Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47694
Title: | การศึกษาทางเศรษฐมิติว่าด้วยการปันส่วนสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย |
Other Titles: | An econometric study on credit rationing in Thai commerical banking system |
Authors: | สมพร ริมพะสุต |
Advisors: | เชาว์ เก่งชน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การปันส่วนสินเชื่อ สินเชื่อ -- อุปทานและอุปสงค์ ธนาคารพาณิชย์ -- ไทย ตัวแปรเศรษฐกิจมหภาค |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะวัดการปันสินเชื่อ ว่ายังมีอยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์หรือไม่ ภายหลังจากการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยเสรีของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยอาศัยวิธีการทางเศรษฐมิติในการศึกษา คือ วิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบธรรมดา และวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบสองขั้น จากผลการประมาณค่าสมการอุปสงค์และอุปทานสินเชื่อที่แท้จริง พบว่า อุปสงค์สินเชื่อที่แท้จริงไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่แท้จริง ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของอุปทานที่แท้จริง มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่แท้จริง ผลการประมาณค่าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การปันส่วนสินเชื่ออันเกิดจากการไร้ดุลยภาพของการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่แท้จริง จะมีผลกระทบต่ออุปทานสินเชื่อเป็นสำคัญ และเมื่อนำปริมาณการปันส่วนสินเชื่อ ที่คำนวณได้จากส่วนต่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานสินเชื่อที่แท้จริง เมื่อประมาณค่าด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบธรรมดา และวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบสองขั้น ไปทำการทดสอบทางสถิติ พบว่า ปริมาณการปันส่วนสินเชื่อที่คำนวณได้จากการประมาณค่าด้วยวิธีการทั้งสองไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ 99 เปอร์เซนต์ และเมื่อนำไปทำการทดสอบสมมติฐานการศึกษา พบว่า การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยเสรี ทำให้ปริมาณการปันส่วนสินเชื่อลดลง แสดงให้เห็นว่า ปริมาณปันส่วนสินเชื่อมีอยู่จริงในระบบการเงินของไทย และการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยเสรีของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมสามารถเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดได้อย่างสมบูรณ์ จะส่งผลให้มีการจัดสรรอุปทานสินเชื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับอุปสงค์สินเชื่อมากขึ้น ปริมาณการปันส่วนสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ลดลง ตลาดเงินมีแนวโน้มเข้าสู่ดุลยภาพมากขึ้น จากผลการศึกษาดังกล่าวนำไปทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุผลและผลว่า ปริมาณการปันส่วนสินเชื่อจะเป็นเหตุให้เกิดตัวแปรเศรษฐกิจ มหภาคหรือไม่ โดยตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคที่สนใจศึกษา ได้แก่ ปริมาณเงินดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ปริมาณการส่งออก และประมาณการนำเข้า ผลการศึกษาพบว่าปริมาณการปันส่วนสินเชื่อไม่เป็นเหตุให้เกิดตัวแปรเศรษฐกิจมหภาค ยกเว้นตัวแปรปริมาณเงิน |
Other Abstract: | This research aims to find out the existence of the credit rationing in the Thai commercial banking system after the implementation of the Bank of Thailand's policy on the loan rate liberalization. The study will apply econometric methodology. Namely, the ordinaly least squares and the two-stage least squares. The estimation of real demand and supply for loan model indicates that the real credit demand has no relationship with the real loan rate where as the real credit supply relates to the real loan rate in the same direction. The study points out that the credit rationing, which results from the disequilibrium of real loan rate adjustment, can significantly affect loan supply. Additionally, the amount of credit rationing, calculated from the differences between the real demand and real supply estimated by the ordinaly least squares and the two-stage least wquares, was tested, we found the results of both methods are not significantly different at 99% confident level. Furthermore, the hypothesis test shows that loan-rate liberalization policy reduces the amount of credit rationing significantly. This implies that credit rationing still exists in Thai financial system, and the Bank of Thailand's loan rate liberalizaing policy can affect the allocation of loan demand and supply. The more the amount of credit rationing decreases, the more money market tends to meet the equilibrium position. When a causality test between credit rationing and macro-economic variables including money supply, consumer price index, private investment index, quantity of export and emport is done, it is found that credit rationing is not the cause of all listed macro-economic variables, however, credit rationing is by the supply of money. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47694 |
ISBN: | 9746317679 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somporn_ri_front.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somporn_ri_ch1.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somporn_ri_ch2.pdf | 859.27 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somporn_ri_ch3.pdf | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somporn_ri_ch4.pdf | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somporn_ri_ch5.pdf | 641.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somporn_ri_back.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.