Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47871
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมั่นสิน ตัณฑุลเวศม์-
dc.contributor.authorสุมาลี เดโชพลชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-04T12:55:52Z-
dc.date.available2016-06-04T12:55:52Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745671371-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47871-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มของการกำจัดซิลิกาในน้ำด้วยวิธีตกผลึกทางเคมี สารเคมีที่ใช้คือ แมกนีเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคลอไรด์และอลูมินัมซัลเฟต ทำการทดลองแบบเทด้วยเครื่องมือจาร์ เทสต์ภายใต้สภาวะที่มีการควบคุมระดับพีเอชและความเข้มข้นของสารเคมีต่างๆ น้ำสังเคราะห์ที่ใช้ในการทดลองทุกครั้งกำหนดให้มีความเข้มข้นของซิลิกาคงที่เท่ากับ 60 มก/ล (1mM) ผลการทดลองพบว่าสารเคมีแต่ละชนิดมีพีเอชที่เหมาะสมในการกำจัดซิลิกาแตกต่างกัน และพีเอชเป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญตัวหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมการกำจัดซิลิกา พีเอชที่เหมาะสมสำหรับสารเคมีแต่ละชนิด คือ 10.5 สำหรับแมกนีเซียมคลอไรด์ 12.0 สำหรับแคลเซียมคลอไรด์ และ 7.5 สำหรับอลูมินัมซัลเฟต ยิ่งไปกว่านั้นผลการทดลองพบว่าปริมาณสารเคมีที่ใช้ไม่เป็นไปตามสตอยซิโอเมตริค เนื่องจากสารประกอบทั้ง 3 กำจัดซิลิกาด้วยกลไก 2 อย่าง คือ กลไกตกผลึกทางเคมีและกลไกดูดติดผิว ความเข้มข้นของสารเคมีที่ให้ผลในการกำจัดซิลิกาได้ 90% คือ 3.5 mM (710.5 มก/ล) สำหรับแมกนีเซียมคลอไรด์ 4.0 mM. (588 มก/ล) สำหรับแคลเซียมคลอไรด์ และ 2.0 mM. (1,188 มก/ล) สำหรับอลูมินัมซัลเฟต เมื่อทดลองใช้สารโพลีอีเล็คโทรไลต์ 3 ชนิด คือ ชนิดประจุบวก ประจุลบและชนิดไม่มีประจุ ที่ความเข้มข้นต่างๆ โยเติมลงไปร่วมกับสารเคมีทั้ง 3 ดังกล่าว พบว่าโพลีอีเล็คโทรไลต์ทั้ง 3 ไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพของการกำจัดซิลิกาแต่ช่วยเพียงในการสมานตะกอน ซึ่งยังผลให้ความเร็วของการตกตะกอนเพิ่มขึ้น สำหรับการทดลองใช้ปูนขาวปรับพีเอชแทนโซดาไฟ ผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าปูนขาวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการกำจัดซิลิกาเล็กน้อย แต่คุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะมีคุณภาพด้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสารประกอบทั้ง 3 ในด้านราคาสารเคมีและการนำไปใช้งาน สารประกอบแมกนีเซียมเหมาะสมที่สุดen_US
dc.description.abstractalternativeThis research was a study of silica removal potential form water by chemical precipitation. Chemical used were magnesium chloride, calcium chloride and aluminum sulphate. Jar tests were performed under various controlling conditions of pH levels and different chemical concentrations. In every experiments, raw water was synthesized to have constant silica concentration of 60 mg/L Sio2 (lmM). It was found that each chemicals had a different optimum pH was an important parameter in controlling silica removal. The optimum pH for each chemical was 10.5 for magnesium chloride, 12.0 for calcium chloride and 7.5 for aluminum sulphate. Furthermore results showed that chemical dosages did not follow stoichiometric equations since two different types of silica removal mechanism were expected, i.e., chemical precipitation and adsorption. The chemical concentration which yielded 90 percentage of silica removal was 3.5 mM (710.5 mg/L) for magnesium chloride, 4.0 mM (588 mg/L) for calcium chloride and 2.0 mM (1,188 mg/L) for aluminum sulphate. It was also found that cationic, anionic and nonionic polyelectrolytes did not significantly improve an efficiency of silica removal but produced better flocculation and faster settling. Finally when lime was used instead of sodium hydroxide for pH adjustment, insignificant increase in silica removal was obtained but however the quality of treated water was deteriorated. Cost analysis revealed magnesium compound to be best economically suitable for silica removal.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectซิลิกาen_US
dc.subjectการตกตะกอน (เคมี)en_US
dc.subjectแมกนีเซียมคลอไรด์en_US
dc.titleการกำจัดซิลิกาในน้ำด้วยวิธีตกผลึกทางเคมีen_US
dc.title.alternativeThe removal of silica in water by chemical precipitationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสุขาภิบาลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumalee_da_front.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_da_ch1.pdf546.46 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_da_ch2.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_da_ch3.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_da_ch4.pdf8.61 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_da_ch5.pdf931.53 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_da_back.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.