Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47670
Title: การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวกรรมของชาวบ้าน ในโครงการเตาแก๊สมูลสัตว์ ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
Other Titles: Media exposure and adoption of Bio-Gas project by the people of Takam Sub-District, Sam Phran District, Nakhon Pathom
Authors: วันชัย ธนะวังน้อย
Advisors: เสถียร เชยประทับ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ข่าวสาร
สื่อมวลชน
การแพร่กระจายนวัตกรรม
โครงการแตาแก๊สมูลสัตว์
ก๊าซมูลสัตว์
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเฉพาะกลุ่มชาวบ้านที่ยอมรับเตาแก๊สมูลสัตว์ จำนวน 50 ราย และกลุ่มตัวอย่างชาวบ้านที่ไม่ยอมรับเตาแก๊สมูลสัตว์อีก 100 ราย ในเขตโครงการเตาแก๊สมูลสัตว์ ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้ 1. เพื่อสำรวจสื่อที่เป็นแหล่งข่าวสารเตาแก๊สมูลสัตว์ของชาวบ้าน 2. เพื่อทราบความสัมพันธ์ของการยอมรับเตาแก๊สมูลสัตว์กับการเปิดรับข่าวสารเตาแก๊สมูลสัตว์จากสื่อเอกสารข้อความ สื่อแผ่นภาพโฆษณาการอบรม และสื่อบุคคล ตลอดจนความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ อันได้แก่ระดับการศึกษา ระดับรายได้ การมีตำแหน่งในหมู่บ้านและการมีลักษณะสากลหรือลักษณะระหว่างท้องถิ่นของชาวบ้าน 3. เพื่อทราบความแตกต่างระหว่างบทบาทของสื่อบุคคล สื่อเอกสารข้อความ สื่อแผ่นภาพโฆษณา และการอบรมที่มีผลต่อการยอมรับเตาแก๊สมูลสัตว์ของชาวบ้าน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบวัดครั้งเดียว (One-shot descriptive Study) โดยวิธีการสำรวจสนาม เครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ และใช้ค่าไค-สแควร์ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและความแตกต่างระหว่างบทบาทของสื่อซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปิดรับข่าวสารเตาแก๊สมูลสัตว์จากสื่อเอกสารข้อความมีความสัมพันธ์กับการยอมรับและไม่ยอมรับเตาแก๊สมูลสัตว์ของชาวบ้าน 2. การเปิดรับข่าวสารเตาแก๊สมูลสัตว์จากสื่อแผ่นภาพโฆษณาไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับและไม่ยอมรับเตาแก๊สมูลสัตว์ของชาวบ้าน 3. การเปิดรับข่าวสารเตาแก๊สมูลสัตว์จากการอบรมเรื่องเตาแก๊สมูลสัตว์มีความสัมพันธ์กับการยอมรับและไม่ยอมรับเตาแก๊สมูลสัตว์ของชาวบ้าน การเปิดรับข่าวสารเตาแก๊สมูลสัตว์จากสื่อบุคคลมีความสัมพันธ์กับการยอมรับและไม่ยอมรับเตาแก๊สมูลสัตว์ของชาวบ้าน 4. การเปิดรับข่าวสารเตาแก๊สมูลสัตว์จากสื่อบุคคลมีความสัมพันธ์กับการยอมรับและไม่ยอมรับเตาแก๊สมูลสัตว์ของชาวบ้าน 5. สื่อบุคคลมีบทบาทต่อการยอมรับเตาแก๊สมูลสัตว์ของชาวบ้านมากกว่าสื่อเอกสารข้อความ สื่อแผ่นภาพโฆษณา การอบรม และสื่ออื่น 6. ระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับและไม่ยอมรับเตาแก๊สมูลสัตว์ของชาวบ้าน 7. ระดับรายได้ไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับและไม่ยอมรับเตาแก๊สมูลสัตว์ของชาวบ้าน 8. การมีตำแหน่งในหมู่บ้านมีความสัมพันธ์กับการยอมรับและไม่ยอมรับเตาแก๊สมูลสัตว์ของชาวบ้าน 9. การมีลักษณะสากลหรือลักษณะระหว่างท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับการยอมรับและไม่ยอมรับเตาแก๊สมูลสัตว์ของชาวบ้าน ผลการวิจัยข้อ 1. ข้อ 3. ข้อ 4. ข้อ 5. ข้อ 8. และข้อ 9. เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนข้อ 2. ข้อ 6. และข้อ 7. ไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน
Other Abstract: The subjects of this research were a group of people who adopted the bio-gas and those who did not adopt it. The purposes of the study were: 1. To survey the media of bio-gas information. 2. To study the relationships between bio-gas adoption and media exposure such as personal media, printed media (leaflets and posters), training course. Besides, the relationships between bio-gas adoption and educational levels, income levels, title holdings in the village, and cosmopoliteness of the villagers were also examined. 3. To study the effects of personal media, printed media (leaflets and posters), training course, and other media on the adoption of bio-gas among the villagers. This research was a one-shot descriptive field study. Questionnaires were used to collect data. Percentage and chi-square test were employed to analyze the data. To compute these statistics, SPSS program was used. The results of the study were as follows: 1. There was a significant relationship between exposure to the leaflets containing bio-gas information and the adoption or not adoption of bio-gas of the villagers. 2. There was no significant relationship between exposure to the posters containing bio-gas information and the adoption or not adoption of bio-gas of villagers. 3. There was a significant relationship between exposure to bio-gas training course and the adoption or not adoption of bio-gas of the villagers. 4. There was a significant relationship between exposure to personal media and the adoption or not adoption of bio-gas of the villagers. 5. Personal media played more significant role on the adoption of bio-gas than leaflets, posters, training course, and other media. 6. There was no significant relationship between the levels of education and the adoption or not adoption of bio-gas of the villagers. 7. There was no significant relationship between the levels of income and the adoption or not adoption of the villagers. 8. There was a significant relationship between title holdings in the village and the adoption or not adoption of the villagers. 9. There was a significant relationship between cosmopoliteness and the adoption or not adoption of bio- gas of the villagers. Thus, we can conclude from the above results that hypotheses 1, 3, 4, 5, 8 and 9 were confirmed, and the rest were rejected.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47670
ISBN: 9745619752
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchai_tha_front.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_tha_ch1.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_tha_ch2.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_tha_ch3.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_tha_ch4.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_tha_ch5.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_tha_back.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.