Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46646
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรสรร วิเชียรประดิษฐ์en_US
dc.contributor.authorพัฒน์ จันทะโชติen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:41:42Z
dc.date.available2015-09-19T03:41:42Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46646
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractปัจจุบันการเคหะแห่งชาติได้พยายามเข้ามาช่วยเหลือผู้อยู่อาศัยที่ไม่สามารถครอบครองที่อยู่อาศัยในราคาตลาดได้แต่การดำเนินการของการเคหะแห่งชาตินั้นมีแนวคิดหลักคือการพยายามหาที่ดินที่มีราคาถูกในบริเวณชานเมืองเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาถูก แนวคิดหลักในการดำเนินการพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาถูกของการเคหะแห่งชาตินี้ยังเป็นการขยายเมืองออกไปในแนวราบเพราะเป็นแนวคิดที่พยายามนำผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้น้อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประชากรเมืองให้มีที่อยู่อาศัยในบริเวณชานเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในใจกลางและชั้นกลางของกรุงเทพมหานครยังพื้นที่อีกเป็นจำนวนมากที่ยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มประสิทธิภาพซึ่งมีหลายทำเลที่ตั้งที่สามารถนำมาพัฒนาเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้น้อยได้ โครงการเคหะชุมชนในปัจจุบันมีหลายโครงการที่มีศักยภาพของทำเลที่ตั้งที่เปลี่ยนไปจากที่เคยเป็นชานเมืองเป็นศูนย์กลางเมือง หรือ ชั้นกลางของเมือง ทำให้ศักยภาพของเคหะชุมชนเหล่านั้นมีมากขึ้นมีความต้องการของผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้มากขึ้นตามไปด้วย ทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่มีผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้มากพยายามแทรกตัวเข้าไปอยู่อาศัยภายในเคหะชุมชนเหล่านี้ กลายเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการของผู้อยู่อาศัยหลากหลายรายได้ แต่ในสภาพปัจจุบันเคหะชุมชนเหล่านั้นมีสภาพทรุดโทรม ไม่มีความหลากหลายของที่อยู่อาศัยไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้อยู่อาศัยหลากหลายรายได้และถึงเวลาที่จะต้องรื้อร้างสร้างใหม่ (redevelopment) จึงควรหาแนวคิดในการออกแบบเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้อยู่อาศัยหลากหลายรายได้ แนวคิดที่ควรนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แนวคิด ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้อยู่อาศัยหลากหลายรายได้ (mixed-income housing) เพื่อพัฒนาเคหะชุมชนเดิมให้กลายเป็นที่อยู่อาศัยหลากหลายรายได้ โดยการวิจัยจะเป็นการศึกษาเพื่อค้นหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนเคหะชุมชนให้กลายเป็นที่อยู่อาศัยหลากหลายรายได้ มีกรณีศึกษาคือ เคหะชุมชนห้วยขวาง โดยเริ่มกระบวนการศึกษาจากการทบทวนนโยบายของการเคหะแห่งชาติและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัย เพื่อหาความเป็นไปได้และแนวทางการปรับเปลี่ยนเคหะชุมชนไปสู่โครงการที่อยู่อาศัยหลากหลายรายได้en_US
dc.description.abstractalternativeAt present, The National Housing Authority (NHA) is making an effort to help people who are unable to purchase and own a house at market price. On that account, the NHA’s key concept is to look for developable land on cheap locations in the suburbs. In the center of Bangkok and its inner city, there is still a vast amount of land which is as of yet not exploited to the utmost and much of it is located in areas which can be developed into affordable residences for the urban poor. As a result, the NHA’s projects are in great demand for a variety of professions. High-paid urbanites are among those who seek to replace the poor residents in the buildings. Those buildings, however, are now deteriorating and in bad shape, and, as a result attract less attention. It is, therefore, time for the NHA to redevelop those structures to meet different demand. This time, due to popular demand, a new building design should serve the needs of various income classes. The concept for this research is to redevelop the NHA’s existent projects into buildings for income hierarchy, dubbed “mixed-income housing”. This research is a feasibility study of finding approaches to adapt the current community housing projects to be dwellings for people with diverse income levels. The project for this feasibility study is HuayKwang Community Housing. The study process will start by revising the policies of the NHA and those of related agencies. The data will be obtained from documentation questionnaire and observation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1368-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectชุมชน -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- ห้วยขวาง
dc.subjectการเคหะ -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- ห้วยขวาง
dc.subjectนโยบายการเคหะ -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- ห้วยขวาง
dc.subjectCommunities -- Thailand -- Bangkok -- Huai Khwang
dc.subjectHousing authorities -- Thailand -- Bangkok -- Huai Khwang
dc.subjectHousing policy -- Thailand -- Bangkok -- Huai Khwang
dc.titleแนวทางการพัฒนาเคหะชุมชนสำหรับผู้มีรายได้หลายระดับ:กรณีศึกษาโครงการเคหะชุมชนห้วยขวางen_US
dc.title.alternativeGUIDELINES FOR THE DEVELOPMENT OF MIXED-INCOME HOUSING: A CASE STUDY OF HUAI KHWANG NATIONAL HOUSING PROJECTen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการออกแบบชุมชนเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPornsan.V@Chula.ac.th,pornsan.v@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1368-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773351325.pdf9.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.