Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47882
Title: การควบคุมการจมไม่ลงของแอคติเวทเต็ดสลัดจ์ เนื่องจากจุลินทรีย์ที่เป็นเส้นใย โดยการสลับป้อนน้ำเสียเข้าถังเติมอากาศหกถัง
Other Titles: Control of activated sludge filamentous bulking by alternate feeding to six aeration tanks
Authors: สุรไชย ทักษิณวราจาร
Advisors: สุรพล สายพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- แอคติเวดเต็ดสลัดจ์
แบคทีเรีย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทดลองโดยใช้เครื่องทดลองขนาดห้องปฏิบัติการ พบว่ากรรมวิธีสลับป้อนน้ำเสียเข้าถังเติมอากาศ 6 ถัง เรียงลำดับจากถังแรกถึงถังสุดท้าย แล้วกลับมาเริ่มใหม่อีก เป็นกรรมวิธีที่สามารถนำมาใช้ควบคุมและแก้ไขปัญหาตะกอนจมไม่ลงในระบบแอคติเวทเต็ดสลัดจ์ได้ ผลการทดลองรวม 6 ครั้ง ในระยะเวลา 150 วัน พบว่ากรรมวิธีสลับป้อนน้ำเสียลงในถังเติมอากาศ 6 ถัง ที่สามารถรับภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 0.367 กรัม ซีโอดี / กรัม MLSS-วัน มีประสิทธิภาพในการลดซีโอดีได้ร้อยละ 95 ซึ่งใกล้เคียงกับกรรมวิธีป้อนน้ำเสียแบบผสมทั่วกัน (completely mixed) ในระบบแอคติเวทเต็ดสลัดจ์ เมื่อเปรียบเทียบการทำงานของกรรมวิธีสลับป้อนน้ำเสีย กับวิธีป้อนน้ำเสียแบบผสมกันทั่วถึงในระบบแอตติเวทเต็ดสลัดจ์ พบว่าตะกอนจุลินทรีย์ที่ได้จากกรรมวิธีสลับป้อนน้ำเสียมีค่าดรรชนีปริมาตรตะกอน (SVI) ต่ำ ซึ่งอยู่ระหว่าง 40 ถึง 80 มล/ก. ตลอดระยะเวลาการทดลอง 45 วัน แต่กรรมวิธีสลับป้อนน้ำเสียแบบผสมกันทั่วถึง ให้ค่าดรรชนีปริมาตรตะกอนสูงถึง 645 มล/ก เมื่อทำการทดลองได้เพียง 19 วัน ซึ่งแสดงว่ากรรมวิธีป้อนน้ำเสียสามารถควบคุมปัญหาตะกอนจมไม่ลงได้ ในขณะที่กรรมวิธีป้อนน้ำเสียผสมกันทั่วถึงไม่อาจควบคุมปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้กรรมวิธีสลับป้อนน้ำเสียยังสามารถควบคุมปัญหาตะกอนจมไม่ลงอย่างได้ผล โดยสามารถแก้ไขตะกอนจุลินทรีย์ซึ่งเคยประสบปัญหาตะกอนจมไม่ลง ให้กลัยคืนสู่ปรกติได้ในช่วงระยะเวลาเพียง 20 วัน ในการวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ค่าอัตราการใช้ออกซิเจนของตะกอนจุลินทรีย์ ซึ่งพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการใช้อ๊อกซิเจนกับเวลาในช่วงป้อนน้ำเสีย เป็นในรูปของสมการ power curve แต่ในช่วงหยุดป้อนน้ำเสีย ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการใช้ออกซิเจนกับเวลาเป็นในรูปของสมการ exponential curve ดังแสดงในผลการทดลอง
Other Abstract: This research work was studied on laboratory scale unit, It was found that the alternate feeding to six aeration tanks could be applied to control and solve the problem of filamentous bulking. Six experiment runs was conducted for 150 days, the results showed that the alternate feeding to six aeration tanks system at the organic loading of 0.36 gCOD/gMLSS-day had 95 percent COD removal, which was approximately to those of completely-mixed activated sludge system. When comparing between the alternate feeding and completely-mixed activated sludge system, it was found that the alternate feeding system had low SVI which varied between 40 to 80 ml/g, through 45 days of the experiment. While the completely-mixed activated sludge system showed the SVI value as high as 645 ml/g when the experiment had been performed for only 19 days. It was concluded that the alternate feeding system showed better results in controlling the filamentous bulking than completely-mixed activated sludge system. Further more, the alternate feeding system could solve the problem of filamentous bulking by bring the system back to normal condition within 20 days.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสุขาภิบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47882
ISBN: 9745625167
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surachai_ta_front.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_ta_ch1.pdf307.82 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_ta_ch2.pdf5.58 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_ta_ch3.pdf942.59 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_ta_ch4.pdf394.69 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_ta_ch5.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_ta_ch6.pdf213.44 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_ta_ch7.pdf184.53 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_ta_ch8.pdf225.38 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_ta_back.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.