Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47445
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานพ พงศทัต-
dc.contributor.authorวสันต์ วิศนุวัฒนากิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-04-04T07:45:12Z-
dc.date.available2016-04-04T07:45:12Z-
dc.date.issued2537-
dc.identifier.isbn9745844586-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47445-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ วัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาถึงปัญหาและความคิดเห็นในการบริหารชุมชนประเภทบ้านจัดสรรของหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลางและรายได้ปานกลาง ในเขตกรุงเพทมหานครและปริมณฑล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการหมู่บ้านจัดสรรตัวอย่าง โดยการสัมภาษณ์ และใช้แบบสอบถามสำหรับเจ้าของบ้าน ในหมู่บ้านตัวอย่างที่ทำการศึกษา เพื่อที่จะได้ทราบปัญหาและข้อคิดเห็นต่อการจัดการและบริการของผู้บริหารหมู่บ้านที่ เข้าอาศัยแล้ว เพื่อสรุปความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาต่อไป กลุ่มประชากรตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา ผู้วิจัยได้ทำการแบ่งและกำหนดโดย ใช้วิธี THREE STAGE STRATIRED SAMPLING ซึ่งจะแบ่งหมู่เป้าหมายที่เป็นหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลางของภาคเอกชน ที่มีจำนวนตั้งแต่ 100 ถึง 500 หน่วยต่อหนึ่งโครงการ (ตามการจัดขนาดของพ.ร.บ. จัดสรร2535 )และหมู่บ้านเหล่านี้จะถูกทำการแบ่งย่อยเป็น 4 โซนใหญ่ๆ ดังนี้ คือโซนทางด้านเหนือ ด้านใต้ ด้านตะวันออก และด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการกระจายของตัวอย่างที่ทำการเก็บในทุกพื้นที่ และทำการเก็บตัวอย่างจากหมู่บ้านที่สร้างเสร็จระหว่างปี 2530 – 2535 โดยมีประชากรเป้าหมายทั้งสิ้น 45819 หน่วย กำหนดขนาดข้อมูลจำนวนตัวอย่างที่ต้องการจัดเก็บที่ระดับความเชื่อมั่น 95% มีความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 5% ขนาดตัวอย่างที่เหมาะสม 397 หน่วยและตัวอย่างที่เก็บไว้ศึกษาทั้งสิ้น 405 ตัวอย่าง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประชากรตัวอย่างที่ทำการศึกษา มีปัญหาในการอยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรดังกล่าวโดยความสำคัญอันดับหนึ่งคือ ด้านความสะอาด การจัดเก็บขยะ อันดับสองคือการดูแลสาธารณูปโภคส่วนกลาง ปัญหาอันดับสามคือ ความปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างเห็นต้องการให้มีคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อเป็นตัวแทนในการร่วมบริหารหมู่บ้าน 94.85% และสัดส่วนของจำนวนคณะกรรมการควรมาจากสัดส่วนของจำนวนบ้านในหมู่บ้าน วาระการทำงานของคณะกรรมการ 2 ปี 50% และมีความคิดเห็นว่าการทำงานของคณะกรรมการควรมีกฎหมายรองรับ 83.82% ในคณะกรรมการควรมีตัวแทนจากผู้ประกอบการร่วมเป็นกรรมการด้วย การทำงานของกรรมการในปัจจุบันกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าควรมีการปรับปรุง 78% การจัดการด้านการเงินกลุ่มตัวอย่างในปัจจุบันมีการดำเนินการจัดเก็บค่าดูแลหมู่บ้าน 82% และมีความคิดเห็นว่าอัตราการจัดเก็บเหมาะสมแล้ว 73% ความคิดเห็นว่าควรมีการจัดเก็บค่าดูแลชุมชน 82.42% ความเห็นในด้านอัตราการจัดเก็บควรคิดจากพื้นที่แปลงย่อที่ถือครองนำมาเป็นสัดส่วนในการคิด 62% ระยะเวลาการจัดเก็บส่วนใหญ่ เห็นว่าควรจัดเก็บเป็นรายเดือน 75% และมีความเห็นว่าบริษัทที่พัฒนาหมู่บ้านควรมีส่วนร่วมในการออกเงินค่าดูแลส่วนกลางด้วย 90.11%โดยสรุปความคิดเห็นต่อการบริหารหมู่บ้านจัดสรรตัวอย่างควรที่จะ เป็นลักษณะของนิติบุคคลพิเศษมารองรับการทำงานของคณะกรรมการหมู่บ้านen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to study the property management for medium class of private sector housing in THE BANGKOK METROPOLITAN REGION The research tool is collected from the developers, community managers by means of interviews and questionnaires from house owners. In order to learn problems and method of the developers manage community. The research sample groups divided by three stages stratified sampling, the medium class of private sector housing Targets is 100-500 units (by land subdivision regulations) and medium income groups, which it was separated by 4 zones around Bangkok city. The target sample groups were settle in Bangkok by new register houses since 2530-2535 b.c. Total of the samples are 397 units. The Research result showed that at present the sample groups has problem of cleaning, security, community services On their living in communities. The sample groups want community regulation’s 83.70% to manage housing communities and housing committees 94.85% to represent their needs to serve. 2 years for the committee working period. House owners accept to pay maintaining fee for support communities services and management The sample groups agree that developers should be subsidizes maintaining fee for community. They agree with term of maintaining fee by month 75%, maintaining rate relate by land plot area 62%.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดการเคหะชุมชน -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectการเคหะ -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectบ้านจัดสรร -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectอาคารชุด -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- ความพอใจของผู้อยู่อาศัยen_US
dc.subjectคณะกรรมการหมู่บ้านen_US
dc.subjecthousingen_US
dc.titleความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัยและผู้บริหารหมู่บ้านต่อการดูแลบริหารชุมชน ประเภทบ้านจัดสรรขนาดกลาง ของภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลen_US
dc.title.alternativeResidents and housing managers' opinions of property management for medium class "private sector housing" in the Bangkok Metropolitan regionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเคหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorManop.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wason_wi_front.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Wason_wi_ch1.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Wason_wi_ch2.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open
Wason_wi_ch3.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Wason_wi_ch4.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
Wason_wi_ch5.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Wason_wi_back.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.