Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46851
Title: การพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร
Other Titles: Quality control system devlopment of tableware industry
Authors: สมชาย วิศววีรศักดิ์
Advisors: พงค์ศานติ์ อภิรติเกียรติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การควบคุมกระบวนการผลิต
Process control
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษานี้ได้ศึกษาถึงวิธีการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ซึ่งโรงงานตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ เป็นโรงงานผลิตช้อนส้อม และมีด ซึ่งมีของเสียที่คิดเป็นมูลค่าการสูญเสียสูงถึง 70% ของมูลค่าของเสียทั้งหมด ซึ่งระบบควบคุมคุณภาพนี้จะเน้นการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต ซึ่งการจัดวางระบบควบคุมคุณภาพดังกล่าว ประกอบด้วย ขั้นตอนการวางแผนควบคุม คุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การวิเคราะห์ผลการควบคุมคุณภาพ และการเสนอแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพ โดยเริ่มตั้งแต่ การกำหนดจุดตรวจสอบ การออกแบบแผ่นเก็บข้อมูล การเก็บตัวอย่าง และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสร้างแผนภูมิควบคุม ผลจากการวิเคราะห์แผนภูมิควบคุมและข้อมูลที่เก็บได้จากระบวนการผลิตต่าง ๆ พบว่า ขั้นตอนการตัดครั้งแรกและการรีดใบช้อนหรือส้อม มีอีตราข้อบกพร่องต่อหน่วยมากที่สุด จึงได้ทำการหรับปรุงกระบวนการตัดครั้งแรกและการรีดใบ ซึ่งภายหลังการปรับปรุงพบว่า สามารถลดอัตราข้อบกพร่องต่อหน่วยลงได้ 63.61% สำหรับการตัดครั้งแรก และลดอัตราส่วนบกพร่องต่อหน่วยของเครื่องรีดเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ลงได้ 70.28% และ 68.96% ตามลำดับ ซึ่งถือได้ว่า คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีสัดส่วนที่ดีขึ้น นอกจากนั้นพิกัดควบคุมที่ได้จากแผนภูมิควบคุมในขั้นตอนต่าง ๆ ยังอาจจะนำไปใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตเบื้องต้นได้อีกด้วย
Other Abstract: The objective of this study is to developing is to developing quality control system for tableware industry. The sample factory produces spoons, forks and knives made by stainless steel. The fractions of defectives of the processes of production such as blank shearing, rolling, pressing and forming are 70% of with total defectives. The quality control system emphasizes the process control of these processes. The method of developing such system consists of quality planning, quality control, evaluation of the results and then recommends the procedures for quality improvement. The result of analysis of control charts and from check sheets of each process showed that the blanking and the rolling operations of spoons and forks have the most nonconformities and after process improvement we have found that the nonconformities of blanking operation decrease in percentage of 63.61 and the nonconformities of rolling operation on machine no.1 and machine no.2 decrease in percentages of 70.28 and 68.96 respectively. Based on these results, the system has worked with the two processes. We can apply system on other processes of the production
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46851
ISBN: 9745794694
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_vi_front.pdf11.64 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_vi_ch1.pdf7.34 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_vi_ch2.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_vi_ch3.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_vi_ch4.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_vi_ch5.pdf15.55 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_vi_ch6.pdf3.88 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_vi_ch7.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_vi_back.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.