Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46213
Title: ชิ้นส่วนชุดช่องท่อสำเร็จรูปและวิธีการติดตั้งสำหรับอาคารชุดพักอาศัย
Other Titles: READY MADE PIPING SYSTEM AND INSTALLATION METHOD FOR RESIDENTIAL CONDOMINIUM BATHROOM
Authors: จุฑารัตน์ ประสานพิมพ์
Advisors: วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vorasun.B@Chula.ac.th,vorasun1@gmail.com
Subjects: ห้องน้ำ -- การออกแบบและผังพื้น
เครื่องสุขภัณฑ์ -- การติดตั้ง
ท่อพลาสติก
โพลิสไตรีน
งานท่อสุขภัณฑ์
สุขาภิบาลในบ้านเรือน
Bathrooms -- Designs and plans
Plumbing fixtures -- Installation
Pipe, Plastic
Polystyrene
Plumbing
Sanitation, Household
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ห้องน้ำเป็นส่วนของอาคาร ที่ใช้เวลาในการก่อสร้างมากที่สุด จึงเกิดแนวคิดเรื่องห้องน้ำสำเร็จรูปขึ้นเพื่อลดเวลาในการก่อสร้าง อาคารชุดพักอาศัยเป็นการผลิตห้องชุดที่มีรูปแบบซ้ำกันเป็นจำนวนมาก จึงเหมาะสมสำหรับการใช้ระบบการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป เพราะนอกจากจะช่วยลดเวลาในการก่อสร้างแล้ว ยังสามารถควบคุมคุณภาพการผลิตได้จากโรงงาน และลดปัญหาการขาดแรงงานฝีมือ ห้องน้ำสำเร็จรูปในประเทศไทยนั้น สามารถแยกตามระบบโครงสร้างได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1) ระบบ “Precast concrete”เป็นการผลิตแยกชิ้นส่วน ตามขนาดของระนาบแต่ละด้าน จากในโรงงานและนำไปประกอบในพื้นที่ก่อสร้าง แต่ผลิตเพื่อใช้ในการก่อสร้างในโครงการของตนเองเท่านั้น ไม่ได้ผลิตเพื่อการแยกจำหน่าย 2) ระบบ “Bathroom Pods” มีรูปแบบการผลิตแยกชิ้นเช่นเดียวกับระบบ Precast concrete แต่ใช้โครงสร้างเหล็กและวัสดุปิดผิวที่เน้นความเบา สามารถติดตั้งได้สามแบบคือ แบบประกอบสำเร็จจากโรงงาน, แบบแยกชิ้นส่วนนำไปประกอบหน้างาน, แบบแยกชิ้นส่วนนำไปประกอบหน้างานภายในช่องผนัง(สำหรับอาคารเก่า) 3) ระบบ “System Bath Module” หรือชื่อย่อ “SBM” เป็นรูปแบบกึ่งสำเร็จรูป คือผลิตแยกเป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กโดยขนาดของแผ่นจะขึ้นอยู่กับวัสดุปิดผิวที่เลือกใช้ และขนส่งชิ้นส่วนไปประกอบในพื้นที่ก่อสร้าง บริษัทผู้ผลิตอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ยังไม่นิยมใช้งานห้องน้ำสำเร็จรูป เนื่องจากมีราคาต้นทุนต่อห้องที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการก่อสร้างห้องน้ำทั่วไป และผู้รับเหมายังไม่ต้องการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานจากระบบที่คุ้นเคย จึงเกิดแนวคิดในการทำงานวิจัย “ชิ้นส่วนชุดช่องท่อสำเร็จรูป” เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการก่อสร้างและแก้ปัญหางานระบบสุขาภิบาล ชิ้นส่วนชุดช่องท่อสำเร็จรูป ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ “ชุดงานระบบสุขภัณฑ์” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของงานวิจัย และ “ชุดงานระบบช่องท่อ” ซึ่งเป็นส่วนเสริมที่ช่วยลดความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งท่อ ชุดงานระบบสุขภัณฑ์เป็นการออกแบบชุดท่อระบบสุขาภิบาลสำเร็จรูปในพื้นที่ส่วนแห้ง ทำการติดตั้งโดยการยึดแขวนบนผนังโครงสร้างของห้องน้ำ โดยใช้เวลาติดตั้งประมาณ 15 นาที (ไม่รวมการติดตั้งโถส้วม)และใช้แรงงานในติดตั้งเพียง 2 คน น้ำหนักรวมของชิ้นงานทั้งชุด 43.94 กิโลกรัม ด้วยน้ำหนักเพียงเท่านี้จึงทำให้สามารถขนส่งได้ด้วยกำลังคน การขนส่งด้วยรถบรรทุก 6 ล้อ สามารถบรรจุได้ประมาณ 40 ชุด/รอบ ค่าก่อสร้างทั้งชุดรวมบรรจุภัณฑ์ 3,658 บาท จากกรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยขนาด 8 ชั้น จำนวน 240 ห้อง หากติดตั้งชิ้นส่วนชุดช่องท่อสำเร็จรูปจะทำให้มีต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 920 บาท/ห้อง แต่สามารถลดเวลาการก่อสร้างได้ 24 วัน/อาคาร ทำให้ส่งมอบงานได้เร็วขึ้น เมื่อคำนวณการส่งมอบในครั้งแรกเป็น 25% ของจำนวนห้องทั้งหมด จะมีกำไรจากการก่อสร้างที่เสร็จเร็วขึ้น 62,328 บาท/อาคาร การซ่อมแซมระบบท่อสามารถถอดและยกส่วนชิ้นส่วนผนังออกได้โดยไม่ต้องรื้อโถส้วม จึงเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาความยุ่งยากของระบบสุขาภิบาล ลดเวลาการก่อสร้าง ที่มีราคาถูกและติดตั้งเร็ว
