Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46152
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูลen_US
dc.contributor.authorชนิกามาศ จันทร์เจริญสุขen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:22:36Z-
dc.date.available2015-09-18T04:22:36Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46152-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู และ 2) เปรียบเทียบมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูที่มีการประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ก่อนและหลังการทดลอง ตัวอย่างวิจัย คือ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีบัญชีผู้ใช้เฟสบุค (Facebook) จำนวน 42 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experiment design) แบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง มีระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดมโนทัศน์ในการทำในชั้นเรียนของครู ซึ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน และด้านความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง .87 และ .76 ตามลำดับ ค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .33-.80 และค่าความยากอยู่ระหว่าง .23-.73 โดยแบบวัดในแต่ละด้านจะแบ่งประเด็นย่อยออกเป็น 4 ประเด็น คือ การกำหนดประเด็นปัญหาวิจัย รูปแบบการทำวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย และการสะท้อนคิดจากผลการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการทดสอบความแตกต่างโดยใช้ไคสแควร์ (Chi-square) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการศึกษาลักษณะมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูก่อนการทดลองตามรายด้านและรายประเด็นย่อย พบว่า ด้านความเชื่อเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน ในภาพรวมครูส่วนใหญ่มีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในบางส่วน โดยประเด็นที่พบความคลาดเคลื่อนบางส่วนมากที่สุด คือ ด้านระเบียบวิธีวิจัย รองลงมา คือ ด้านการกำหนดประเด็นปัญหาวิจัย ส่วนด้านความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ในภาพรวมครูส่วนใหญ่มีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนบางส่วน โดยประเด็นที่พบความคลาดเคลื่อนบางส่วนมากที่สุด คือ ด้านระเบียบวิธีวิจัย 2) ผลการศึกษาเปรียบเทียบมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูที่มีการประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ก่อนและหลังการทดลอง พบว่า ในภาพรวมหลังการทดลอง ครูมีระดับ มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ลดลง ทั้งในด้านความเชื่อเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน และด้านความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยในด้านความเชื่อเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน ครูมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนลดลงในประเด็นย่อยด้านระเบียบวิธีวิจัย ด้านรูปแบบการทำวิจัย และด้านการกำหนดประเด็นปัญหาวิจัย ตามลำดับ ส่วนด้านความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน ครูมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนลดลงเฉพาะในประเด็นย่อยด้านระเบียบวิธีวิจัยen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to 1) study the feature and level of teachers’ misconceptions in classroom action research in learning processes and 2) compare teachers’ misconceptions in classroom action research in learning processes between pre-post experiments via online social network. The participants of this research were 42 teachers under the Office of the Basic Education Commission who have a Facebook account. This research was a quasi-experimental design by using a one–group pretest-posttest method, within 12 weeks interval. The research instrument was a teacher’s conceptions test which consisted of belief checklists, and a knowledge and understanding test about classroom action research evaluating in 4 issues; defining research problem, research form, research methodology and research reflection. The test had the validity content between .60 to 1.00. The reliability of belief checklists was .87 while knowledge and understanding test was .76. Furthermore, the difficulty and discrimination indices of the knowledge and understanding test were .23-.73 and .33-.80 respectively. The data were analyzed by using descriptive statistics and Chi-square. The research findings were as follows: 1) The feature and level of teachers’ misconceptions in classroom action research of pre-experiment following the belief about classroom action research was found that almost the teachers had some misconceptions. The issues that had the most misconceptions were research methodology and research problem. On the other hand, the knowledge and understanding about the classroom research was found that almost teachers had some misconceptions about research methodology. 2) After an experiment, teachers’ misconceptions in classroom action research were decreased for both the belief and the knowledge and understanding about the classroom action research in overall. The belief about classroom action research was decreased on research methodology, research form and defining research problem. On the other hand, the knowledge and understanding about the classroom research was decreased only on research methodology.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อแก้ไขมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูen_US
dc.title.alternativeAN APPLICATION OF LEARNING PROCESSES VIA ONLINE SOCIAL NETWORK TO CORRECT TEACHERS’ MISCONCEPTIONS IN CLASSROOM ACTION RESEARCHen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAuyporn.Ru@Chula.ac.th,rauyporn@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583849027.pdf5.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.