Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47747
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพินท์ บุนนาค-
dc.contributor.advisorชำนาญ ประเสริฐช่วง-
dc.contributor.authorสดสวย คณาวัชรากุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-02T08:19:11Z-
dc.date.available2016-06-02T08:19:11Z-
dc.date.issued2532-
dc.identifier.isbn9745763403-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47747-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532en_US
dc.description.abstractในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และประชากร ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมอนามัยแม่ในชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ได้ดำเนินการสาธารณสุขมูลฐานแล้ว ซึ่งพฤติกรรมอนามัยแม่ในการศึกษาครั้งนี้ หมายถึงจำนวนครั้งในการไปรับบริการฝากครรภ์เมื่อตั้งครรภ์บุตรคนสุดท้าย โดยใช้ข้อมูลจากโครงการวิจัยผลกระทบของโครงการสาธารณสุขมูลฐานต่อชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ได้ดำเนินการสำรวจโดยสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร โดยได้รับการสนับสนุนทางด้านเงินจากองค์การ UNICEF ทำการเก็บข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน 2529 ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ สตรีที่มีอายุ 15-49 ปีที่สมรสแล้ว กำลังอยู่กินกับสามี หรือแยกกันอยู่ หม้าย หรือหย่าร้าง และเคยมีบุตร จึงมีจำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ 731 ราย ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัจจัยทางด้านการศึกษา แหล่งที่สตรีได้รับความรู้และคำแนะนำ อายุของสตรี และจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน มีอิทธิพลต่อการไปรับบริการฝากครรภ์ 4 ครั้งขึ้นไป กล่าวคือสตรีที่มีการศึกษาสูงไปรับบริการฝากครรภ์ 4 ครั้งขึ้นไปมากกว่าสตรีที่มีการศึกษาต่ำ สตรีที่ได้รับความรู้และคำแนะนำจากบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ไปรับบริการฝากครรภ์ 4 ครั้งขึ้นไปมากกว่าสตรีที่ไม่เคยได้รับความรู้และคำแนะนำ สตรีที่อายุน้อยไปรับบริการฝากครรภ์ 4 ครั้งขึ้นไปมากกว่าสตรีอายุมาก และสตรีที่มีบุตรมีชีวิตในปัจจุบันจำนวนน้อย ไปรับบริการฝากครรภ์ 4 ครั้งขึ้นไปมากกว่าสตรีที่มีบุตรมีชีวิตในปัจจุบันจำนวนมาก ในส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมอนามัยแม่ ในเรื่องจำนวนครั้งการไปรับบริการฝากครรภ์ 4 ครั้งขึ้นไป ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่รายได้ของครอบครัวและทัศนคติที่มีต่อบริการศูนย์สาธารณสุขกรุงเทพมหานคร พบว่า สตรีที่ครอบครัวมีรายได้สูงไปฝากครรภ์ 4 ครั้งขึ้นไปมากกว่าสตรีที่ครอบครัวมีรายได้ต่ำ และสตรีที่มีความพอใจต่อบริการศูนย์สาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ไปรับบริการฝากครรภ์ 4 ครั้งขึ้นไปมากกว่าสตรีที่แสดงความไม่พอใจต่อบริการศูนย์สาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และสุดท้ายคือ ปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมอนามัยแม่ในการไปรับบริการฝากครรภ์ โดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ได้แก่ สถานภาพการทำงานของสตรี พบว่า สตรีที่ทำงานและไม่ทำงาน ไปรับริการฝากครรภ์ในจำนวนที่ไม่แตกต่างกันen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to investigate socio-economic and demographic factors affecting the maternal behavior in the slums of Bangkok Metropolis. Maternal behavior in this study refers to number antenatal care (ANC) visits for her last birth. The source of data in this investigation is based on a survey “Impact of The Primary Health Care Program in The Slums of Bangkok Metropolis”, which is a joint project between The Institute of Population Studies, Chulalongkorn University and The Department of Health, Bangkok Metropolitant Administration (BMA), with the financial support from the UNICEF. The sample population in this study represents the women 15-49 years who have the children of their own, altogether the sample size used in the analysis is 731 cases. The finding from this study indicates that educational attainment, source of information, age of women and number of living children have relationship with the number of ANC visits as hypothesized. The data shows that women who are younger, having small number of living children, having higher education, and always received information from health personnel averagely visit ANC clinic 4 times or more. On the contrary, women who are older, have larger number of children, less education, and received information from other routes visit ANC clinic less often than the former groups. However, the study demonstrates that family income and attitude towards BMA health centers do not statistical significant in correlation with the visiting to ANC clinic. The finding also that women with higher family income, and women who satisfied with the service of BMA health centers will visit the ANC clinic more often than women of lower family income and women who have negative attitude towards the service of the BMA. The study also shows that no difference is found in ANC visits between women who work and who do not work. Also, the relationship was not statistical significant.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสตรีมีครรภ์en_US
dc.subjectการฝากครรภ์en_US
dc.subjectชุมชนแออัดen_US
dc.subjecturban areasen_US
dc.subjecthabitaten_US
dc.subjectsocietyen_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมอนามัยแม่ในชุมชนแออัด ในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeFactors affecting maternal behavior in the slums of Bangkok metropalisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประชากรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sodsuai_ka_front.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
Sodsuai_ka_ch1.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Sodsuai_ka_ch2.pdf929.26 kBAdobe PDFView/Open
Sodsuai_ka_ch3.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open
Sodsuai_ka_ch4.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Sodsuai_ka_ch5.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Sodsuai_ka_back.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.