Other Abstract: Bathroom construction is the most time-consuming process in a project. Coming up with a restroom that decrease work time is especially important for large-scale constructions. Prefabricated restrooms are extremely suited to condominium projects because they have unvarying room plans. This type of restroom can decrease construction time, have quality control from the factory, and make up for the lack of skilled labor. Prefabricated bathrooms in Thailand can be separated into 3 main categories by types of structure: 1) "Precast concrete" that is familiar to the Thai market. The bathroom is produced in wall panels and moved to be fit together on-site for installation. Bathrooms are produced for individual projects only and are not produced for sale in the market. 2) "Bathroom pods" is produced in separate panels similar to the "precast concrete" but uses light-weight materials. There are three methods of installation: ready-made from factory, wall panels to be fitted on-site for installation, and for older buildings, in wall panels to be fitted on-site and installed in the wall space. 3) "System Bath Module" (SBM) is semi-prefabricated. It is produced in small pieces and put together on-site. Size of the peices varies according to the wall covering materials. Currently, large developers still do not prefer the prefabricated restroom due to higher costs per room when compared to the typical restrooms, in addition to the fact that they are often reluctant to change from well-known methods. This paper gives another solution to help reduce construction time and decrease the complexity of sanitation system installation. There are 2 parts in the “ready-made piping system”. One is the “sanitary ware pipes system”, which is the main works, and the “maintenance chamber piping system”, which supplements the main and helps increase the precision of the pipes’ location. The prefabricated systems weigh 43.94 kilograms and uses 2 people to install on the wall structure of the restroom, taking about 15minutes to complete. The relatively light weight enables the use of human labor. Transportation via 6-wheel trucks can carry 40 sets per round. The production cost and packaging is 3,658 Baht. From the case study of an 8-storey building with 240 units, installing the prefabricated pipe systems will increase the cost by 920 Baht per room. However, the construction time decrease by 24 days, which leads to faster project handover. Considering that the first handover is 25% of total units, the amount of interest cost saved from shorter construction time is 62,328 Baht per building. Maintenance on the piping systems can be performed without removing the toilet first. This system can help reduce complex work, decrease construction time, and lower costs.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46213
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1092
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1092
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673307725.pdf11.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.