Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46609
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุไรรัตน์ สุดรุ่งen_US
dc.contributor.authorปัญญา อัครพุทธพงศ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:41:16Z
dc.date.available2015-09-19T03:41:16Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46609
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางสถานภาพของครูที่ส่งผลต่อความต้องการรูปแบบการนิเทศการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภายในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และสร้างสมการทำนายความต้องการการนิเทศการสอนแต่ละรูปแบบ ซึ่งประกอบด้วย การนิเทศการสอนแบบคลินิก (YCLN) การนิเทศการสอนแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ (YCPD) การนิเทศการสอนแบบพึ่งตนเอง (YSD) และการนิเทศการสอนโดยผู้บริหาร (YAM) จากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผล พบว่า 1) ปัจจัยด้านกลุ่มสาระการเรียนรู้ส่งผลต่อ YCLN อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.9 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่แตกต่างกันมีแนวโน้มต้องการการนิเทศการสอนรูปแบบนี้แตกต่างกัน 2) ไม่มีปัจจัยด้านใดที่ส่งผลต่อ YCPD และ YSD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ครูที่มีสถานภาพแตกต่างกันมีแนวโน้มต้องการการนิเทศการสอนทั้งสองรูปแบบไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อ YAM มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ปัจจัยด้านกลุ่มสาระการเรียนรู้ รองลงมาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 คือ ด้านอายุและด้านประสบการณ์สอน ตามลำดับ โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.5, 3.3 และ 2.1 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า ครูที่อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีอายุ หรือมีประสบการณ์สอน แตกต่างกัน มีแนวโน้มต้องการการนิเทศการสอนรูปแบบนี้แตกต่างกัน สำหรับการสร้างสมการทำนาย พบว่า 1) ไม่สามารถสร้างสมการทำนาย YCLN และ YCPD ได้ 2) ไม่สามารถยืนยันสมการทำนาย YSD ได้ และ 3) ตัวแปรที่ร่วมกันส่งผลและสามารถทำนาย YAM ได้ดีที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ อายุ 41 ปี ขึ้นไป (XAGE2) และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (XSUB4) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 6.1 เขียนเป็นสมการทำนายในรูปของสมการคะแนนดิบและสมการคะแนนมาตรฐานได้ คือ Y’AM = 3.728 - 0.312XAGE2 + 0.468XSUB4 และ Z’AM = -0.182ZAGE2 + 0.174ZSUB4 ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe aims of this research were to study teachers’ characteristic factors influencing instructional supervision model needs of secondary school teachers under the Office of Basis Education Commission in the Secondary Educational Service Area 1 and to construct the prediction equations of the needs of instructional supervision models, including Clinical Supervision (YCLN), Cooperative Professional Development (YCPD), Self-Directed Supervision (YSD), and Administrative Monitoring (YAM). As for the influencing factor study, the results were 1) YCLN was influenced by subject area factor at the statistical significance level of .01. The factor could account for 3.9% of the variance. This illustrated that teachers in different subject areas differed in their needs of this instructional supervision model, 2) YCPD and YSD were not influenced by any of the studied factors at the statistical significance level of .05. This illustrated that teachers with different characteristics did not differ in their needs of these instructional supervision models, and 3) YAM was influenced the most by subject area factor at statistical significance level of .01, followed by age and teaching experience, respectively at the statistical significance level of .05. The factors could account for 4.5%, 3.3%, and 2.1% of the variance, respectively. This illustrated that teachers in different subject areas, teaching experience, or age differed in their needs of this instructional supervision model. The results of predictor equation construction were 1) Prediction equations of both YCLN and YCPD could not be created, 2) Prediction equation of YSD was not valid, and 3) The best predictor variables that co-influenced YAM at statistical significance level of .01 were the age of 41 years or more (XAGE2) and the subject area of physical education (XSUB4) which could account for 6.1% of the variance. The prediction equation of in raw score and standardised forms could be written as Y’AM = 3.728 - 0.312XAGE2 + 0.468XSUB4 and Z’AM = -0.182ZAGE2 + 0.174ZSUB4, respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1350-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการนิเทศการศึกษา
dc.subjectความต้องการ (จิตวิทยา)
dc.subjectการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
dc.subjectSupervised study
dc.subjectNeed (Psychology)
dc.subjectAdult learning
dc.titleปัจจัยทางสถานภาพของครูที่ส่งผลต่อความต้องการรูปแบบการนิเทศการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานen_US
dc.title.alternativeTEACHERS' CHARACTERISTIC FACTORS INFLUENCING INSTRUCTIONAL SUPERVISION MODEL NEEDS OF SECONDARY SCHOOL TEACHERS UNDER THE OFFICE OF BASIC EDUCATION COMMISSIONen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorjurairat.su@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1350-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683848527.pdf6.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.