Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47160
Title: ระบบสารสนเทศสำหรับศูนย์บริการโลหิต
Other Titles: Central blood bank information system
Authors: สมพงษ์ เงยเจริญ
Advisors: ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์
สุเมธ วัชระชัยสุรพล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
ระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ
คลังเลือด
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันศูนย์บริการโลหิตต่างๆ มักประสบปัญหาในเรื่องการเก็บข้อมูลผู้บริจาคโลหิต เนื่องจากจำนวนผู้บริจาคโลหิตมีจำนวนมาก อีกทั้งเจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ก็มีจำนวนไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่มักประสบกับปัญหาซ้ำซ้อนของข้อมูลและการสูญหายของข้อมูล นอกจากนี้งานทางด้านการจัดและการบริหารมักจะล่าช้าอันเนื่องจากมีขั้นตอนในการประมวลผลที่อาศัยมือทำ (Manual Data Processing) เป็นส่วนมาก ดังนั้นเมื่อจำนวนผู้บริจาคโลหิตเพิ่มมากขึ้น ปัญหาเหล่านี้ก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย ในการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานของศูนย์บริการโลหิต จะช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้สมบูรณ์ขึ้น และนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้สะดวก อาทิเช่น การศึกษาและค้นคว้าลักษณะการกระจายของหมู่โลหิตของผู้บริจาคโลหิต การค้นหาประวัติของผู้บริจาคโลหิต การออกรายงานสภาวการณ์ของคลังโลหิต และการออกรายงานทางสถิติต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการวิจัยจึงอยู่ที่การแสดงวิธีการที่เหมาะสมในการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้สามารถทำงานในลักษณะของการโต้ตอบฉับพลัน (Online Interactive) กล่าวคือ ผู้ใช้สามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริจาคโลหิตและคลังโลหิตได้ทันทีตลอดจนการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บสถิติจากข้อมูลที่ได้เกิดขึ้นอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำงานประจำ แล้วสรุปออกมาในรูปของรายงานต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการและบริหารงานในศูนย์บริการโลหิต เนื่องจากระบบสารสนเทศนี้มีขนาดใหญ่และการพัฒนาระบบให้สมบูรณ์แบบทุกอย่างจะต้องใช้เวลามาก ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงจะเน้นเฉพาะส่วนที่สำคัญๆ ของระบบ โดยใช้ตัวอย่างของข้อมูลที่เป็นมาตรฐานจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เป็นแหล่งในการศึกษาออกแบบระบบและพัฒนาโปรแกรม
Other Abstract: At present, the collecting of blood donor information in a large central blood bank has encountered many serious problems due to the increasing number of donors but lack of sufficient number of staff to maintain the data-base. Redundancy and missing of data are often occurred. Besides that, manual data processing in blood inventory control is presently using, results in inactive administration and poor management. The utilization of computer in a large central blood bank has largely improved the system performance. Data can be instantly entered, processed and maintained. Furthermore, the study and research in the distribution of blood groups, donor reports, management reports etc can be easily obtained. It is the purpose of the present research work to develop and then to implement a computer-based central blood bank information system. The system will provide an online-interactive feature that allows the instant data entry, information query via computer terminals. Moreover, the system will generate statistical reports for management and administration works in dialy operation. However, the development of the entire MIS project is formidable, that will require a long period of time to complete. Then, this thesis will emphasize only the important parts of the system and use sampling model from the Thai Red Cross Blood Center in software design and development.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47160
ISBN: 9745633852
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompong_ng_front.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ng_ch1.pdf967.5 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_ng_ch2.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ng_ch3.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ng_ch4.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ng_ch5.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ng_ch6.pdf310.68 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_ng_ch7.pdf366.6 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_ng_back.pdf8.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.