Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46387
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุบลวรรณ หงษ์วิทยากรen_US
dc.contributor.advisorสันติ ศรีสวนแตงen_US
dc.contributor.authorพรทิพย์ ติลกานันท์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:38:29Z-
dc.date.available2015-09-19T03:38:29Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46387-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัย/เงื่อนไขการเรียนรู้ของชุมชนในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหาร 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหาร วิธีดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในลักษณะพหุกรณีศึกษา โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมจากชุมชนต้นแบบการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหาร จำนวน 6 ชุมชน จาก 6 ภูมิภาค เพื่อศึกษาบริบทของชุมชน โครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน และการเรียนรู้ของชุมชนภายใต้โครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ผลการวิจัยข้างต้นนำมาพิจารณาคัดเลือกชุมชนที่มีความแตกต่างกัน จำนวน 2 ชุมชน เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเงื่อนไขการเรียนรู้ของชุมชนในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหาร โดยผลการวิจัยข้างต้นทั้งหมดนำมารวบรวมสังเคราะห์เป็นรูปแบบการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหาร และนำเสนอต่อชุมชน จำนวน 1 ชุมชน โดยประยุกต์ใช้เทคนิควิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนแต่ละแห่งมีบริบทที่แตกต่างกัน โดยโครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 1) แบบเครือข่ายชุมชน 2) แบบชุมชนเป็นฐาน 3) แบบกลุ่มและเครือข่ายการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารในชุมชน ซึ่งมีช่วงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ฯ เป็น 3 ช่วง คือ (1) ช่วงก่อรูปโครงสร้างและปฏิสัมพันธ์สู่การสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน (2) ช่วงปรับเปลี่ยนโครงสร้างและปฏิสัมพันธ์สู่การสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน (3) ช่วงพัฒนาโครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ซึ่งการเรียนรู้ของชุมชนภายใต้โครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ (1) การเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูหรือพัฒนาวิถีชุมชนและการพึ่งตนเองสู่การสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหาร (2) การเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนชุมชนสู่การสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน (3) การเรียนรู้เพื่อพัฒนาการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ปัจจัย/เงื่อนไขการเรียนรู้ของชุมชนฯ ในส่วนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ สภาพแวดล้อมของชุมชน วิกฤต/ปัญหาในด้านต่างๆ ความตระหนักและแนวคิดในการแก้ไขปัญหา ผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ผู้นำชุมชน ครอบครัว ความสัมพันธ์แบบเครือญาติคนบ้านเดียวกัน การมีข้อมูลความรู้ที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ การมีแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนอย่างหลากหลาย ฯลฯ ในส่วนที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ ได้แก่ สภาพและปัญหาความแห้งแล้ง ฐานะทางเศรษฐกิจและหนี้สิน ความคิดความเชื่อส่วนบุคคล อิทธิพลทางการเมืองและนโยบายของรัฐที่ไม่เอื้อหรือขัดแย้งกับการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน การมีองค์ความรู้และแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนน้อย ฯลฯ รูปแบบการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหาร มีรูปแบบเป็น “วงเกลียวการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหาร” ประกอบด้วย สถานการณ์ที่นำไปสู่การสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ปัจจัยเงื่อนไขการเรียนรู้ของชุมชนในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหาร การเปลี่ยนแปลงสู่การเรียนรู้และการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน และกระบวนการเรียนรู้ภายใต้โครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 1) แบบเครือข่ายชุมชน 2) แบบชุมชนเป็นฐาน 3) แบบกลุ่มและเครือข่ายการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารในชุมชน โดยวงเกลียวการเรียนรู้ฯ มีลักษณะเชื่อมโยงต่อเนื่องกันขึ้นไป 3 ระยะ ได้แก่ (1) การเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูหรือพัฒนาวิถีชุมชนและการพึ่งตนเองสู่การสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหาร (2) การเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนชุมชนสู่การสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน (3) การเรียนรู้เพื่อพัฒนาการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ซึ่งในแต่ละระยะจะมีการขยายตัวตามปัจจัยเงื่อนไขการเรียนรู้ของชุมชนฯ และกระบวนการเรียนรู้ภายใต้โครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ฯ ที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ วงเกลียวการเรียนรู้ฯ อาจถดถอยกลับลงมาได้ หากมีสถานการณ์ที่กระทบต่อปัจจัยเงื่อนไขการเรียนรู้ของชุมชนฯ และ/หรือ กระบวนการเรียนรู้ภายใต้โครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ฯ โดยในการนำรูปแบบการเรียนรู้ฯ ไปใช้ ชุมชนควรมีการวิเคราะห์และประเมินชุมชน พร้อมทั้งศึกษารูปแบบการเรียนรู้ฯ ก่อน เพื่อเลือกแบบและระยะการเรียนรู้ฯ ให้เหมาะสมกับชุมชน แล้วจึงวางแผนและดำเนินการตามรูปแบบการเรียนรู้ฯ ต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to 1) study the structure and social interactions in enhancing food security in the community 2) analyze the factors/conditions of learning in the community for enhancing food security and 3) propose the community’s learning model for enhancing food security. This qualitative research was conducted through multi-case study by using documentary study, interview, survey, and Non-Participant Observation on 6 Communities-based Model of food security promotion in 6 regions to study a community context, structure and interaction in enhancing food security of the community and learning style of people in a community under a structure and interaction among them to enhance food security of a community. The finding was used as a criteria to select two different communities to analyze community learning factors and conditions in enhancing food security. The finding was being synthesized to design learning model for a community to enhance food security and Participatory Action Research (PAR) was conducted to propose the model to one community. The findings were a community structure and reaction to enhance food security that found in three aspects which were 1) community network 2) community-based 3) group and network to enhance food security in a community. There were three development periods those were (1) a period of structure and reaction formative (2) a period of adapting structure and reaction (3) a period of developing structure and reaction. The community learning style under structure and reaction in food security divided in three steps those are (1) learning to restore or develop local way of life and self-reliance to enhance food security (2) learning to change community to enhance food security together (3) learning to develop food security enhancement. Factors and conditions of community learning comprised of community environment, problem and challenge, awareness and ideal in problem solving, change agent, community leader, family, kinship group, organized information, variety of learning resource etc. The learning barrier were arid condition, economic situation and debt, personal belief, political influence and state policy that against food security of a community and insufficient knowledge and learning resources etc. Community learning model for food security enhancement was “learning spiral for food security enhancement” which comprised of situations, factors and conditions, transforming community to learning and enhancement, and learning process under structure and reaction in community food security enhancement. There were three styles: 1) community network 2) community-based 3) group and network. The learning spiral linked between three steps which were 1) learning to restore or develop community’s way of life and self-reliance 2) learning to change community to coordinate in food security enhancement 3) learning to develop community food security enhancement. Each step was about to extend according to factors and conditions of community learning and learning process under structure and reaction however learning spiral might be degraded. To use of learning style, a community should analyze and evaluate a community and should study learning style before planning and practicing to select a style and period of learning to be fit with a community.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารen_US
dc.title.alternativeA PROPOSED LEARNING COMMUNITY MODEL FOR ENHANCING FOOD SECURITYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorUbonwan.H@Chula.ac.th,ubonwan_h@yahoo.comen_US
dc.email.advisorsatsts@ku.ac.then_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284233327.pdf5.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.