Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46997
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสรชัย พิศาลบุตร-
dc.contributor.authorสุรีรัตน์ หวังวณิชชากร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2015-12-11T02:10:32Z-
dc.date.available2015-12-11T02:10:32Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745638366-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46997-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้ เป็นการหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่นของครัว เรือนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศย้ายเข้ากรุงเทพมหานคร ในระหว่าง พ.ศ. 2518-2523 ก่อนวันสำมะโน และเพื่อสร้างรูปแบบที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่นของครัวเรือนเข้ากรุงเทพมหานครโดยใช้วิธีวิเคราะห์ 3 วิธี คือการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ (Multiple Regression Analysis) การวิเคราะห์อิทธิพล (Path Analy-sis) และการวิเคราะห์การจำแนกพหุ (Multiple Classification Analysis) ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้จากข้อมูลตัวอย่าง 1 เปอร์เซ็นต์จากโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2523 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยศึกษา เฉพาะครัว เรือนส่วนบุคคลที่สมรสแล้วซึ่งมีภรรยาอายุ 15-49 ปี และอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 3,251 ครัวเรือน จากการศึกษาโดยวิธีการถดถอยพหุคูณ พบว่าปัจจัยทางประชากรที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่น ได้แก่ อายุของภรรยา ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพล ได้แก่ อาชีพของสามีที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการค้า และอาชีพของภรรยาที่ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กรรมกรและผู้ปฏิบัติงานบริการปัจจัยทางสังคมที่มีอิทธิพล ได้แก่ ครัวเรือนที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่นอกเขตเทศบาลและในเขตเทศ-บาล จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่และการคุมกำเนิด สำหรับการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัย พบว่าปัจจัยทางประชากร ได้แก่ อายุของภรรยา มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการย้ายถิ่น ส่วนอายุของสามีและอายุแรกสมรสของภรรยามีอิทธิพลทางอ้อมต่อการย้ายถิ่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีอาชีพของภรรยาที่ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กรรมกรและผู้ปฏิบัติงานบริการ เพียงตัวแปรเดียวมี อิทธิพลทางตรง และปัจจัยทางสังคมที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ ครัวเรือนที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่นอกเขตเทศบาลและในเขตเทศบาล และการคุมกำเนิด ส่วนการศึกษาของภรรยามีอิทธิพลทางอ้อม และจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่มีอิทธิพลทางตรงต่อการย้ายถิ่น สำหรับการวิเคราะห์การจำแนกพหุโดยเสนอรูปแบบการวิเคราะห์ 3 รูปแบบ ได้ผลว่าปัจจัยทางประชากร ปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยทางสังคมที่ให้ผลสอดคล้องกันทั้ง 3 รูป ได้แก่ ภูมิลำเนาเดิม อายุของภรรยา จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ การคุมกำเนิดและอาชีพของสามี ดังนั้นจากผลการวิเคราะห์ พอสรุปได้ว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการย้ายถิ่นสอดคล้องกันทั้ง 3 วิธี แต่การวิเคราะห์การจำแนกพหุน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการย้ายถิ่นของครัว เรือน เนื่องจากข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ในครั้งนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะ เป็นตัวแปรคุณภาพ จึงไม่ต้องกำหนดค่าตัวแปรดัมมี่ เช่น เดียวกับในการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์อิทธิพลen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to examine the factors that influence the immigration of households residing in other chinwags into Bangkok Metropolitan area during 1975-1980 before the census date and to find the appropriate models to explain such factors. The methods of analysis to be used in the models are Multiple Regression Analysis, Path Analysis and Multiple Classification Analysis. The data of this research are based In the 1 percent sample of population from the 1.980 Population and Housing Census conducted by National Statistical office. The data cover 3251 private households with wife aged 15-49 residing in Bangkok Metropolitan area. Results from the Multiple Regression Analysis show that the demographic factor influencing the inmigration is wife age, economic factors are husband's occupation as sales workers and wife's occupation as production workers, laborers and services workers. Social factors are households originally residing in non-municipal and municipal areas,the number of living children and contraception. From Pathen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการย้ายถิ่นภายในประเทศen_US
dc.subjectกรุงเทพฯ -- ประชากรen_US
dc.titleการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อศึกษาปัจจัย ที่มีผลต่อการย้ายถิ่นเข้ากรุงเทพมหานครของครัวเรือน ซึ่งมีภรรยาอายุระหว่าง 15-49 ปีen_US
dc.title.alternativeA statistical analysis on factors affecting migration of households with wife aged 15-49 to Bangkok metropolitan areaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถิติen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sureerat_wa_front.pdf5.96 MBAdobe PDFView/Open
Sureerat_wa_ch1.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open
Sureerat_wa_ch2.pdf9.32 MBAdobe PDFView/Open
Sureerat_wa_ch3.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Sureerat_wa_ch4.pdf5.32 MBAdobe PDFView/Open
Sureerat_wa_back.pdf7.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.