Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47827
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โสตถิธร มัลลิกะมาส | - |
dc.contributor.author | สุวารี ทรัพย์ประสม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-06-03T09:58:11Z | - |
dc.date.available | 2016-06-03T09:58:11Z | - |
dc.date.issued | 2536 | - |
dc.identifier.isbn | 9745834394 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47827 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536 | en_US |
dc.description.abstract | จากปัญหาการขาดแคลนพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ และไม่สามารถผลิตหรือรับพยาบาลใหม่เข้ามาทดแทนได้ทันเวลา จึงอาจจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลในระยะสั้นโดยการจ้างงานนอกเวลาจำนวนพยาบาลที่ทำงานอยู่ การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ถึงปัจจัยกำหนดอุปทานแรงงานล่วงเวลาของพยาบาลประจำการ : กรณีศึกษาในโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยการศึกษาทางเลือกในการตัดสินใจแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนและในแต่ละขั้นตอนแบ่งเป็น 2 ทางเลือกคือ ขั้นตอนแรกพยาบาลจะตัดสินใจเลือกระหว่างการทำหรือไม่ทำงานพิเศษ และขั้นต่อมาเป็นการตัดสินใจเลือกระหว่างการทำงานพิเศษในหรือนอกโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้ Binary Conditional Logit Model ในการวิเคราะห์ความน่าจะเป็นในการตัดสินใจเลือกทางเลือกดังกล่าว ข้อมูลที่ใช้ได้จากแบบสอบถามกับพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลรามาธิบดีทุกคนทั้งหมด 650 ราย และได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาเฉพาะฉบับสมบูรณ์นำมาวิเคราะห์ 551 ราย ผลการวิเคราะห์พบว่า อัตราค่าจ้างมีอิทธิพลทางบวกต่อความน่าจะเป็นในการตัดสินใจเลือกทำงานพิเศษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 1.38 แต่ในกรณีการตัดสินใจขั้นต่อมาพบว่าอัตราค่าจ้างไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกระหว่างการทำงานพิเศษในหรือนอกโรงพยาบาลรามาธิบดีปัจจัยมีอิทธิพลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการเลือกทำงานพิเศษได้แก่ ภาระที่ต้องผ่อนบ้าน ภาระที่ต้องให้ความอุปการะผู้อื่น และ ผู้ที่รายได้ครอบครับระดับต่ำ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางลบอย่างมนัยสำคัญทางสถิติต่อการเลือกทำงานพิเศษได้แก่อายุ สถานภาพสมรส การมีบุตรอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 ปี และผู้ที่ปฏิบัติงานในแผนกกุมารฯ อายุรกรรม ศัลยกรรมและสูติกรรม ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวกต่อการตัดสินใจเลือกทำงานพิเศษในโรงพยาบาลรามาธิบดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุ ปัจจัยที่มิอิทธิพลทางลบต่อการตัดสินใจเลือกทำงานพิเศษในโรงพยาบาลรามาธิบดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อัตราเงินเดือนจากการทำงานประจำ และภาระที่ต้องผ่อนบ้าน นอกจากนี้ การศึกษายังได้ทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองของความน่าจะเป็นในการตัดสินใจเลือกทำงานพิเศษต่อการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างในระดับต่าง ๆ พบว่า เมื่อกำหนดให้สิ่งอื่น ๆ คงที่ การเพิ่มค่าจ้างเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทดแทนแรงงานส่วนที่ขาดได้อย่างพอเพียง จึงมีข้อเสนอว่าควรใช้นโยบายค่าจ้างควบคู่ไปกับนโยบายอื่น ๆ ด้วย เช่น นโยบายการบริหารเวลา โดยให้มีความยืดหยุ่นของชั่วโมงทำงานและการจ้างงานเฉพาะช่วงเวลาที่มีความต้องการแรงงานสูงสุด ตลอดจนการจัดการด้านสวัสดิการต่าง ๆ เช่น บริการ Daycare Nursery ซึ่งอาจจะสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | Vacancy of nursing positions is a critical problem especially in government hospitals. Difficulties in recruiting and training new nurses may require new measures to solve such a problem in the short run. The overtime payment policy has been utilized to encourage existing nurses to work more hours. This study is to analyse the factors determining the overtime labor supply of staff nurses : a case study in Ramathibodi Hospital. Each nurse is assumed to make 2 choices : (1) whether to work overtime or not, then (2) given working overtime, whether to work in Ramathibodi Hospital or not. The study uses the binary conditional logit model to estimate the probability of those decisions. Out of total population of 650, 551 of current staff nurses in Ramathibodi Hospital returned completed questionaires. The results of the study indicate that the wage rate has a significantly positive effect on the probability of working overtime and the elasticity is 1.38. Whereas the wage rate does not significantly affect the probability of working overtime in Ramathibodi Hospital. In the first decision, factors that have a significantly positive effect are a burden of buying dwellings, supporting their relatives and low household’s income. Factors that have negative effect are age, marital status, nurses having young children under 3 years old and working in departments of Pediatrics, Medicine, Surgery and Obstetrics. The factor that has a significantly positive effect to the probability to choose to work overtime in Ramathibodi Hospital is age. The significantly negative effects are salary and a burden of buying dwellings. This study also tests the responsiveness of the probability to choose to work overtime to changes in wage rate. It is found that an increment in wage rate cannot be a sole instrument to solve the current problem. Thus, together with wage policy, optimum time management and other facilities such as daycare nursery are recommended. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | อุปทานแรงงานล่วงเวลาของพยาบาลประจำการ : กรณีศึกษาในโรงพยาบาลรามาธิบดี | en_US |
dc.title.alternative | The overtime labor supply of staff nurses : a case study in Ramathibodi Hospital | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sothitorn.M@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwaree_sa_front.pdf | 11.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwaree_sa_ch1.pdf | 17.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwaree_sa_ch2.pdf | 9.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwaree_sa_ch3.pdf | 13.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwaree_sa_ch4.pdf | 15.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwaree_sa_ch5.pdf | 14.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwaree_sa_ch6.pdf | 6.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwaree_sa_back.pdf | 13.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.