Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47411
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรพล สายพานิช | - |
dc.contributor.author | อำพล รัตนสุวงศ์ชัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-03-31T06:24:03Z | - |
dc.date.available | 2016-03-31T06:24:03Z | - |
dc.date.issued | 2530 | - |
dc.identifier.isbn | 9745690643 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47411 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยการเก็บน้ำมันคืนโดยใช้เครื่องกวาดน้ำมันรูปทรงกระบอก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน สรุปได้ดังนี้ ในส่วนแรกศึกษาคุณสมบัติทางด้านการดูดติด พบว่าหยดน้ำลงบน อลูมิเนียม โพลีเอทธีลีน พีวีซีผิวเรียบ พีวีซีผิวหยาบ ฟลูโอโรคาร์บอน เหล็ก เหล็กไร้สนิม และไม้สัก ปรากฏว่าวัสดุเหล่านี้สามารถดูดติดน้ำได้ใกล้เคียงกัน ส่วนเมื่อทำการทดลองกับหยดน้ำมันพบว่าวัสดุต่างๆ มีคุณสมบัติดูดติดน้ำมันได้เท่ากัน และเมื่อทดลองโดยหยดน้ำมันลงบนวัสดุในน้ำ พบว่าวัสดุเหล่านี้สามารถดูดติดน้ำมันได้ใกล้เคียงกัน ยกเว้นไม้สักซึ่งมีค่างานแอดฮีชันน้อยกว่าวัสดุที่กล่าวมาข้างต้น จึงดูดติดน้ำมันได้น้อยกว่า ในส่วนที่สองศึกษาพารามิเตอร์ต่างๆ ของเครื่องกวาดน้ำมันรูปทรงกระบอกพบว่า ชนิดของวัสดุที่ใช้เป็นกระบอกหมุน ความลึกที่กระบอกหมุนจมอยู่ในน้ำและในน้ำมัน ลักษณะผิวเรียบและผิวหยาบของกระบอกหมุนไม่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บน้ำมัน ยกเว้นแต่ความเร็วรอบของกระบอกหมุนเท่านั้นที่พบว่าเป็นปฏิภาคโดยตรงกับประสิทธิภาพในการเก็บน้ำมัน นอกจากนี้ยังพบว่ากระบอกหมุน 4 ชนิดได้แก่ ฟลูโอโรคาร์บอน เหล็กไร้สนิม พีวีซีผิวเรียบ พีวีซีผิวหยาบ มีประสิทธิภาพในการเก็บน้ำมันคีโรซีนประมาณร้อยละ 95-98 ส่วนกระบอกหมุนไม้สักพบว่ามีประสิทธิภาพประมาณร้อยละ 56 และมีปริมาณน้ำปนมาร้อยละ 42 ในส่วนที่สามศึกษาทดลองกับน้ำเสียที่มีน้ำมันลอยอยู่ที่ผิว จากโรงงานของบริษัทธนากร จำกัด และโรงงานของบริษัทสยามน้ำมันละหุ่ง จำกัด พบว่าประสิทธิภาพสูงสุดในการเก็บน้ำมันมีค่าประมาณร้อยละ 77 และ 75 ตามลำดับ มีน้ำปนมากับน้ำมันร้อยละ 60 และ 54 ตามลำดับ และเหตุที่ประสิทธิภาพในการเก็บน้ำมันมีค่าต่ำ และมีน้ำปนมาค่อนข้างมาก เพราะมีสารแขวนลอยจำพวกไฮโดรฟิลิก และน้ำสบู่ซึ่งเป็นสารลดแรงตึงผิวปะปนอยู่ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The results of this research could be draw into 3 parts as follows : On the study of wettability ; it was found that when drops were formed (in presence of air phase) on Aluminium, Polyethylene, P.V.C(rough), P.V.C(smooth), Fluorocarbon, Steel, Stainless Steel, and Teak, they had the similar properties of wettability. When tested with drops of oil (in presence of air phase), their wettability were equal. In presence of water phase, when drops of oil were formed on the materials, they had the similar properties of wettability. Except Teak which had the lowest adhesion work ; so, it was less wettable than materials mentioned above. According to the second experiments on various parameters of the oil drum skimmer, the kind of drum, the immersion depth in water and in oil, the surface properties of drum, had no influence on increasing the efficiency of oil recovery. Only the rotation speed has direct influence on the efficiency of oil recovery Four kinds drums – Fluocarbon, Stainless Steel, P.V.C(smooth), P.V.C(rough) – had the efficiency of kerosene recovery about 95-98%. Whereas Teak drum had the efficiency about 56% and had 42% of water coming together with oil. For the third experiments on wastewater from Thanakorn Vegetable Oil Product Company and Thai Caster Industry showed that the maximum value of the efficiency of oil recovery were 77 and 75% and the percentage of water which dragged up were 60 and 54 respectively. The presence of suspened solid and the surfactant in wastewater caused the low efficiency of oil recovery and large quantity of water. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เครื่องกวาดน้ำมัน | en_US |
dc.subject | น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดน้ำมัน | en_US |
dc.subject | Sewage -- Purification -- Oil removal | en_US |
dc.title | การเก็บน้ำมันคืนโดยใช้เครื่องกวาดน้ำมันรูปทรงกระบอก | en_US |
dc.title.alternative | Oil recovery by oil drum skimmer | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสำรวจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ampon_ra_front.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ampon_ra_ch1.pdf | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ampon_ra_ch2.pdf | 431.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ampon_ra_ch3.pdf | 4.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ampon_ra_ch4.pdf | 2.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ampon_ra_ch5.pdf | 11.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ampon_ra_ch6.pdf | 449.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ampon_ra_ch7.pdf | 624.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ampon_ra_back.pdf | 18.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.