Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46289
Title: การสื่อสารและการปรับตัวของแรงงานพม่าในสังคมไทย
Other Titles: Communication and Adaptation of Burmese Workers in Thai Society
Authors: ขวัญชนก พันธุฟัก
Advisors: เมตตา วิวัฒนานุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: metta.v@chula.ac.th
Subjects: แรงงานต่างด้าวพม่า -- ไทย
การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
ความสามารถในการปรับตัว (จิตวิทยา)
Foreign workers, Burmese -- Thailand
Intercultural communication
Adaptability (Psychology)
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการสำรวจด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างแรงงานพม่าในจังหวัดสมุทรสาครจำนวน 400 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกับหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานชาวไทย จำนวน 12 คน ร่วมกับการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วมภายในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ลักษณะการรวมกลุ่มและการสื่อสาร พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ การสื่อสารและการปรับตัวและปัจจัยที่มีส่วนช่วยในการปรับตัว ทิศทางและระดับความสามารถในการปรับตัวของแรงงานพม่า และหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆกับระดับความสามารถในการปรับตัวของแรงงานพม่าในสังคมไทย ผลการศึกษาพบว่า 1.แรงงานพม่ามีลักษณะการรวมกลุ่มและสื่อสารกับชาวพม่าด้วยกันทั้งในเวลาทำงานและนอกทำงานมากที่สุด ในการสื่อสารกับชาวไทยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในเรื่องงานมากที่สุด ขณะที่สื่อสารเรื่องความสัมพันธ์และเรื่องรอบตัวกับชาวพม่ามากที่สุด โดยมีการสื่อสารแบบพบหน้ากันมากที่สุดทั้งกับชาวไทยและชาวพม่า 2.แรงงานพม่ามีการเปิดรับสื่อทุกประเภทในระดับปานกลาง โดยมีการเปิดรับสื่อไทยเพื่อการปรับตัวและเปิดรับสื่อพม่าเพื่อเปิดรับข่าวสารและเหตุการณ์ประจำวันมากที่สุด โดยมีการเปิดรับสื่อออนไลน์ทั้งภาษาไทยและภาษาพม่าเพื่อหาความบันเทิง สื่อสารกับชาวไทยเพื่อหาความบันเทิงและสื่อสารกับชาวพม่าเพื่อเข้าสังคม 3.แรงงานพม่ามีปัญหาการสื่อสารและการปรับตัวด้านความรู้ความเข้าใจในระดับต่ำ แต่มีปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยสูงกว่าด้านกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ สำหรับปัญหาการสื่อสารและการปรับตัวด้านทัศนคติและความรู้สึกอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการรับรู้ “คนไทยมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่” ด้วยค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และมีปัญหาการสื่อสารและการปรับตัวด้านพฤติกรรมในระดับปานกลาง แต่ “การมีเพื่อนคนไทยหลายคน”มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 4.แรงงานพม่ามีทิศทางการปรับตัวแบบ “คงความเป็นชาติพันธุ์ตน” โดยเน้นรักษาความเป็นพม่าแต่มีการปรับตัวเข้ากับสังคมไทยเท่าที่จำเป็น และมีระดับความสามารถในการปรับตัวในระดับปานกลาง 5.จากการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า แรงงานพม่าที่มีชาติพันธุ์ต่างกัน และลักษณะการอยู่อาศัยที่แตกต่างกัน มีระดับความสามารถในการปรับตัวแตกต่างกัน ขณะที่ระดับความสามารถในการพูดภาษาไทย ความถี่ในการเปิดรับสื่อภาษาไทย และความถี่ในการสื่อสารกับชาวไทยนอกที่ทำงานมีความสัมพันธ์กับระดับความสามารถในการปรับตัวของแรงงานพม่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: This research is quantitative and qualitative by survey questionnaires with 400 Burmese workers in Samutsakorn Province and in-depth interview with 12 Thai leaders and co-workers, together with non-participant observation in the community. The objectives are to study Burmese workers’ group formation and communication, media-exposure behavior, communication and adaptability, factors facilitating their adaptation, direction and level of their adaptability, and to investigate the relationship between variables and the adaptability level of Burmese workers in Thailand. The research results are as follow. 1. Most Burmese workers group and communicate among Burmese people both inside and outside the workplace the most. The purpose in communicating with Thai co-workers is about work-related issues whereas about relationship and general topics to communicate with Burmese. Most Burmese workers use “face-to-face” communication with Thai and Burmese people the most. 2. Burmese workers expose all kinds of media at medium level. They expose to Thai media for their adaptability and to Burmese media for getting updated news and daily situations the most. They also expose to online media, both in Thai and Burmese language, for entertainment. Besides, most of them communicate with Thai people for entertainment, and with Burmese for socializing. 3. Most of Burmese workers have an “ethnic-oriented” adaptation by maintaining most of their ethnicity while slightly adapting to Thai society as necessary. They have medium level of adaptability. 4. Most Burmese workers have low level of cognitive problems, but have the highest level of cultural knowledge problems, while having medium level of affective problems, but perceiving “Thai people’s generosity” with lowest means. The behavioral problems are found at medium level, but “to have a number of Thai friends” is found with the lowest means 5. From hypothesis tests, it is found that Burmese workers with different ethnicity and living in different accommodation have different level of adaptability. Besides, it is found that level of Thai- language speaking proficiency ,frequency of Thai-media exposure, and frequency of communication with Thai people outside workplace have a statistically significant relationship with level of adaptability at 0.05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46289
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1155
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1155
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684656528.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.