Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47923
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มัทยา จิตติรัตน์ | - |
dc.contributor.author | ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-06-06T03:54:38Z | - |
dc.date.available | 2016-06-06T03:54:38Z | - |
dc.date.issued | 2539 | - |
dc.identifier.isbn | 9746342959 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47923 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 | en_US |
dc.description.abstract | การคุมประพฤติเป็นมาตรการทางกฎหมายที่มองไปยังอนาคตของนโยบายทางอาญาโดยมีความมุ่งหมายที่จะป้องกันสังคมจากอาชญากรรมอันเกิดจากการกระทำผิดซ้ำซึ่งผู้กระทำผิดจะต้องอยู่ภายใต้การสอดส่องดูแลของพนักงานคุมประพฤติการคุมประพฤติจึงเป็นทางเลือกอันชอบด้วยกฎหมายแทนการลงโทษจำคุกดังนั้นตัวของการคุมประพฤติเองจึงมิใช่การลงโทษที่มุ่งแก้แค้นหรือสร้างความเจ็บปวดให้ผู้กระทำผิดแต่เป็นวิธีการที่พยายามจะช่วยเหลือแก้ไขฟื้นฟูโดยมุ่งไปยัง “ตัวผู้กระทำผิด” มากกว่า “การกระทำผิด” แม้ว่าตัวของการคุมประพฤติเองจะมิใช่การลงโทษแต่กระบวนการแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับการคุมประพฤติอาจต้องใช้ทฤษฎีการลงโทษเข้าไปอธิบายและนำไปปรับใช้เพื่อเพิ่มระดับความเข้มของการบังคับใช้กฎหมายและเพื่อเพิ่มคุณภาพในการสอดส่องดูแลพฤติกรรมของผู้ถูกคุมความประพฤติหรือในกระบวนการเพิกถอนการคุมประพฤติ เช่น ความรวดเร็วในการจัดการกับบุคคลที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขการคุมความประพฤติ ความสม่ำเสมอในการบังคับใช้กฎหมาย การไม่ปล่อยให้ผู้กระทำผิดเงื่อนไขขั้นร้ายแรงลอยนวลอยู่ในชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากงานคุมประพฤติจำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของชุมชนเป็นหลักด้วย จากการวิจัยผู้ศึกษาพบว่าการแก้ไขผู้กระทำผิดภายใต้กระบวนการคุมประพฤตินอกจากจะต้องอาศัยหลักการทางจิตวิทยา สังคมสงเคราะห์หรือหลักการอื่นๆ แล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ หลักการทางกฎหมายที่ต้องมีความชัดเจนและมีมาตรการในการบังคับใช้เพียงพอ ซึ่งพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 ในปัจจุบันยังมีจุดอ่อนบางประการที่สมควรได้รับทบทวนและแก้ไขปรับปรุง เช่น การเพิ่มนิยามความหมายและของเขตของคำว่า “สืบเสาะและพินิจ” และ “สอดส่อง” การให้อำนาจพนักงานคุมประพฤติในลักษณะเดียวกับพนักงานสอบสวนเพื่อประสิทธิภาพในการค้นหา รวบรวมข้อมูลทั้งหลายให้ครบถ้วน เที่ยงตรงเพื่อรายงานศาลในกรณีสืบเสาะ และให้อำนาจพนักงานคุมประพฤติจับกุมผู้ถูกคุกคามความประพฤติซึ่งหลบหนีหรือฝ่าฝืนเงื่อนไขของศาลโดยให้นำตัวส่งศาลภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อให้สามารถควบคุมพฤติกรรมของผู้ถูกคุมความประพฤติรายนั้นให้อยู่ในกรอบของการมีพฤติกรรมที่พึงปรารถนาตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด อันจำทำให้การคุมความประพฤติผู้กระทำผิดได้ผลจริงจังในทางปฏิบัติ ขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยบทบาทหน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติในฐานะผู้แก้ไขฟื้นฟูและปรัชญาดั้งเดิมของการคุมประพฤติ อย่างไรก็ตามผู้ศึกษาเสนอว่าสิ่งสำคัญประการหนึ่งในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวก็คือจะต้องเป็นไปตามหลักกระบวนการนิติธรรมที่คำนึงถึงสิทธิของจำเลยและผู้ถูกคุมความประพฤติด้วย | en_US |
dc.description.abstractalternative | Probation is a legal measure visualizing the future of criminal policy, in order that crimes and recidivism can be prevented, under the supervision of probation officers. It is viewed as an alternative to institutional treatment, not punishment. In addition, the ideology of probation focuses on “the offender” rather than on “the offense”. Some theories of punishment may be implemented in the process of probation. For example, the increasing of legal sanctions with clear, swift and certain actions will generate the effective supervision for probationers violating probation conditions. This is one of the most crucial objectives of probation in order to protect the community. The results of this research show that the rehabilitation of probationers do not only depend upon the psychological and social work approach, but they also depend on the explicit legal provisions and new coercive measures in the probation law. In addition, the research illustrates that there are some other deficiencies lying behind the Probation Procedure Act in accordance with the Criminal Code B.E. 2522, Which should be revised. The researcher proposes the amendment of the Act such as, appending the definitions of “presentence investigation” and “probation supervision,” empowering a probation officer in the same manner as inquiry official and authorizing the officer to arrest the probationers violation conditions of probation upon warrant from the court, and taking them before the court within 24 hours. The mentioned revision would be the effective measures to control over probationers. Nevertheless, the probation officer must not neglect the role of the therapeutic agent and the traditional probation ideology. The researcher, moreover, recommends that the revision of the Act should be based on due process ideal protecting the rights of defendants and probationers. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พนักงานคุมประพฤติ -- อำนาจหน้าที่ | en_US |
dc.subject | กระบวนการยุติธรรมทางอาญา | en_US |
dc.title | แนวทางการปรับปรุงแก้ไขอำนาจหน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติ | en_US |
dc.title.alternative | Revision of power and responsibility of probation officer | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Mattaya.J@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sakchai_le_front.pdf | 851.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sakchai_le_ch1.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sakchai_le_ch2.pdf | 5.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sakchai_le_ch3.pdf | 3.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sakchai_le_ch4.pdf | 5.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sakchai_le_ch5.pdf | 3.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sakchai_le_back.pdf | 5.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.