Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46803
Title: การใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 เพื่อสอนการรู้สารนิเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
Other Titles: The implementation of Web 2.0 technology for information literacy instruction in University libraries
Authors: อรนุช เศวตรัตนเสถียร
Email: oranuch.s@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Subjects: เว็บ 2.0
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา -- ไทย
สื่อสังคมออนไลน์
เครือข่ายสังคมออนไลน์ -- ไทย
การรู้สารสนเทศ
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 เพื่อสอนการรู้สารนิเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในด้านทักษะการรู้สารนิเทศที่สอน ประเภทของเทคโนโลยีเว็บ 2.0 ที่ใช้ วิธีการใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 และปัญหาในการใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 รวมถึงการไม่ใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 เพื่อสอนการรู้สารนิเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในด้านสาเหตุที่ไม่ใช้ แผนการใช้ และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อำนวยการ/หัวหน้าห้องสมุด/ผู้รับผิดชอบหลักในการสอนการรู้สารสนเทศ ในห้องสมุดที่มีฐานะเป็นห้องสมุดกลางของมหาวิทยาลัย จำนวน 127 แห่ง แห่งละ 1 คน รวมทั้งหมด 127 คน ผลการศึกษา พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่สอนการรู้สารนิเทศส่วนใหญ่ ไม่ใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 เพื่อสอนการรู้สารนิเทศ ทั้งนี้ ในส่วนของห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 เพื่อสอนการรู้สารนิเทศนั้น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแทบทั้งหมด สอนมาตรฐานที่ 2: การเข้าถึงสารนิเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ด้านประเภทของเทคโนโลยีเว็บ 2.0 ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่สุดใช้ คือ เทคโนโลยีเครือข่ายทางสังคม สำหรับวิธีการใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 นั้น การใช้สำหรับการเผยแพร่เนื้อหาที่สอน ข่าวสารเกี่ยวกับการเรียนการสอน และการให้การเข้าถึงทรัพยากร / ข้อมูลต่าง ๆ แก่ผู้เรียน เป็นวิธีการใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 เพื่อสอนการรู้สารนิเทศ ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่สุดในแทบทุกประเภทของเทคโนโลยีใช้ ส่วนปัญหาในการใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 นั้น ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ประสบปัญหาในการใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ปัญหาด้านการดำเนินงาน เมื่อพิจารณาปัญหาด้านการดำเนินงาน พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ประสบปัญหาในระดับมาก 1 ปัญหา และระดับปานกลาง 3 ปัญหา โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ห้องสมุดมีบุคลากรที่จะใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 เพื่อสอนการรู้สารนิเทศไม่เพียงพอ สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 เพื่อสอนการรู้สารนิเทศนั้น ห้องสมุดมหาวิทยาลัย จำนวนมากที่สุด ไม่ใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 เพราะบุคลากรของห้องสมุดมีจำนวนจำกัด และบุคลากรที่มีอยู่มีภาระงานมากอยู่แล้ว ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ไม่มีแผนการใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 ทั้งนี้ ปัจจัยภายในห้องสมุดและปัจจัยภายนอกห้องสมุด เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ในระดับมากทั้งสองปัจจัย โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า คือ ปัจจัยภายในห้องสมุด เมื่อพิจารณาปัจจัยภายในห้องสมุด พบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เห็นว่า ปัจจัยภายในห้องสมุดมีผลต่อการตัดสินใจใช้ในระดับมากทุกปัจจัย โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นโยบายของผู้บริหารห้องสมุด
Other Abstract: This study was a survey research which was aimed to investigate the implementation of Web 2.0 technology for information literacy instruction (ILI) in Thai university libraries, in terms of information literacy skills being taught, types of Web 2.0 technology that were implemented, ways of implementing Web 2.0 technology, and problems in implementing Web 2.0 technology. Additionally, in case of the university libraries which did not apply Web 2.0 technology to their ILI, the research also explored their reasons, implementation plan, and factors important to their decisions on the implementation of Web 2.0 technology. A questionnaire responding to the research objectives was developed as the research instrument and it was distributed to collect the data from the library director/library head/library staff member who was responsible for ILI in all 127 Thai university central libraries. The research results are as follows: Generally, the majority of university libraries did not implement Web 2.0 technology for ILI. Concerning those implementing Web 2.0 technology for ILI, most respondents applied Web 2.0 technology to teach Standard 2: Accesses needed information effectively and efficiently. The type of Web 2.0 technology that most university libraries implemented was Social Networking. Also, most university libraries used almost every type of Web 2.0 technology for distribution of teaching content, news relevant to the instruction, and resource/information access to learners. Finally, they considered all four types of problems as quite problematic but the one receiving the highest mean score was problems relevant to operation. When problems relevant to operation were considered, one sub-problem was rated as very problematic while the rest were rated as quite problematic. The one rated as very problematic and received the highest mean score was the library did not have enough staff to implement Web 2.0 technology into ILI. Regarding the university libraries that did not implement Web 2.0 technology for ILI, most did not adopt it because they had a limited number of staff and existing staff already had a lot of works to do. In addition, the majority of them did not have a plan to implement Web 2.0 technology into ILI. Finally, they considered both internal factors and external factors as very important to the decisions on the implementation of Web 2.0 technology but, on the whole, internal factors received higher mean score. According to internal factors, all sub-factors were rated as very important but policy of the library administrators received the highest mean score.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46803
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1375
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1375
Type: Technical Report
Appears in Collections:Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oranuch_sa_res.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.