Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4660
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ-
dc.contributor.authorบุญเอก เมธาวิศาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2007-11-08T07:15:43Z-
dc.date.available2007-11-08T07:15:43Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9745324493-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4660-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการประเมินระดับการให้บริการของสายเรือที่บริษัทกรณีศึกษาใช้บริการทั้งหมด 5 สายเรือด้วยเทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment: QFD) ผลที่ได้จากการวิจัยจะทำให้บริษัทกรณีศึกษาสามารถเลือกใช้สายเรือได้ตรงตามความต้องการ โดยมีขั้นตอนการศึกษาที่สำคัญ 5 ขั้นตอนคือ การเก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง และการกำหนดระดับความสำคัญของแต่ละปัจจัยความต้องการด้วยแบบสอบถาม โดยจะพิจารณาจากลูกค้าที่เป็น Regular Customer เท่านั้น ซึ่งพบว่าลูกค้าให้ความสำคัญกับปัจจัยความตรงต่อเวลาในการส่งมอบสินค้าที่ท่าเรือปลายทาง ปัจจัยความพร้อมในการขนส่งสินค้าปริมาณมาก ปัจจัยความตรงต่อเวลาในการส่งออกสินค้าจากท่าเรือต้นทาง ปัจจัยระยะเวลาการขนส่ง ปัจจัยจำนวนวัน Free time ที่ท่าเรือปลายทาง และปัจจัยความถูกต้องของเอกสารจากสายเรือ ตามลำดับ จากนั้นจะทำการแปลงจากความต้องการของลูกค้ามาเป็นปัจจัยด้านบริการของสายเรือ และนำข้อมูลด้านบริการและข้อมูลในอดีตของสายเรือแต่ละสายที่บริษัทกรณีศึกษาใช้บริการมาทำการให้ระดับคะแนน และนำมาใส่ในตาราง House Of Quality ตามเทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพที่ได้ทำการประยุกต์สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ รวมทั้งทำการทดสอบผลด้วยการนำปัจจัยความต้องการของลูกค้าออกทีละปัจจัย เพื่อหาระดับนัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลง งานวิจัยสรุปผลได้ว่าแต่ละสายเรือมีระดับการบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อทำการทดสอบพบว่าลำดับคะแนนการบริการของสายเรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจัยความต้องการทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น ถือเป็นปัจจัยหลักที่ลูกค้าให้ความสำคัญในการพิจารณาเลือกใช้บริการการขนส่งen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to evaluate the level of service of carriers with a tool called "QFD Technique (Quality Function Deployment Technique)". The findings from the study will assist the company to match its needs with carrier services available. The evaluation process starts with gathering regular customers' needs in transport services, and transforms customers' needs into carrier services provided. The survey shows that customers give priority to ETA concern factor, availability of big lot shipment factor, ETD concern factor, minimum transport time factor, maximum free time factor, and document accuracy factor, respectively. Then, deploy the carriers' needs into the carriers' service, and put the carriers' past records and services into "The House of Quality" matrix and give scores to the carriers' service level. After that, weighted the scores with the level of important ranked by customers through questionnaire survey. Finally, each customer need is revoked to test the accuracy of the evaluationresult. The result shows that there is a significant different between levels of service of each carrier and after revoking each customer need, still there is no significant changeen
dc.format.extent4257114 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.934-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการกระจายการทำงานเชิงคุณภาพen
dc.titleการประเมินระดับการให้บริการของสายเรือด้วยเทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพen
dc.title.alternativeAn evaluation of carrier service by using quality function deployment techniqueen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKamonchanok.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.934-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonake.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.