Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46858
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทักษิณ เทพชาตรี-
dc.contributor.authorสมชาย สุนทรวีระ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2015-10-27T09:27:16Z-
dc.date.available2015-10-27T09:27:16Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.isbn9745795917-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46858-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลตอบสนองของอาคารต่อแผ่นดินไหวในเขตกรุงเทพมหานครที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างภายใต้การกระทำของแผ่นดินไหวโดยใช้ทฤษฎีในการวิเคราะห์ ส่องทฤษฎี คือ ทฤษฎีสถิตศาสตร์ (Statics) และทฤษฎีพลศาสตร์ (Dynamics) การวิเคราะห์โครงสร้างในงานวิจัยนี้ใช้วิธีอินติเกรตโดยตรง (Direct Integration Method) วิธีค่าสูงสุดของการตอบสนอง (Response Spectrum) และวิธีแรงสถิตศาสตร์เทียบเท่า (Equivalent Static Force Method) ตามหลักการของ UBC ในการวิเคราะห์โดยวิธีอินติเกรตโดยตรงใช้ข้อมูลแผ่นดินไหวที่ได้จำลองโดยอาศัยค่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่มากที่สุดในเอกสารอ้างอิงที่ (19) ของกรมอุตุนิยมวิทยา ระหว่างปี พ.ศ. 2455 ถึง พ.ศ. 2532 โดยมีค่าความเร่งสูงสุดที่ระดับผิวดินเท่ากับ 0.058g เมตร/ วินาที2 ส่วนการวิเคราะห์โดยวิธีค่าสูงสุดของการตอบสนองใช้กราฟค่าสูงสุดของการตอบสนองในเอกสารอ้างอิงที่ (18) ซึ่งได้จากข้อมูลแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจริงในเขตกรุงเทพมหานคร ในการวิเคราะห์ผลลัพธ์ ได้นำหลักทฤษฎีพลศาสตร์มาประยุกต์กับไมโครคอมพิวเตอร์ และได้พัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้างระบบ เพื่อช่วยให้การวิเคราะห์สามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ใช้วิธีการทำซ้ำในสเปซย่อย (Subspace Iteration Method) ในการแก้ปัญหาเจาะจง (Eigenproblem) และใช้วิธี Square Root Sum Square เพื่อวิเคราะห์หาการตอบสนองของโครงสร้างโดยวิธีค่าสูงสุดของการตอบสนอง (Response Spectrum) จากการศึกษาพบว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรมที่ได้จากการวิจัย สามารถให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจเมื่อเปรียบเทียบกับโปรแกรม ETABS ซึ่งใช้วิธี Root Mean Square พิจารณา 2 มิติ จะมีความคลาดเคลื่อนของระยะเอนด้านข้างและแรงภายใน ประมาณ 0.30-7.89 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อพิจารณา 3 มิติจะมีความคลาดเคลื่อนสำหรับระยะเอนด้านข้างและแรงภายในในช่วง 0.10-17.80 เปอร์เซ็นต์ โดยการพิจารณาผลไม่เกิด 3 โหมด ผลการเปรียบเทียบผลการตอบสนอง ซึ่งพิจารณาผลการรวมโหมดพบว่าการรวมโหมด 3 โหมดจะมีความถูกต้องมากเพียงพอ นอกจานี้สำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 7.15 ชั้น ผลการวิเคราะห์โดยวิธีสถิตศาสตร์เทียบเท่าตามวิธีของ UBC โดยให้กรุงเทพอยู่ในโซน 1 จะให้ค่าการตอบสนองที่มากกว่าวิธีค่าสูงสุดของการตอบสนองen_US
dc.description.abstractalternativeThe research presents a comparison study of the response of buildings to earthquake in Bangkok Metropolitan area. Two theories, statics and dynamics were employed to obtain the structural response. Direst Integration method, Response Spectrum method and Equivalent static Force method were used in this research. By Direct Intergration method : earthquake dats was simulated by using maximum earthquake intensity data recorded by Meteorological Department during 1912-1989 in Bangkok Metropolitan area. Spectrum method : response spectrum data was obtained by using real earthquake data which affects Bangkok Metropolitan area. In analyzing the results, a dynamic plane frame analysis program was written for microcomputer in order to expedite the analysis. The method of subspace iteration was employed to obtain mode shapes and periods of structures in solving the eigenproblem. The structural responses were calculated using response spectrum methad by square Root Sum Square. It has been shown that the program in this research can give satisfactory results. Horizontal deflections and internal forces obtained have discrepanay about 0.3037.89 percent compare with those obtained from program ETABS in 2 dimension. It was found thet for a 6, 15 story reinforedd concete building the atructral responses calculated by Equivalent Static Force method in UBC code with zone l yielede conservative results compared to those calculated by Response Spectrum method.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอาคาร -- ผลกระทบจากแผ่นดินไหวen_US
dc.subjectการวิเคราะห์โครงสร้าง (วิศวกรรมศาสตร์)en_US
dc.subjectแผ่นดินไหวen_US
dc.subjectEarthquakesen_US
dc.subjectStructural analysis (Engineering)en_US
dc.subjectBuildings -- Earthquake effectsen_US
dc.titleผลตอบสนองของอาคารต่อแผ่นดินไหวในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeResponse of buildings to earthguakes in Bangkok metropolitan areaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_so_front.pdf9.38 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_so_ch1.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_so_ch2.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_so_ch3.pdf7.77 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_so_ch4.pdf4.22 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_so_ch5.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_so_back.pdf8.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.