Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47793
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorหรรษา อัศวเรืองชัย-
dc.contributor.authorสถาพร เกิดเกรียงไกร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-03T02:58:42Z-
dc.date.available2016-06-03T02:58:42Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745672394-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47793-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractเพื่อที่จะตรวจสอบหาปัจจัยในซีรัมลิงหางยาว (Macaca fascicularis) ที่ระยะต่าง ๆ ของการเจริญ 3 ระยะที่มีผลควบคุมคุณสมบัติทางไบโอและอิมมิวโนแอคทวิตีของ LH โดยตั้งแบบทดลองที่ใช้ซีรัมลิงที่ 6% จากระยะโตเต็มวัย (A) ระยะย่างเข้าวัยเจริญพันธุ์ (P) และระยะก่อนวัยเจริญพันธุ์ (I) ทั้ง 2 เพศ ตรวจสอบกับเซลล์ต่อมใต้สมองของหนูขาวเพศผู้ อายุ 23-25 วัน ที่เพาะเลี้ยงไว้ ภายหลังจากพรีอินคิวเบท 48 ชั่วโมง เริ่มต้นการทดลองไปอีก 3 วัน โดยเปลี่ยนอาหารเลี้ยงเซลล์ทุก 24 ชั่วโมง ตรวจหาระดับของ rLH ในอาหารเลี้ยงเซลล์ ด้วยวิธีไบโอเอสเสย์ (BA) และเรดิโออิมมิวโนเอสเสย์ (RIA) จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า กลุ่มควบคุมหลั่ง rLH ลงในอาหารเลี้ยงเซลล์โดยมีอัตราส่วน BA : RIA ประมาณ 0.9-1.8 ตลอด 3 วัน ที่ทำการเพาะเลี้ยงโดยมีค่าไบโอแอคติวิตีคงที่ แต่ค่าอิมมิวโนแอคติวิตีของ rLH ลดลงตามช่วงเวลาของการทดลอง กลุ่มทดลองติวิตีของ rLH ลดลงตามช่วงเวลาของการทดลอง กลุ่มทดลองที่ได้รับซีรัมจาก A O+ สามารถกระตุ้นไบโอแอคทิวิตี rLH ได้สูงที่สุด เป็นผลให้มีอัตราส่วน BA : RIA ของ rLH เพิ่มขึ้นในช่วง 5-18 ใน 3 วันของการทดลอง ซีรัม จากลุ่มอื่น ๆ ก็แสดงผลกระตุ้นไบโอแอคทิวิตี rLH เช่นกัน แม้จะกระตุ้นได้น้อยกว่า ส่วนซีรัมจาก I O+ ไม่มีผลต่อไบโอแอคทิวิตี rLH แต่อย่างใด การตรวจวัดหาปริมาณของสเตียรอยด์ในซีรัมของทุกกลุ่มอายุที่ใช้ในการทดลองแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับของเทสโทสเตอโรนต่อการกระตุ้นค่าไบโอแอคติวิตี rLH ส่วนการกระตุ้นค่าอิมมิวโนแอคทิวิตี rLH มีความสัมพันธ์ กับอัตราส่วนโปรเจสโรนต่ออีสโตรเจนที่ต่ำอยู่ในช่วง 4 ถึง 5 ซึ่งแสดงให้เห็นในกลุ่มที่ได้รับซีรัมจาก P O+ สเตียรอยด์ตัวอื่นหรืออัตราส่วนของสเตียรอยด์อื่นไม่มีความสัมพันธ์ต่อการกระตุ้นดังกล่าว การแยกส่วนของซีรัมโดยวิธีไดอะไลซีส พบว่าสเตียรอยด์ส่วนที่รวมกับโปรตีนในซีรัมที่รับผิดชอบต่อการหลั่ง rLH ที่มีค่า BA : RIA สูงคงที่ตลอดการทดลอง ส่วนไดอะไลเซทไม่พบว่ามีผลต่อ BA : RIA แต่อย่างใด ระดับเทสโทสเตอโรนเพียงลำพังสอดคล้องกับการเพิ่มความไวของเซลล์ต่อมใต้สมองต่อ GnRH (7.5x10-12 M.) ในการกระตุ้นไบโอแอคทิวิตี rLH ส่วน GnRH เพียงลำพังในอาหารเลี้ยงเซลส์สามารถไปเพิ่มการหลังอิมมิวโนแอคทิวิตี rLH จากเซลล์ต่อมใต้สมอง นอกจากนี้ปริมาณของอีสโตรเจนยังมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความไวของเซลล์ต่อมใต้สมองในการหลั่งอิมมิวโนแอคทิวิตี rLH ตอบสนองต่อ GnRH แต่การมีเทสโทสเตอโรนและโปรเจสเตอโรนในระดับสูงจะไปลดความไวของเซลล์ต่อมใต้สมองต่อ GnRH ที่ใช้กระตุ้น จากการศึกษานี้ทำให้ทราบถึงชนิดของสเตียรอยด์จากต่อมเพศหรืออัตราส่วนของสเตียรอยด์ในซีรัม ซึ่งได้แก่ เทสโทสเตอดรน อีสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ทั้งสามมีบทบาทในการควบคุมค่าไบโอและอิมมิวโนแอคทิวิตีของ LH โมเลกุลที่หลั่งจากเซลล์ต่อมใต้สมองทั้งทางตรงและทางอ้อม ผ่าน GnRH สเตียรอยด์ส่วนที่รวมอยู่กับพลาสมาโปรตีนยังรับผิดชอบต่อการรักษาค่าไอโอแอคทิวิตีของ LH ให้สูงอยู่ตลอด 3 วันของการเพาะเลี้ยงเซลล์ ซึ่งเป็นผลให้ค่า BA:RIA สูงอยู่ตลอด 3 วันนั่นเอง เนื่องจากอัตราส่วน BA : RIA ของ LH ถูกกำหนดตามค่าของสเตียรอยด์ และ/หรืออัตราส่วนของสเตียรอยด์ในระยะต่าง ๆ ของการเจริญดังกล่าว ค่าอัตราส่วน BA:RIA ของ LH นี้อาจเป็นเครื่องแสดงถึงสภาพทางสรีรวิทยาที่สำคัญ หรืออาจเป็นเครื่องบ่งบอกที่มีความหมายที่ดีเมื่อมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทางสรีรสภาพใด ๆ ซึ่งจะต้องศึกษาต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeTo determine factors in serum responsible for controlling LH bio and immunoactivities at 3 stages of reproductive life of Macaca fascicularis, monkey sera at 6% from