Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46441
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวราภรณ์ ชัยวัฒน์en_US
dc.contributor.authorวิมลา ชูศรีจันทร์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:39:15Z
dc.date.available2015-09-19T03:39:15Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46441
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความร่วมมือในการพ่นยาแบบฝอยละอองแบบรูปธรรม- ปรนัยต่อ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดหลังการพ่นยาครั้งที่ 1- 6 และระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็กก่อนวัยเรียนโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน ผู้ป่วยเด็กก่อนวัยเรียนโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาพ่นแบบฝอยละอองผ่านทางหน้ากากที่แผนกหอผู้ป่วยใน จำนวน 36 คน ได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยการจับฉลาก กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความร่วมมือในการพ่นยาแบบฝอยละอองแบบรูปธรรม-ปรนัย ซึ่งประกอบด้วยการสร้างสัมพันธภาพ การให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยด้วยคำพูดและภาพยนตร์การ์ตูนภาพเคลื่อนไหว การนิเทศการจับหน้ากากพ่นยา และการหายใจของเด็ก ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด แบบบันทึกระยะเวลาการอยู่ในโรงพยาบาล และแบบสังเกตพฤติกรรมความร่วมมือในการพ่นยาแบบฝอยละอองซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือเท่ากับ 1.00, 1.00, และ .88 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงของแบบบันทึกความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและแบบสังเกตพฤติกรรมความร่วมมือในการพ่นยาแบบฝอยละออง เท่ากับ .90 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติ Repeated Measures MANCOVA และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเด็กก่อนวัยเรียนโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันที่ได้โปรแกรมการส่งเสริมความร่วมมือในการพ่นยาแบบฝอยละอองมีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด หลังการพ่นยาครั้งที่ 1, 2, 3, 4, 5 และ ครั้งที่ 6 สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ และมีระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาลน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental research was aimed to study the effects of aerosol spray cooperation promoting program on oxygen saturation after the first to the sixth spray and length of stay of preschool patients with acute respiratory infection. Thirty-six preschool patients with acute respiratory infection were randomly assigned to the control and treatment group. The control group received routine nursing, while the treatment group received the aerosol spray cooperation promoting program which included relationship building, concrete objective information providing through verbal and cartoon animation, and supervising mask holding and the preschool patients’ breath. Data were collected with oxygen saturation record, length of stay record, and co-operation behavior observation form. All of them were developed by the researcher. Their content validity indices were 1.00, 1.00, and .88, respectively. Inter-rater coefficient of the oxygen saturation record and the co-operation behavior observation from were .90, and .89, respectively. Data were analyzed by Repeated Measures MANCOVA and Independent t-test. It was found that preschool patients with acute respiratory infection who received the aerosol spray cooperation promoting program had higher oxygen saturation after all 6 sprays and had shorter length of stay than the children who received routine nursing, at the statistical significance level of .05.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1232-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectทางเดินหายใจ -- โรค
dc.subjectทางเดินหายใจ -- โรค -- การพยาบาล
dc.subjectพัฒนาการของเด็ก
dc.subjectผู้ป่วยเด็ก
dc.subjectการควบคุมตนเองในเด็ก
dc.subjectผู้ป่วย -- ความร่วมมือในการรักษา
dc.subjectRespiratory organs -- Diseases
dc.subjectRespiratory organs -- Diseases -- Nursing
dc.subjectChild development
dc.subjectSick children
dc.subjectSelf-control in children
dc.subjectPatient compliance
dc.titleผลของโปรแกรมการส่งเสริมความร่วมมือในการพ่นยาแบบฝอยละอองต่อ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็กก่อนวัยเรียน โรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF AEROSOL SPRAY COOPERATION PROMOTING PROGRAM ON OXYGEN SATURATION AND LENGTH OF STAY OF PRESCHOOL PATIENTS WITH ACUTE RESPIRATORY INFECTIONen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWaraporn.Ch@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1232-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477188936.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.