Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47132
Title: ผลของราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการเติบโตและอัตราผลผลิตของผักสลัดอินทรีย์
Other Titles: Effects of arbuscular mycorrhizal fungi on growth and productivity of organic lettuce
Authors: วรรณธิรา รณะบุตร
Advisors: ธีรดา หวังสมบูรณ์ดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Teerada.W@Chula.ac.th
Subjects: ผัก -- เกษตรอินทรีย์
ผักสลัด
ไมคอร์ไรซา
vegetables -- Organic farming
Salad vegetables
Mycorrhizas
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลของราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อการเติบโตและอัตราผลผลิตของ ผักสลัด (Latuca sativa L.) เพื่อใช้ปลูกพืชในเกษตรอินทรีย์ โดยสปอร์ราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาได้มาจากแปลงปลูกผักสลัดอินทรีย์ที่สวนผักปลอดสารพิษลุงไกร ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เมื่อจำแนกไอโซเลทของสปอร์ราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา สามารถจำแนกได้ 7 ไอโซเลท จาก 4 สกุล คือ Acaulospora sp. Gigaspora sp. Glomus etunicatum Glomus geosporum Glomus mosseae Glomus multicaule และ Scutelluospora sp. เมื่อนำสปอร์แต่ละไอโซเลทในปริมาณ 50 สปอร์ มาทดสอบการเติบโตของผักสลัดพันธุ์กรีนโอ๊คและเรดโอ๊ค เทียบกับชุดควบคุมที่ไม่มีการปลูกเชื้อด้วยราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา โดยประเมินผลจากจำนวนใบ น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง เปอร์เซ็นต์การติดเชื้อในรากพืช และปริมาณสปอร์ในดิน พบว่า Scutellospora sp. และ G. mosseae ให้ผล การเติบโตของผักสลัดพันธุ์กรีนโอ๊คและเรดโอ๊คมากที่สุดตามลำดับ โดยมีจำนวนใบ น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง ต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อในรากมากที่สุด จากนั้นนำราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาทั้ง 2 ไอโซเลท มาทดสอบปริมาณที่เหมาะสมต่อการเติบโตของผักสลัดพันธุ์กรีนโอ๊คและเรดโอ๊ค โดยใช้ปริมาณสปอร์ 5 ระดับ ได้แก่ 0 25 50 100 และ 200 สปอร์ต่อต้น พบว่าปริมาณสปอร์ของ Scutellospora sp. และ G. mosseae 200 สปอร์ต่อต้น ให้ผลการเติบโตของผักสลัดพันธุ์กรีนโอ๊คและเรดโอ๊คมากที่สุดตามลำดับ โดยมีจำนวนใบ น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง ต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อในรากมากที่สุด อย่างไรก็ตามผักสลัดพันธุ์เรดโอ๊คที่ปลูกเชื้อด้วยสปอร์ของ G. mosseae ในปริมาณ 50 และ 100 สปอร์ต่อต้น ให้ผลผลิตได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับที่ปลูกด้วยเชื้อปริมาณ 200 สปอร์ต่อต้น ดังนั้นการใช้ราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาร่วมกับการปลูกผักสลัดสามารถกระตุ้นการเติบโต รวมถึงเพิ่มอัตราผลผลิตของผักสลัดได้
Other Abstract: The present research aims to study the effects of different isolates of Arbuscular mycorrhizal fungi (AMF) on growth and yield of lettuce (Latuca sativa L.) for using in organic farming system. AMF spores were obtained from a lettuce commercial organic farm in Wang Nam Keaw district, Nakorn Rachasima provice. They could be identified by using morphological characteristics into 7 isolates from 4 genera which were Acaulospora sp. Gigaspora sp. Glomus etunicatum Glomus geosporum Glomus mosseae Glomus multicaule and Scutellospora sp. Fifty spores of each isolates were tested for growth on 2 varieties of lettuce, green oak and red oak, compared with uninoculated treatment (control). Mature lettuces were collected and studied for leaf number, leaf fresh and dry weight and percentage of root infection. The result showed that Scutellospora sp. and G. mosseae were the best isolates for promoting growth and yield of green oak and red oak, respectively. The treaments significantly increased leaf number, leaf fresh and dry weight compared with control treatment. Beside, these two isolates also showed highest percentage of root infection on lettuces. Then, the variations of spore concentration at 25, 50, 100, and 200 spores/plant of each isolate were tested for growth of green oak and red oak. The result showed that at the concentration of 200 spores/plant, Scutellospora sp. and G. mosseae were the best concentrations for promoting growth and yield and also gave the highest percentage of root infection on green oak and red oak, respectively. However, growth and yield of 50 and 100 spores/plant inoculated with G. mosseae in red oak didn’t have any significant differences from 200 spores/plant. In conclusion, the AMF application into lettuce cultivation can stimulate growth and yield of the plants.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47132
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2057
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2057
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wantira_ra.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.