Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47695
Title: การใช้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มโดยเพื่อนเพื่อลดปัญหาการปรับตัวในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1
Other Titles: Use of peer group counseling for decreasing adjustment problems in college of first-year nursing students
Authors: สมพร รุ่งเรืองกลกิจ
Advisors: สุภาพรรณ โคตรจรัส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Supapan.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มโดยเพื่อนต่อการลดปัญหาการปรับตัวในมหาวิทยาลัย ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสมัครใจเข้ารับการปรึกษาจำนวน 20 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุม 10 คน และกลุ่มทดลอง 10 คน กลุ่มทดลองเข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มโดยเพื่อน เป็นเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1/½ ชั่วโมง รวมเป็นจำนวน ทั้งหมด 10 ครั้ง โดยมีนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการฝึกอบรมทักษะพื้นฐานการปรึกษาเป็นเวลา 30 ชั่วโมง เป็นผู้นำกลุ่ม 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดการปรับตัวในมหาวิทยาลัยที่ศรีสุรางค์ บรรหารสร้างขึ้น การวิจัยนี้ใช้การทดสอบแบบมีกลุ่มควบคุม โดยมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-Posttest Control Group Design) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยทดสอบความแตกต่างของคะแนนรวมในครั้งทดสอบก่อนการทดลองและคะแนน รวมทั้งทดสอบหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่าปัญหาการปรับตัวในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการปรึกษา เชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มโดยเพื่อนลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มโดยเพื่อนมีปัญหาการปรับตัวในมหาวิทยาลัยน้อยกว่ากลุ่มนักศึกษาพยาบาลที่ไม่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มโดยเพื่อนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of the research was to study the use of peer group counseling for decreasing adjustment problems in college of first-year nursing students. The subjects of the study were 20 volunteer first year nursing students of Khon Kaen University. Subject were randomly assigned to an experimental group and a control group, each group comprising 10 students. The experimental group participated in peer group counseling sessions for 5 weeks, 2 times per week, 1½ hours each time for a total of 10 times. The group leaders were 2 junior nursing students who received training in basic counseling skills for a total of 30 hours. The instrument used to measure adjustment problems in college was "The Adjustment Problem in College Inventory" constructed by Srisurang Bunhan. The randomized pretest-posttest control group design was used. The statistical method for data analysis was the t-test at the .05 level of significance. Result showed that: 1. The nursing students who underwent peer group counseling showed a significant decrease of adjustment problems. (p< .05) 2. The nursing students who underwent peer group counseling showed a greater decrease of adjustment problems than the students who did not. (p< .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47695
ISBN: 9745698725
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somporn_ru_front.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_ru_ch1.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_ru_ch2.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_ru_ch3.pdf891.13 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_ru_ch4.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_ru_ch5.pdf646.88 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_ru_back.pdf12.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.