Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46729
Title: การเปรียบเทียบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยาของเครื่องมือวัดอรรถประโยชน์ทางอ้อม 4 ชนิด ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด
Other Titles: Comparing the psychometric properties of four indirect utility measures in patients with ischemic heart disease
Authors: วีณา ไซก๊วย
Advisors: พรรณทิพา ศักดิ์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Phantipa.S@chula.ac.th
Subjects: หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- ผู้ป่วย
การวัดทางจิตวิทยา -- เครื่องมือและอุปกรณ์
Coronary heart disease -- Patients
Psychometrics -- Equipment and supplies
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทดสอบและเปรียบเทียบคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา 4 ด้าน ได้แก่ ความเป็นไปได้ ความเที่ยง ความตรง และความไวต่อการเปลี่ยนแปลง ของเครื่องมือวัดอรรถประโยชน์ทางอ้อม 4 ชนิด (EQ-5D, HUI-2, HUI-3 และ SF-6D) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยโรคหัวใจขาดเลือดทุกประเภท ซึ่งเข้ารับการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 216 คน ผู้ป่วยจะถูกประเมินสภาวะสุขภาพ 2 ครั้ง โดยใช้แบบสอบถาม 4 ฉบับ ได้แก่ EQ-5D, Health Utilities Index (นำไปคิดเป็นคะแนน HUI-2 และ HUI-3), SF-12v2 (นำไปคิดเป็นคะแนน SF-6D) และ MacNew และประเมินระดับความรุนแรงของโรคหัวใจขาดเลือดด้วยแบบประเมิน Specific Activity Scale การประเมินสุขภาพครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อแพทย์นัดพบผู้ป่วยครั้งถัดไป ผู้วิจัยจะถามคำถามเพื่อให้ผู้ป่วยประเมินการเปลี่ยนแปลงของสภาวะสุขภาพด้วยตนเอง ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นไปได้ของการใช้เครื่องมือ ประเมินจากเวลาที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม เครื่องมือ EQ-5D ใช้เวลาน้อยที่สุด ด้านการตอบไม่ครบ พบเฉพาะในเครื่องมือ HUI-2 และ HUI-3 (น้อยกว่า 5%) และผลการตอบค่าสูงสุด พบเฉพาะเครื่องมือ EQ-5D ที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน (33.3%) ด้านความเที่ยงจากการทดสอบซ้ำ เครื่องมือ EQ-5D, HUI-2 และ HUI-3 มีความคงที่อยู่ในเกณฑ์สูงพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างชั้นคะแนน (0.798-0.896) ในขณะที่เครื่องมือ SF-6D มีค่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (0.709) ด้านความตรงเชิงลู่เข้า พบว่าเครื่องมือ SF-6D มีความสัมพันธ์กับทุกมิติของแบบสอบถาม SF-12 และ MacNew ในระดับที่สูง (สหสัมพันธ์อันดับของสเปียร์แมน, rho > 0.5, p < 0.01) ส่วนเครื่องมืออื่นๆ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางถึงสูง ด้านความตรงจากการเทียบกับกลุ่มที่รู้ พบว่าเครื่องมือทั้งสี่สามารถจำแนกผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของโรคหัวใจขาดเลือดต่างกันได้ (การทดสอบครูสแคล-วอลลิส, p < 0.001) และสุดท้ายด้านความไวต่อการเปลี่ยนแปลง พบว่าเครื่องมือ SF-6D มีความไวต่ำที่สุดประเมินจากขนาดอิทธิพลอยู่ในระดับต่ำ (น้อยกว่า 0.2) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า EQ-5D เป็นเครื่องมือที่มีคุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยาเหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีคุณสมบัติด้านความเที่ยงและความตรงอยู่ในเกณฑ์ดี และมีคุณสมบัติด้านความไวต่อการเปลี่ยนแปลงสุขภาพเหมาะสม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการประเมินความไวของเครื่องมือ ดังนั้น ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันคุณสมบัตินี้
Other Abstract: To test and compare the psychometric properties consisting of practicality, reliability, validity and responsiveness of four indirect utility measures including EQ-5D, HUI-2, HUI-3 and SF-6D. The subjects were 216 patients with all types of ischemic heart disease treated at the outpatient clinic of King Chulalongkorn Memorial Hospital. The patients were evaluated health status for two times using four questionnaires including EQ-5D, Health Utilities Index (HUI) which used to calculate the HUI-2 and HUI-3 utility scores, SF-12v2 which used to compute the SF-6D score, and the MacNew Heart disease questionnaire. And all patients were determined the cardiovascular functional class using the Specific Activity Scale. The second evaluation was performed at the next doctor visit of each patient and they were asked for the change of health status by self-rated health question. Regarding the practicality, firstly, we found that the EQ-5D took the lowest time to complete. Secondly, the incomplete rate was found in the HUI-2 and HUI-3 (< 5%). Finally, it was found that the EQ-5D was the only one measure which had the ceiling effect more than the acceptable value (33.3%). Regarding the test-retest reliability, the EQ-5D, HUI-2, and HUI-3 had the high level of ICC (0.798–0.896), while the SF-6D had moderate level (0.709). As for the convergent validity compared with SF-12 and MacNew summary scores, the SF-6D had the highest correlation coefficient (Spearman’s rho > 0.5), while the others were moderate to high correlations. Concerning the known-groups validity, the four measures could discriminate the patients having the different functional class (Kruskal-Wallis test, p < 0.001). Finally, it was found that the SF-6D had the lowest responsiveness ability assessed by the effect size statistics (effect size < 0.2). In conclusion, the EQ-5D had the most suitable psychometric properties. Because it had a good reliability and validity, and it had acceptable responsiveness. However, this study has several limitations for assessing responsiveness. Thus, it needs more evidence to confirm this property.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46729
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2053
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2053
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weena__sa.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.