Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46218
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณภา พิมพ์วิริยะกุลen_US
dc.contributor.authorเนรัญชรา สุพรศิลป์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:13Z
dc.date.available2015-09-18T04:23:13Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46218
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractเนื่องจากห้องชุดขนาดเล็กช่วงระดับราคา 1-2 ล้านบาท ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ผู้ประกอบการจึงลดขนาดของหน่วยพักอาศัยให้มีขนาดเล็กลง เพื่อตอบสนองความสามารถในการจ่ายของผู้บริโภค จากการสำรวจพบว่ามี 3 บริษัทที่พัฒนาห้องชุดขนาดเล็ก การวิจัยนี้ เลือกศึกษากรณีศึกษา บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) โครงการลุมพินี วิลล์ สุขุมวิท 77(2) เนื่องจากบริษัท แอล.พี.เอ็นฯ มีการดำเนินงานด้านการพัฒนาห้องชุดขนาดเล็กมายาวนาน และมีรูปแบบการจัดให้มีเครื่องเรือนที่หลากหลาย โดยเลือกศึกษาห้องชุดขนาด 22.50 ตรม. มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาหาแนวทางในการจัดให้มีเครื่องเรือนที่เหมาะสมในห้องชุดขนาดเล็ก ศึกษาลักษณะครัวเรือน แนวคิดในการเลือกการจัดเครื่องเรือน และความสามารถในการจ่ายของผู้อยู่อาศัย วิเคราะห์ข้อดี ข้อจำกัด ของการจัดเครื่องเรือนในปัจจุบัน วิธีการเก็บข้อมูลประกอบด้วย การสอบถาม สัมภาษณ์ และทำการสำรวจ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ลักษณะครัวเรือน ของผู้พักอาศัยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยทำงาน อายุ 25-50 ปีส่วนใหญ่มีจำนวนผู้อยู่อาศัย 1 คน ร้อยละ54.2 ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท รายได้ครัวเรือนโดยเฉลี่ย 26,000-62,000 บาท/เดือน มีการเลือกใช้เครื่องเรือนภายในห้องชุด 2 วิธี คือ 1.การเลือกซื้อเครื่องเรือนเอง จำนวน 142 ยูนิต คิดเป็นร้อยละ 70 และ2.จ้างบริษัทออกแบบภายในเข้ามาตกแต่งห้อง จำนวน 28 ยูนิต คิดเป็นร้อยละ 23.8 ส่วนใหญ่แล้วการเลือกตกแต่งด้วยวิธีซื้อเครื่องเรือนเอง เนื่องจาก 1.ราคาถูกกว่าวิธีอื่น 2.อยากเลือกซื้อด้วยตัวเอง 3.รูปแบบของเฟอร์นิเจอร์ตรงตามความต้องการ ตามลำดับ โดยมีค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องเรือน เฉลี่ย 40,500-78,000 บาท คิดเป็น 1.32-1.57 เท่าของเงินเดือน โดยเลือกใช้เครื่องเรือนประเภทลอยตัว (Loose Furniture) และการจ้างบริษัทออกแบบภายในเนื่องจาก 1.เหมาะกับการใช้สอย 2.สามารถคุมงบประมาณได้ 3.คุณภาพของวัสดุ โดยการตกแต่งภายในห้องส่วนใหญ่เป็นเครื่องเรือนประเภทติดตาย (Built-in Furniture) ราคาโดยเฉลี่ยประมาณ 90,000-150,000 บาท คิดเป็น 2.19-2.64 เท่าของเงินเดือน แหล่งที่มาของงบประมาณของการตกแต่งทั้ง 2 รูปแบบมาจากเงินออม ร้อยละ 64.1 กู้ธนาคารพร้อมห้องชุด ร้อยละ 67.4 และบัตรเครดิต ร้อยละ 19.4 ตามลำดับ โดยราคาของเครื่องเรือนคิดเป็น ร้อยละ 2.4-12.78 ของราคาห้องชุดพักอาศัย จากการวิเคราะห์การวางผังเครื่องเรือนภายในห้องพักอาศัยมีการจัดวางเครื่องเรือนอยู่ในตำแหน่งที่คล้ายคลึงกันตรงตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ประกอบการวางผังไว้ แต่มีการใช้สอยที่แตกต่าง คือ โดยส่วนใหญ่ ร้อยละ 64 จะนำพื้นที่ที่ผู้ประกอบการออกแบบให้สำหรับวางโต๊ะทานอาหาร นำมาวางตู้รองเท้า หรือชั้นวางของอเนกประสงค์ ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของผู้ประกอบการที่จัดพื้นที่ไว้ให้ ปัญหาการใช้งานส่วนใหญ่เกิดจากเครื่องเรือนที่ผู้ประกอบการจัดไว้ให้ คือ 1.ตู้เสื้อผ้า มีขนาดเล็กเกินไปไม่ตอบรับการใช้งานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป 2.เคาน์เตอร์ครัว มีขนาดเล็กเกินไปใช้งานไม่สะดวกสำหรับคนที่ประกอบอาหาร3-4 ครั้ง/สัปดาห์ 3.ตู้ลอยเหนือเคาน์เตอร์ครัว มีขนาดเล็กเก็บของไม่พอ ในด้านความพึงพอใจจากการจัดให้มีเครื่องเรือนในปัจจุบันพบว่าผู้อยู่อาศัยที่จ้างบริษัทเข้ามาตกแต่งภายในมีความพึงพอใจมากกว่า ผู้อยู่อาศัยที่เลือกซื้อเครื่องเรือนด้วยตนเอง ดังนั้นจากข้อค้นพบดังกล่าวผู้วิจัยได้นำเสนอแนะแนวทางการจัดให้มีเครื่องเรือนในห้องชุดขนาดเล็กอย่างละเอียด โดยนำเสนอแนวทางการใช้พื้นที่ในแนวตั้งให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และการปรับการจัดวางเครื่องเรือนในแนวนอนให้ตอบสนองกับการใช้งานของผู้อยู่อาศัย โดยรูปแบบดังกล่าวพัฒนามาจากความต้องการด้านการใช้พื้นที่ และความสามารถในการจ่ายของผู้อยู่อาศัยที่มีจำกัด จากรูปแบบของการจัดให้มีเครื่องเรือนดังกล่าว ผู้วิจัยได้จัดรูปแบบการจัดให้มีเครื่องเรือนไว้ตามระดับความสามารถในการจ่ายของผู้อยู่อาศัย 2 กลุ่มตามระดับรายได้ของผู้อยู่อาศัย เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ และเพื่อตอบสนองกับการใช้งาน รวมไปถึงความสามารถในการจ่ายของผู้อยู่อาศัยภายในห้องชุดขนาดเล็กen_US
