Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47533
Title: การใช้สื่อเพื่อการรณรงค์เผยแพร่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ พ.ศ.2535
Other Titles: Media utilization in the Protection for Motor Vehicle Accident Victims Act 1992 publicity campaign
Authors: วิชชุดา ไตรธรรม
Advisors: จาระไน แกลโกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การประชาสัมพันธ์
สื่อมวลชน
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
Public relations
Mass media
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพกึ่งปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อเพื่อการรณรงค์เผยแพร่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ของกรมการประกันภัย จากผลการวิจัยพบว่า โครงการณรงค์ตามแผนประชาสัมพันธ์มีกลยุทธ์การใช้สื่อเป็นแบบผสมผสาน ประกอบด้วย โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์/วารสาร/นิตยสาร และสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ สื่อเฉพาะกิจกับสื่อบุคคล ขั้นตอนการใช้สื่อเป็นลักษณะของการขอความอนุเคราะห์ร่วมมือเป็นส่วนใหญ่มีการใช้เงินซื้อสื่อเพียงเล็กน้อย ผลการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ทำประกันภัย ตามพระราชบัญญัติกำหนดภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2536 ไปแล้ว เคยเห็นการประชาสัมพันธ์พระราชบัญญัติ ร้อยละ 100 จากสื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 74 จากสื่อหนังสือพิมพ์/วารสาร/นิตยสาร ร้อยละ 56 จากสื่อเฉพาะกิจ ร้อยละ 54 จากสื่อวิทยุ ร้อยละ 38 และทราบสาระวันประกาศบังคับใช้กฎหมายร้อยละ 82 สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ 2 คือ กลุ่มที่ทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติไม่ทันภายในกำหนดเวลาคือภายหลังจากวันที่ 1 ตุลาคม 2536 ไปแล้ว เคยเห็นการประชาสัมพันธ์พระราชบัญญัติ ร้อยละ 92 จากสื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 86 จากสื่อหนังสือพิมพ์/วารสาร/นิตยสาร ร้อยละ 76 จากสื่อวิทยุ ร้อยละ 42 จากสื่อเฉพาะกิจ ร้อยละ 36 และทราบสาระวันประกาศบังคับใช้กฎหมาย ร้อยละ 76 สรุปได้ว่าทั้งสองกลุ่มตัวอย่างได้รับทราบการประชาสัมพันธ์พระราชบัญญัติฯ ของกรมการประกันภัย แต่การที่กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ไม่ทำประกันภัยภายในเวลากำหนดบังคับใช้ของกฎหมายนั้นไม่เกี่ยวกับปัจจัยในการรับข่าวสารจากสื่อจากแผนการประชาสัมพันธ์พระราชบัญญัติ พบว่า ได้มีการดำเนินการตามแผนเป็นส่วนใหญ่ และช่องทางการสื่อสารครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย แผนการประชาสัมพันธ์เป็นลักษณะกึ่งเปิดทำให้ไม่สามารถควบคุมประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสื่อสาร และไม่พบว่ามีการประเมินผลโครงการรณรงค์ตามแผนประชาสัมพันธ์พระราชบัญญัติฯ
Other Abstract: The research is semi-qualitative type aiming at studying media utilization in the protection for motor vehicle accident victims act 1992 publicity campaign. The major findings could be concluded that the campaign mostly engage in the utilization of integrated media including mass media, PR media which is specialized media and personal media. Just like many other government initiative PR campaigns, this campaign owes a lot to the oblige of several mass media especially TV and radio. From media exposure survey among the adopters of the practice its major findings prove the competence of the campaign that 100% of the insurer who follows the practice in time and 92% of those who are unable to follow the practice in time expose to the media and the message. By details, among the insurer who practices in time, 74% acquire information from TV, 38% from radio, 56% from press and magazine. 54% from specialized media, whereas among those who do not practice in time, 86% acquire information from TV, 42% from radio, 76% from press and magazine, 36% from specialized media. The result of the survey enables the researcher to generalize that late practice is not the after effect of media exposure but may be due to some other variables far beyond those being studied. The weak point of the campaign is that the operation plan does not include evaluation which is the required final step to all PR work.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://ezproxy.car.chula.ac.th:2074/handle/123456789/47533
ISBN: 9745847747
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichuda_tr_front.pdf700.54 kBAdobe PDFView/Open
Wichuda_tr_ch1.pdf971.75 kBAdobe PDFView/Open
Wichuda_tr_ch2.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Wichuda_tr_ch3.pdf423.36 kBAdobe PDFView/Open
Wichuda_tr_ch4.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
Wichuda_tr_ch5.pdf882.45 kBAdobe PDFView/Open
Wichuda_tr_back.pdf8.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.