Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46756
Title: การนำเสนอรูปแบบศูนย์ฝึกอบรมการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Other Titles: A proposed model for educational televistion production training center of Sukhothai Thammathirat Open University
Authors: สุรัชดา เอี่ยมน้อย
Advisors: ประศักดิ์ หอมสนิท
นิคม ทาแดง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Prasak.h@car.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ศูนย์ฝึกอบรมการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
รายการโทรทัศน์ -- ไทย
โทรทัศน์ -- ไทย -- การผลิตและการกำกับรายการ
โทรทัศน์เพื่อการศึกษา -- ไทย
การฝึกอบรม
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สำรวจแนวทางและความต้องการในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลิตรายการโทรทัศน์ในกรุงเทพมหานคร 2. เสนอรูปแบบศูนย์ฝึกอบรมการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกอบรม และการผลิตรายการโทรทัศน์ และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีประสบการณ์ในงานดังกล่าว แล้วนำมาสร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็น และความต้องการในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา และได้นำไปสอบถามกับกลุ่มประชากรซึ่งเป็นผู้ผลิตรายการและอาจารย์สอนด้านโทรทัศน์ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืน 217 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 54.25 หลังจากนั้น จึงนำข้อมูลทั้งหมดมาใช้ประกอบการร่างโครงการเสนอรูปแบบ ศูนย์ฝึกอบรมการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และนำมาให้ผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์ที่ปรึกษาตรวจรับรอง และให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและแก้ไข จัดทำเป็นโครงการฉบับสมบูรณ์ สรุปผลการวิจัย 1. ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และอาจารย์สอนด้านโทรทัศน์ มีความเห็นว่าการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เป็นสิ่งจำเป็นมาก และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ดำเนินการเพราะมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากร วิทยากรและเครื่องมือ รวมทั้งเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และให้การศึกษาโดยตรง ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลได้พัฒนาตนเอง ให้สามารถผลิตรายการที่มีคุณภาพมาสนองความต้องการของผู้ชมและพัฒนามาตรฐานการผลิตรายการโทรทัศน์ให้สูงขึ้น 2. รูปแบบของศูนย์ฝึกอบรมการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่นำเสนอ มีลักษณะเป็นหน่วยงานเอกเทศรับผิดชอบงานฝึกอบรมการผลิตรายการโทรทัศน์โดยตรง โดยมีอาคารสถานที่และอุปกรณ์ในการฝึกอบรมเป็นของตนเองแยกกันจากศูนย์ผลิตรายการ เพื่ออำนวยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังตลอดทั้งปี และสามารถฝึกอบรมในคราวเดียวกันได้หลายๆ หลักสูตร โดยไม่กระทบกระเทือนการผลิตรายการตามปกติของมหาวิทยาลัย อุปกรณ์ที่ใช้ฝึกปฏิบัติจะมีลักษณะและขีดความสามารถใกล้ เคียงกับอุปกรณ์ในศูนย์ผลิตรายการ ในด้านบุคลากรของศูนย์ฝึกอบรมจะเป็นบุคลากรประจำเฉพาะเจ้าหน้าที่ในการจัดการฝึกอบรมเท่านั้น ส่วนวิทยากรจะมีประจำเพียง 1 คน เพื่อทำหน้าที่พิจารณาจัดหาวิทยากรจากภายนอกหมุนเวียนเข้ามาตามความเหมาะสมกับหลักสูตรและผู้เข้ารับการฝึกอบรมซึ่งมิได้จำกัดเพียงผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ของ มสธ. แต่รวมทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และนิสิต นักศึกษาที่เกี่ยวข้องในงานด้านโทรทัศน์อีกด้วย
Other Abstract: The purpose of this research were : 1. To survey the feasibility and the training needs for the establishing of an Educational Television Production Center for the institutions which are involved in educational broadcasting in the Bangkok Metropolis. 2. To propose the model of the Educational Television Production Training Center of Sukhothai Thammathirat Open University (STOU). Procedures : The data concerning training and production of Educational Television Programs was collected and analyzed and experts and other experienced persons were interviewed. Questionnaires were developed to survey the opinions and the needs for an Educational Television Production Training Center. The sample groups of four hundred persons were television producers, and instructors who work in the government and private sectors in Bangkok. Two hundred and seventeen questionnaires or 54.25 percent were returned. All the information was used t o draw up the project proposal which was approved by the experts and thesis advisors. Findings : 1. The opinions from TV producers and TV instructors were that it was necessary to establish the Educational Television Production Training Center. STOU should carry on this project because it has resource persons available as well as supporting facilities. Moreover, it is an educational institution. Therefore, the project would provide an opportunity to develop human resources to be able to programs standards. 2. The proposed model of the training center of STOU would be an independent organization solely responsible for the training of television programs production, with its own equipment and a separate building from the Production Center itself. The enrolled trainees would be able to have first hand experjence throughout the year without affecting the regular production schedules. The efficiency and capability of the equipment used in training and in real production would be comparable. The trainers of this program would include the regular staff of the training center and one instructo responsible for recruiting outside experts for each particular program. The trainees could be STOU staff other government officials, staff from privafe enterprises, students and others who are involved or interested in television program production.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46756
ISBN: 9745674745
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surachada_ie_front.pdf15.82 MBAdobe PDFView/Open
Surachada_ie_ch1.pdf12.12 MBAdobe PDFView/Open
Surachada_ie_ch2.pdf7 MBAdobe PDFView/Open
Surachada_ie_ch3.pdf4.63 MBAdobe PDFView/Open
Surachada_ie_ch4.pdf5.17 MBAdobe PDFView/Open
Surachada_ie_ch5.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open
Surachada_ie_back.pdf6.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.