Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47404
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพินท์ บุนนาค
dc.contributor.advisorวสันต์ ศิลปสุวรรณ
dc.contributor.authorวัน คุซิตา
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2016-03-31T03:06:29Z
dc.date.available2016-03-31T03:06:29Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47404
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractในการศึกษาครั้งนี้ จุดมุ่งหมายเพื่อที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความเจ็บป่วยของประชากรในชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร กับปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) และปัจจัยที่เกี่ยวกับมนุษย์ (Host) และนอกจากนี้ยังมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมอนามัยกับปัจจัยทางด้านประชากร สังคม และเศรษฐกิจอีกส่วนหนึ่ง ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ สตรีในวัยเจริญพันธุ์ที่สมรสแล้วและอยู่กินกับสามี ในชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร 4 ชุมชน คือ ชุมชนวัดไผ่เงิน ชุมชนวัดสร้อยทอง ชุมชนซอยร่วมรักษา และชุมชนซอยฟาร์มวัฒนา ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นข้อมูลจากโครงการสาธารณสุขมูลฐานในเขตชุมชนแออัด กรุงเทพมหานคร ซึ่งเก็บรวบรวมโดยสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ในการศึกษาครั้งนี้ต้องการพิสูจน์สมมุติฐานกว้างๆ ที่ว่าปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) และปัจจัยทางด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน จะมีผลต่อภาวะการเจ็บป่วยของประชากรในชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร และปัจจัยที่แตกต่างกันทางด้านประชากร สังคม และเศรษฐกิจจะมีผลต่อการปฏิบัติทางด้านพฤติกรรมอนามัยของประชากรในชุมชนแออัดกรงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะการเจ็บป่วยนั้น พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Environment) เกือบทุกปัจจัยมีผลต่อภาวะการเจ็บป่วย กล่าวคือ การใช้ส้วมก็พบว่าการที่ครัวเรือนที่มีส้วมที่ไม่ถูกอนามัยใช้นั้นจะมีผู้ป่วยในครัวเรือน โดยเฉพาะการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารมากที่สุด และน้ำดื่ม-น้ำใช้ ก็มีผลต่อการเจ็บป่วยของประชากรเช่นกัน กล่าวคือ การที่ครัวเรือนที่ใช้น้ำดื่ม น้ำใช้ที่ไม่สะอาด จะทำให้สมาชิกในครัวเรือนเกิดภาวะการเจ็บป่วยได้ นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ก็มีผลต่อภาวะการเจ็บป่วยของประชากรเช่นกันโดย เฉพาะสภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่สะอาด จะมีผลต่อการเจ็บป่วย โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร และยังพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวกับมนุษย์ โดยเฉพาะทางด้านประชากร ได้แก่ อายุ และปัจจัยทางด้านสังคม คือ อาชีพ และการศึกษา พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะการเจ็บป่วยในกลุ่มอาการต่างๆ เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคติดเชื้อ เป็นที่น่าสังเกตว่า การศึกษาและอาชีพไม่มีผลต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งก็เป็นไปตามหลักของทฤษฎีการเกิดโรคนี้ว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับการศึกษาและอาชีพ แต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับอายุ กล่าวคือ ผู้สูงอายุเท่านั้นที่เจ็บป่วยด้วยโรคระบบไหลเวียนโลหิต และจากการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่า จำนวนสมาชิกในครั้งเรือนนั้นไม่มีผลต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ในส่วนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมอนามัยในด้านการให้นมบุตร การรับบริการทางด้านสาธารณสุขเมื่อเจ็บป่วย การรับวัคซีนป้องกันโรค และทัศนคติต่อการใช้บริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยทางด้านประชากร อันได้แก่ อายุ ปัจจัยทางด้านสังคม อันได้แก่ การศึกษาและอาชีพ และปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ อันได้แก่ รายได้ ไม่มีผลต่อพฤติกรรมอนามัย การให้นมบุตร กล่าวคือ อายุ การศึกษา อาชีพ และฐานทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการให้นมบุตร ในส่วนพฤติกรรมอนามัยในด้านการใช้บริการทางด้านสาธารณสุขเมื่อเจ็บป่วยนั้น พบว่า ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจมีผลต่อการใช้บริการทางด้านสาธารณสุขในระดับนัยสำคัญที่ .001 กล่าวคือ ผู้ที่มีรายได้สูง คือมีรายได้ตั้งแต่ 4,950 บาทต่อเดือนขึ้นไป จะเลือกใช้บริการทางด้านสาธารณสุข เมื่อเจ็บป่วยโดยการไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนในขณะที่ผู้มีรายได้ปานกลาง มีรายได้ระหว่าง 2,850-4,950 บาทต่อเดือน และรายได้ต่ำ มีรายได้ต่ำกว่า 2,850 บาทต่อเตือนนั้น เมื่อเจ็บป่วยจะเลือกใช่วิธีการ ซื้อยากินเองมากที่สุดถึงร้อยละ 34.5 และร้อยละ 38.8 ในขณะที่ผู้มีรายได้สูงนั้นใช้วิธีการซื้อยากินเองเพียงร้อยละ 26.6 เท่านั้น ในเรื่องเกี่ยวกับการรับวัคซีนป้องกันโรคนั้น พบว่า ปัจจัยส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อการรับวัคซีนของบุตร ไม่ว่าจะเป็นอายุของมารดา การศึกษาของมารดา และรายได้ของครัวเรือน มีเพียงอาชีพที่มีผลต่อการรับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ที่จำเป็นแก่เด็ก อันได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก (ดี.พี.ที) วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ (โอ.อี.วี) วัคซีนป้องกันโรควัณโรค (บี.ซี.จี) และวัคซีนป้องกันโรคหัด (Measles) โดยเฉพาะอาชีพมีผลอย่างมากต่อการรับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ (โอ.พี.วี) และป้องกันโรควัณโรค (บี.ซี.