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานและกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ทั้ง 10 ปัจจัย สามารถอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ได้ร้อยละ 23 โดยตัวแปรกิจกรรมการเรียนรู้เป็นตัวแปรเดียวที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (b = .137) ทั้งนี้ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ อาทิ การศึกษาจากกรณีศึกษา การลงมือปฏิบัติ การทำโครงงานเดี่ยวและกลุ่ม เป็นต้น เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้en_US
dc.description.abstractalternativeThe aims of this research study were to 1) examine blended learning indicators and factor that enhance creative problem solving abilities 2) investigate creative problem solving indicators and factor that enhance creative problem solving abilities 3) investigate the interaction between blended learning and creative problem solving that enhance creative problem solving abilities and 4) analyse blended learning and creative problem solving variables that affect creative problem solving abilities. This study was conducted by mix methods research with embedded design, the quatitative phase was conducted with 545 pre-service teachers, and the qualitative data was observed from one classroom. Interview was conducted with the instructor and learners. The research instruments were questionnaire, assessment form, observation form, and semi – structural interview. The quantitative result was calculated using descriptive statistic, Pearson product moment correlation, and structural equation model, while the qualitative data from observation and interview was analysed through content analysis. The results were as follow: 1) The result from comparing the validating data between the structural equation model and the interaction structural equation model showed that the structural equation model was more valid than the interaction structural equation model; it was fitter to the empirical data. The model indicated that the goodness of fit test of interaction structural equation model was Chi-square/df = 39.959, AIC = 29387.991, GFI = .271, AGFI = .183, RMR = .0860. This validated result demonstrated that the interaction between the blended learning instruction and the creative problem solving process could not affect creative problem solving performance, the result from qualitative data showed that the instructors applied many approaches in learning activities that were in form of mix approach rather than integration creative problem solving approach in various learning activities. 2) The hypothetical structural equation model was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was Chi-square 94.869, df = 77, p-value = .0816, GFI = .979, AGFI = 0.962, RMR = 0.0147, and RMSEA = 0.0207. This model accounted for 29.1% of variance in blended learning and creative problem solving affecting creative problem solving abilities. The blended learning instruction could enhance creative problem solving performance significantly (b = .194, SE = .070); and, blended learning instruction related statistically with creative problem solving process (b = .702, SE = .031). The result from observation and interview showed that the instructor applied creative problem solving approach in blended learning with various strategies such as questioning techniques, brainstorming, and flexible classroom. 3) The regression result showed that blended learning and creative problem solving variables could report variance of creative problem solving abilities for 23%; only learning activities variable affected creative problem solving abilities significantly (b = .137). Learning activities such as case study, practicing, doing individual and group projects and others were found in observation data.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.727-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเรียนรู้แบบผสมผสาน
dc.subjectการแก้ปัญหา
dc.subjectแบบจำลองสมการโครงสร้าง
dc.subjectวิจัยแบบผสมผสาน
dc.subjectBlended learning
dc.subjectProblem solving
dc.subjectStructural equation modeling
dc.subjectMixed methods research
dc.titleปัจจัยในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานและกระบวนการเรียนรู้แก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์en_US
dc.title.alternativeFACTORS IN ORGANIZING BLENDED LEARNING AND CREATIVE PROBLEM SOLVING LEARNING PROCESSES THAT AFFECTS CREATIVE PROBLEM SOLVING ABILITIES OF PRE-SERVICE TEACHERen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPraweenya.S@chula.ac.then_US
dc.email.advisorSungworn@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.727-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484252427.pdf5.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.