Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4631
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ | - |
dc.contributor.advisor | สุภัทรา อุไรวรรณ | - |
dc.contributor.author | กำธร เลิศสำรวยพันธุ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2007-11-08T02:02:33Z | - |
dc.date.available | 2007-11-08T02:02:33Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741304412 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4631 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | ได้พัฒนาเครื่องหมายชนิดติดภายในตัวกุ้ง (internal tag) เพื่อเก็บข้อมูลในสภาพการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เครื่องหมายที่พัฒนาขึ้นได้ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ คือ สายเคเบิ้ลโทรศัพท์ทำการติดเครื่องหมายลงไปในตัวกุ้งโดยใช้เข็มฉีดยาขนาดของรูเข็มเบอร์ 19 ใส่เครื่องเข้าไปที่ด้านท้องบริเวณกล้ามเนื้อระหว่างเส้นประสาทของขาว่ายน้ำคู่ที่ 5 ทำการทดสอบความเหมาะสมระหว่างเครื่องหมายกับขนาดของตัวกุ้งซึ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุด ในชุดที่ 1 ใช้กุ้ง 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กมีความยาวเฉลี่ย 5.53 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ 9.02 เซนติเมตร กุ้งขนาดใหญ่ที่นำมาติดเครื่องหมายมีอัตราการรอดตายสูงกว่าที่มีขนาดเล็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การทดลองชุดที่ 2 ใช้กุ้งขนาดความยาวเฉลี่ย 10.41 เซนติเมตร นำมาติดเครื่องหมายแล้วเลี้ยงเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ติดเครื่องหมายพบว่าอัตราการเติบโตและอัตราการรอดตายของกุ้งทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติ จากการทดสอบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายที่ติดภายในตัวกุ้งไม่มีผลต่ออัตราการเติบโตและอัตราการรอดตายของกุ้งเมื่อใช้กับกุ้งที่มีขนาดความยาวประมาณ 9.00 เซนติเมตร ขึ้นไป ในการศึกษาการประมาณค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะการเติบโตวิธีการผสมพันธุ์แบบคู่ผสมเดี่ยวเพื่อผลิตลูกกุ้งทำการทดลอง 3 ชุด ชุดที่ 1 ผลิตลูกกุ้งจำนวน 40 ครอบครัว ในช่วง 2-4 พฤษภาคม 2541 การทดลองชุดที่ 2 ผลิตลูกกุ้งกุลาดำจำนวน 30 ครอบครัวในช่วง 16-23 มกราคม 2542 และการทดลองชุดที่ 3 ผลิตลูกกุ้งกุลาดำจำนวน 14 ครอบครัวในวันที่ 26 มกราคม 2543 ทำการเลี้ยงแยกแต่ละครอบครัวและเก็บตัวอย่างแบบสุ่ม นำข้อมูลของน้ำหนักตัวและความยาวรวมมาวิเคราะห์หาองค์ประกอบความแปรปรวนแล้วจึงนำค่าที่ได้มาคำนวณค่าอัตราพันธุกรรมอย่างหยาบที่ช่วงอายุต่างๆ พบว่า เมื่ออายุเพิ่มขึ้นค่าอัตราพันธุกรรมที่ประมาณได้มีค่าลดลง โดยกุ้งกุลาดำชุดที่ 1 ค่าอัตราพันธุกรรมที่ประมาณได้ของความยาวที่อายุ 30 ถึง 200 วัน อยู่ในช่วง 0.24+-0.059 ถึง 0.56+-0.99 และอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักที่อายุ 60 ถึง 200 วัน อยู่ในช่วง 0.24+-0.059 ถึง 0.56+-0.99 ในกุ้งชุดที่ 2 ค่าอัตราพันธุกรรมของความยาวที่อายุ 45 และ 145 วัน มีค่าเท่ากับ 0.3+-0.075 และ 0.20+-0.056 และค่าอัตราพันธุกรรมของน้ำหนักที่อายุ 145 วันมีค่าเท่ากับ 0.09+-0.032 และในกุ้งชุดที่ 3 ค่าอัตราพันธุกรรมของความยาวที่อายุ 40 ถึง 150 วัน อยู่ในช่วง 0.029+-0.037 ถึง 0.46+-0.162 ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม ทางสภาพแวดล้อม และทางลักษณะปรากฏของลักษณะความยาวและน้ำหนักในกุ้งกุลาดำชุดที่ 1 และ 2 มีค่าเป็นไปในทิศทางเดียวกันคืออยู่ในช่วง 0.63 ถึง 1.4 ดังนั้นเมื่อค่าอัตราการเติบโตของลักษณะความยาวเพิ่มขึ้นน้ำหนักก็เพิ่มขึ้นด้วยและค่าสหสัมพันธ์ของลักษณะปรากฎที่เปรียบเทียบในทุกตัวแปรโดยสมบูรณ์ของกุ้งกุลาดำครอบครัวต่าง ๆ ที่อายุต่าง ๆ กันของกุ้งทั้ง 3 ชุด เมื่อวัดเป็นความยาวและน้ำหนักตัวของกุ้งมีค่าสหสัมพันธ์แตกต่างกันไปตามสภาพของสิ่งแวดล้อมของการเลี้ยงแต่ละครั้งมีค่าอยู่ในช่วง -0.121 ถึง 0.856 ดังนั้นค่าอัตราพันธุกรรมของอัตราการเติบโตของกุ้งกุลาดำทั้ง 3 กลุ่มได้นั้นแสดงให้เห็นถึงระดับความแปรปรวนทางพันธุกรรมในกุ้งแต่ละครอบครัว (full-sib family)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะในส่วนที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยการจัดให้มีโปรแกรมการคัดเลือกเพื่อการผสมพันธุ์ในลักษณะของการทำการคัดพันธุ์เพื่อเพิ่มอัตราการเติบโตของกุ้งกุลาดำได้ โดยค่าอัตราพันธุกรรมของความยาวที่ได้มีค่าอยู่ในช่วง 0.2-0.24 เมื่อกุ้งอายุได้ 145 และ 150 วัน ซึ่งจัดได้ว่ามีค่าอยู่ในระดับเดียวกันกับในสัตว์น้ำชนิดอื่นที่ได้ทำการศึกษามาแล้ว | en |
