Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47188
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรัญญา ตุ้ยคำภีร์-
dc.contributor.authorแพรวดาว พงศาจารุ-
dc.contributor.authorเรวดี พจนบรรพต-
dc.contributor.authorนิธิพัฒน์ กุศลสร้าง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2016-02-17T12:31:38Z-
dc.date.available2016-02-17T12:31:38Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.otherPsy 150-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47188-
dc.descriptionโครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554en_US
dc.descriptionA senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2011en_US
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ จิตอาสา และสุขภาวะทางจิตในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ จิตอาสา และสุขภาวะทางจิตในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา คณะ เป็นต้น แบบวัดบุคลิกภาพแบบห้าองค์ประกอบ แบบวัดแรงจูงใจอาสา และแบบวัดสุขภาวะทางจิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น และการวิเคราะห์ใช้สถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์หาค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. บุคลิกภาพด้านแสดงตัว ด้านเปิดรับประสบการณ์ ด้านมีจิตสำนึก และด้านประนีประนอมมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับจิตอาสา อย่างมีนัยสำคัญทางสติถิ โดยที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ( r = .256, p < .01), ( r = .284, p < .01), ( r = .103, p < .05) , ( r =.108, p < .05) ตามลำดับ 2. บุคลิกภาพด้านหวั่นไหวไม่มีสัมพันธ์กับจิตอาสาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( r =.042, p < .05) 3. บุคลิกภาพด้านแสดงตัว ด้านเปิดรับประสบการณ์ ด้านมีจิตสำนึก และด้านประนีประนอมมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ ( r = .406, r = .309, r = .316, r =.192, p < .01) ตามลำดับ 4. บุคลิกภาพด้านหวั่นไหวมีสหสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( r = -.596, p < .01) 5. จิตอาสาไม่มีสหสัมพันธ์กับสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( r = .068, p < .01) 6. บุคลิกภาพด้านแสดงตัว บุคลิกภาพด้านเปิดรับประสบการณ์ บุคลิกภาพด้านมีจิตสำนึก บุคลิกภาพด้านประนีประนอม บุคลิกภาพด้านหวั่นไหว และจิตอาสาร่วมกันทำนายสุขภาวะทางจิตของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีได้ โดยค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน (β) ของลักษณะบุคลิกภาพด้านแสดงตัว มีค่าเท่ากับ .251 ( p < .05) ลักษณะบุคลิกภาพด้านการเปิดรับประสบการณ์ มีค่าเท่ากับ .101 ( p < .05) ลักษณะบุคลิกภาพด้านการมีจิตสำนึก มีค่าเท่ากับ .131( p < .05) ลักษณะบุคลิกภาพด้านประนีประนอม มีค่าเท่ากับ .004 ( p > .05) ลักษณะบุคลิกภาพด้านหวั่นไหว มีค่าเท่ากับ -.477 ( p < .05) และจิตอาสา มีค่าเท่ากับ -.059 ( p > .05) และสามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของสุขภาวะทางจิตได้ร้อยละ 45.6en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study correlation between Big5 Personality, Volunteerism and Psychological Well-Being Participants included 400 Bachalor Degree in Chulalongkorn University The instruments were general information questionaires (such as sex, age and faculty), Big5 Personality test, Volunteerism test and Psychology Well-Being test. Results showed that: 1. Personality Dimension of Extraversion, Openness to Experience, Consciciousness and Agreeableness have positive correlation with Volunteerism significantly. ( r = .256, p < .01), ( r = .284, p < .01), ( r = .103, p < .05) , ( r =.108, p < .05) 2. Personality Dimension of Neuroticism has negative correlation with Volunteerism significantly. ( r = .042, p < .05) 3. Personality Dimension of Extraversion, Openness to Experience, Consciciousness and Agreeableness have positive correlation with Psychological Well-Being significantly. ( r = .406, r = .309, r = .316, r =.192, p < .01) 4. Personality Dimension of Neuroticism has negative correlation with Psychological Well-Being significantly. ( r = -.596, p < .01) 5. Volunteerism has not correlation with Psychological Well-Being significantly. ( r = .068, p = < .01) 6. Personality Dimension of Extraversion, Openness to Experience, Consciciousness, Agreeableness, Neuroticism and Volunteerism can predict Psychological Well-Being of Bachelor Degree student which it have regression coefficient. ( β .251, .101, .131, .004, -.477, -.059, p > .05)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบุคลิกภาพen_US
dc.subjectอาสาสมัครen_US
dc.subjectสุขภาวะen_US
dc.subjectPersonalityen_US
dc.subjectVolunteersen_US
dc.subjectWell-beingen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ จิตอาสา และสุขภาวะทางจิตในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตen_US
dc.title.alternativeRelationships among big five personality, volunteerism, and psychological well-being of university studentsen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorarunya.t@chula.ac.th-
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
praewdao_po.pdf935.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.