adult (A), puberty (P) and immature (I) of both sexes were tested on 23-25 days old male rat pituitary cells in culture. Culture was performed for 3 days after 48 hrs. preincubation with media changed every 24 hrs. Rat LH (rLH) level in the medium was measured by mouse Leydic cells in vitro bioassay (BA) and radioimmunoassay (RIA). The results showed that BA : RIA ratio of rLH in non-treatment group secreted into culture medium was about 0.9-1.8 throughout 3 days with constant BA-activity, RIA-activity on the other hand, declined in time of culture. The A O+ serum gave the highes BA-rLH stimulation resulted in the increase in BA : RIA ratio ranging from 5-18 within 3 days. Sera from the other groups also showed increase in BA-activity although at the lower degree. The I O+ serum showed no effect. Steroid measurement of all sera pointed out that there was the direct relationship between testosterone level and the stimulation of BA-activity of rLH. Stimulation of RIA-activity was found related to the low ratio of progesterone to estrogen, ranging from 4 to 5 which was evidenced in the P O+ group. Other steroids or steroid ratios could not be related to changes in bio and immunoactivities of rLH molecule. Dialysis of serum showed that protein bound steroid was responsible for the constantly high BA : RIA ratio of secreted rLH. The dialysate did not modify BA :RIA ratio of rLH, however. The sensitization of pituitary cells to GnRH (7.5x10-12 M.) for the stimulation of BA-rLH release was also related to testosterone level in the serum. The presence of GnRH in culture medium prevented the decline of RIA-activity of rLH released by pituitary cells. Estrogen at the level higher than 1.08 10-15 M. was correlated well with the increase in degree of sensitization of pituitary cells to GnRH, in term of RIA-rLH activity release. High level of either testosterone or progesterone prevented the responsiveness of pituitary cells to GnRH for secreting RIA-rLH. In conclusion this study has shown that sex steroids namely testosterone, estrogen and progesterone, all plays important roles directly or indirectly via GnRH, in controlling BA and RIA activities of LH molecule secreted from pituitary cells. The steroids which bind to serum protein are responsible for maintaining high BA-LH throughout 3 days of culture resulting in high BA : RIA ratio. Since BA : RIA ratio of LH molecules is designated by these steroids and/or their ratios at each stages of animal development whether this ratio of LH could be used as an indication of any physiological relevant has yet to be determined.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโกนาโดโทรปินen_US
dc.subjectต่อมปิตูอิตารี, ฮอร์โมนen_US
dc.subjectเซรุ่มen_US
dc.subjectลูติไนซิงฮอร์โมนen_US
dc.subjectลิงหางยาวen_US
dc.titleผลของซีรัมลิงหางยาว (Macaca fascicularis) ต่อการเปลี่ยนโมเลกุลแอล-เอช (LH) ในรูปของไบโอแอคทีฟและอิมมิวโนแอคทีฟ จากเซลล์ต่อมใต้สมอง ของหนูขาวก่อนวัยเจริญพันธุ์ในหลอดทดลองen_US
dc.title.alternativeSerum factors in Macaca fascicularis on the change of bioactive versus immunoactive form of LH molecule from immature rat pituitary cell in vitroen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจุลชีววิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sathaporn_gi_front.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_gi_ch1.pdf990.86 kBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_gi_ch2.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_gi_ch3.pdf796.83 kBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_gi_ch4.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_gi_ch5.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_gi_back.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.