dc.description.abstractalternative | The internal tag made form telephone cable was use to identify shrimp. The tag was injected between the intergument and the muscle on the ventral surface of the fifth pleopods with a syringe 19 gauge needle. Two groups of shrimp were used to test effect of tagging on growth and survival. Experiment one tested for fit size of shrimp to tagging. Small size average body length 5.53 cm. and large size average body length 9.02 cm. The large size of shrimp had significantly high survival rate than those of the small size. Experiment two the average body length at 10.41 cm of shrimp was used to compare tag and untag shrimp for growth rate and survival rate. No statistical difference was found between growth rate and survival rate. Three experiments of estimation of heritabilities for growth in shrimps were conducted using single pair mating. Three groups of shrimp in each of experiment comprised of 40.30 and 14 famillies. They were produced during 2-4 May 1998, 16-23 January 1999 and 26 January 2000, respectively.Each full-sib family was randomly reared in separate units. Length and weight were recorded and analyzed for various variance components. The broad sense heritabilities were estimated at difference ages. The estimated heritabilities were low when the shrimp became old. In the first group, the heritabilities estimated for length at 30-200 day were 0.24+-0.059-0.56+-0.099 ; heritabilities estimates for weight at 30-200 day were 0.24+-0.058-0.40+-0.081. In the second group, the heritabilities estimates for length at 45 and 145 day were 0.30+-0.075 and 0.20+-0.056, respectively, and for weight at 145 day was 0.09+-0.032. In third group, the heritabilities estimates for length at 40-150 day were 0.029+-0.037-0.46+-0.162. Genetic correlations environmental correlations and phenotypic correlations between length and weight of experiments groups one and two were ranged 0.63-1.4 and phenotypic correlations of growth at different ages was varied on different environment. In conclusion, this study shows the significant genetic controls growth in the black tiger shrimp. In addition, the heritability of body length were ranged 0.2-0.4 between at ages of 145 and 150 days. These results was similarlySS to the estimated of heritabilities in other quatic animal. There fore, these investicated will be use in selective breeding program in black tiger shrimp to increase production efficiency | en |
dc.format.extent | 3652217 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กุ้งกุลาดำ -- การเจริญเติบโต | en |
dc.title | การพัฒนาเครื่องหมายติดภายในและการประมาณค่าอัตราพันธุกรรมต่อการเติบโตของกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon Fabricius, 1798 โดยวิธี Full-sib analysis | en |
dc.title.alternative | Development of internal tag and estimation of heritability on growth of black tiger shrimp Penaeus monodon fabricius, 1798 by full-sib analysis | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์ทางทะเล | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Padermsak.J@Chula.ac.th, paderm@sc.chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kumthorn.pdf | 3.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.