Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46421
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุลen_US
dc.contributor.authorพิสุทธิ์ เทศสวัสดิ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:38:56Z-
dc.date.available2015-09-19T03:38:56Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46421-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractศึกษาศักยภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผิวน้ำทะเลของอ่าวไทย 2 พื่นที่ คือ กลางอ่าวไทย 45 สถานี และปากแม่น้ำ 4 สาย ที่ไหลลงอ่าวไทยตอนบน ได้แก่ แม่กลอง ท่าจีน เจ้าพระยา และบางปะกง โดยในพื้นที่อ่าวไทยเก็บตัวอย่างระหว่างมีนาคมถึงเมษายน พ.ศ. 2556 และพื้นที่ปากแม่น้ำเก็บตัวอย่าง 2 ฤดูมรสุม คือ สิงหาคม พ.ศ. 2557 (ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้) และพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการศึกษาในอ่าวไทยพบว่าฟลักซ์สุทธิของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บริเวณผิวน้ำทะเล มีค่าระหว่าง (-249) ถึง +36 มิลลิโมลต่อตารางเมตรต่อวัน โดยฟลักซ์ที่มีค่าเป็นบวก (ถ่ายเทจากน้ำทะเลขึ้นสู่บรรยากาศ) ส่วนใหญ่เกิดในสถานีไกลฝั่งของพื้นที่กลางอ่าว ส่วนฟลักซ์ที่มีค่าเป็นลบ (ถ่ายเทจากบรรยากาศลงสู่น้ำ) จะเกิดบริเวณสถานีใกล้ฝั่ง โดยทั่วไปแล้ว พื้นที่กลางอ่าวไทยส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับปากแม่น้ำ พบว่าปากแม่น้ำบางปะกงมีศักยภาพเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นแหล่งปลดปล่อยในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่ปากแม่น้ำแม่กลอง ท่าจีน และเจ้าพระยา มีศักยภาพเป็นแหล่งปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศทั้ง 2 ฤดูมรสุม โดยค่าฟลักซ์ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีค่าสูงกว่าในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ดี ตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อค่าฟลักซ์ของคาร์บอนไดออกไซด์ คือ อุณหภูมิและความเร็วลมen_US
dc.description.abstractalternativeCarbon dioxide exchanging potential at sea surface was studied in 2 areas include 45 stations in the Gulf of Thailand and 4 river mouths that drained into the upper Gulf of Thailand including Maekhlong, Tachin, Chaopraya and Bangpakong rivers. The sampling was performed during March to April 2013 for the Gulf of Thailand, and two monsoon seasons for the river mouths, August 2014 (Southwest monsoon) and November 2014 (Northeast monsoon). The study reveals that net CO2 fluxes at sea surface of the Gulf of Thailand was between (-249) and +36 mmol/m2/day. Positive fluxes (source) mostly occurred in the middle of the Gulf, while negative fluxes (sink) was found at nearshore stations. In general, the Gulf of Thailand acted as a sink of CO2. In the case of river mouths, it was found that Bangpakong river mouth has a potential to be a sink of CO2 in the southwest monsoon and to be a source of CO2 in the northeast monsoon. While Maekhlong, Tachin and Chaopraya river mouths had a potential to be the source of CO2 in both monsoon seasons. The net CO2 fluxes in southwest monsoon was higher than in northeast monsoon. However, the net CO2 fluxes was highly influenced by temperature and wind speed.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการกักเก็บและปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในอ่าวไทยen_US
dc.title.alternativeSINK AND SOURCE OF CARBON DIOXIDE IN THE GULF OF THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPenjai.S@Chula.ac.th,spenjai@hotmail.comen_US
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5472058023.pdf7.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.