dc.description.abstractalternativeDue to the increasing popularity of small condominium worth 1 -2 million baht, there are more small apartments available on the market to meet consumers’ needs. According to a survey, there are three real estate developers focusing their interest on this kind of condominium. The 22.50 sq.m. condominium in the Lumpini Ville Sukhumvit 77(2) Project launched by L.P.N. Development (Pcl) was the case study in this research because the company has been dealing with small condominium equipped with varying sets of furniture. The purposes of this study were to propose guidelines for providing suitable furniture for such apartments, to explore furniture features, to rationale for selecting such furniture and the residents’ affordability and to analyze the advantages and the constraints of furniture arrangement. A questionnaire, an interview and a survey were used to collect data. The findings revealed that most of the residents were 20 – 50 years old and lived alone, 54.2% of whom were company employees earning about 26,000 – 62,000 baht/a month on average. The choices of furniture selection fell into two types – by the residents and by the hired interior companies. Accounting for 70% of the sample, 142 residents bought the furniture themselves while 28 residents or 23.8% had an interior company furnish their apartments. The reasons for those who bought their own furniture were: (1) it was cheaper, (2) they preferred to make their own decisions and (3) the furniture satisfied their requirements, respectively. They spent 40,500 – 78,000 baht or 1.32 – 1.57 times their salary on loose furniture. The reasons for those who chose an interior company to furnish their room were: (1) the furniture would be more functional, (2) they could control their budget and (3) they preferred the quality of materials provided. Most of the furniture was built-in furniture and they spent about 90,000 – 150,000 baht or 2.19 – 2.64 times their salary. Of both groups of residents, 64.2% used their savings to pay for their furniture, 67.4% used the mortgage loans and 19.4% used their credit cards, respectively. The expenditure on furniture accounted for 2.4 – 12.78 % of the price of condominium. According to the analysis of the furniture arrangement, it was found that the arrangement was similar to what the developer had planned except for the functions in that 64% of the residents placed the shoe cabinet or the multi-functional shelves in the place the developer intended the dining table to be. In addition, most of the problems resulted from the furniture provided by the developer were that the length or the size of built-in were not enough for residents. They were: 1. The closet that was too small for condominium accommodating more than one person; 2. The kitchen counter that was too small and that was not convenient for those who would like to cook more than 3 – 4 times/a week; 3. The cabinet over the kitchen counter that was not adequate for storage. In terms of satisfaction with the existing furniture, thoseen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1097-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอาคารชุด -- การออกแบบและการสร้าง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectพฤติกรรมมนุษย์
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค
dc.subjectเครื่องเรือน
dc.subjectCondominiums -- Design and construction -- Thailand -- Bangkok
dc.subjectHuman behavior
dc.subjectConsumer behavior
dc.subjectFurniture
dc.titleแนวทางในการจัดให้มีเครื่องเรือนที่เหมาะสมสำหรับห้องชุดพักอาศัยขนาดเล็กระดับราคา 1.5 ล้านบาทกรณีศึกษา : โครงการลุมพินี วิลล์ สุขุมวิท77(2)en_US
dc.title.alternativeGUIDELINES FOR PROVIDING SUITABLE FURNITURE FOR A SMALL SPACE CONDOMINIUM VALUED AT 1.5 MILLION BATH CASE STUDY : LUMPINI VILLE SUKHUMVIT 77(2)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorVannapa.P@Chula.ac.th,vannapapim@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1097-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673327225.pdf10.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.