จี) ซึ่งแสดงว่าสตรีวัยเจริญพันธุ์ผู้เป็นมารดาของบุตรอายุ 0-5 ปี มีความตระหนักถึง 2 วัคซีนนี้มากกว่าวัคซีนชนิดอื่นๆ และในเรื่องเกี่ยวกับทัศนคติต่อการใช้บริการทางสาธารณสุขกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า รายได้เท่านั้นที่มีผลต่อทัศนคติต่อการใช้ศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร กล่าวคือ ผู้มีรายได้สูงจะมีทัศนคติต่อการไปใช้บริการทางด้านสาธารณสุขที่ศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพมหานครค่อนข้างไม่ดี ในขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง และรายได้ต่ำมีทัศนคติต่อการไปใช้บริการทางด้านสาธารณสุข ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพมหานครมากกว่า และยังพบว่าผู้มีรายได้ต่ำนั้นมีความพอใจในการให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพมหานครมากที่สุดถึงร้อยละ 44.1 รองลงมาคือผู้มีรายได้ปานกลางมีความพอใจในการใช้บริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ร้อยละ 29.3 ผลจากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้พอสมควร โดยเฉพาะทางด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวการณ์เจ็บป่วยนั้น ทุกกลุ่มปัจจัยที่นำมาทดสอบโดยเฉพาะปัจจัยสิ่งแวดล้อม (Environment) และมนุษย์ (Host) มีผลต่อภาวการณ์เจ็บป่วยของประชากรในชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นและในส่วนของพฤติกรรมอนามัยนั้นพบว่าอาชีพและรายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมอนามัยของประชากรโดย เฉพาะพฤติกรรมการไปใช้บริการสาธารณสุขเมื่อเจ็บป่วย การรับวัคซีนป้องกันโรคและทัศนคติต่อการใช้บริการที่ศูนย์บริการทางด้านสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร สำหรับอายุและการศึกษานั้น พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการที่จะทำให้มีพฤติกรรมอนามัยที่แตกต่างกันแต่อย่างใดen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to investigate the morbidity pattern of people in the four congested areas in Bangkok. According to Dr. John gordon's theory, there are three main factors of agent, host and environment that cause morbidity pattern. Therefore, in this study, the relationship of the three factors and morbidity pattern hare been investigated carefully. Moreover, health behavior with demographic and socio-economic factors have also been under studied. The 659 sample cases were the currently married wemen aged 15-49 selected from the four improved Congested areas of Wat Pai Ngoen, Wat Sroy Thong, Soi Ruam Raksa and Soi Farm Watana which was done by Institute of Population Studies (IPS.) Chulalongkorn University in April 1983. It is found in the study that the two factors of environment and host have and affect on morbidity pattern of the poor people in the sulum areas relatively. Morbidity was affected by environment factors mostly in the gastro-intestinal system which related primary to poor hygine at latrines, poor rubbish Collection, and Contaminated water resources. As for the host factors which were age, Occupation and education. They were affected by gastro-intestinal, respiratory and infectious disease morbidity. And there were no relationship between morbidity pattern and member of family member or income of the family. The health behaviors of health service utilization. Such as immunization and attitudes tawards BMA health centers were affected by age, education occupation and income. But there were no relationship between these factors and breast-feeding. As for the host factors which were age, education, and income, they were not affected by immunization except occupation. The health service utilization has depended mostly on income of the people in the slum areas. The people with high income (more than ฿ 4950 per month) utilized the government and private hospitals. While the medium income (฿ 2850-4950 per month) and low income (less than ฿ 2850 per month) use self-medication respectively. The same data found in attitude tawards BMA health centers. People in high income group utilized BMA health centers less than medium and low income group. There were 62.2 percent of low income group and 67.4 percent of medium income group were satisfactory with BMA health centers.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectชุมชนแออัดen_US
dc.subjectโรคเกิดจากสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectบริการอนามัยชุมชนen_US
dc.subjectสาธารณสุขมูลฐานen_US
dc.subjectSlums -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectEnvironmentally induced diseasesen_US
dc.subjectCommunity health servicesen_US
dc.subjectPrimary health careen_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะการเจ็บป่วยของประชากรในชุมชนแออัด ในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeFactors affecting morbidity in congested areas of Bangkok metroplitanen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wan_ku_front.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Wan_ku_ch1.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open
Wan_ku_ch2.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open
Wan_ku_ch3.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open
Wan_ku_ch4.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open
Wan_ku_ch5.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Wan_ku_back.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.