Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47997
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานพ พงศทัต-
dc.contributor.authorสุมน โรจนะสิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-07T00:20:30Z-
dc.date.available2016-06-07T00:20:30Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745646784-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47997-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en_US
dc.description.abstractความเจริญของกรุงเทพมหานครที่ผ่านมาเป็นลักษณะการเจริญเติบโตแบบยถากรรม ซึ่งแตกต่างกับมหานครอื่นๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกาและประเทศเอเชียบางประเทศ เป็นการเจริญเติบโตที่ขาดการควบคุมวางกำหนดกฏเกณฑ์ทางผังเมืองขาดการกำหนดนโยบายเพื่อวางแผนพัฒนาให้เป็นไปตามทิศทางที่ต้องการ ทำให้เกิดปัญหาของเมืองต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตชั้นใน เขตสัมพันธวงศ์เป็นเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับเกาะรัตนโกสินทร์ตอนใต้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองหลวง เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เป็นชุมชนของชาวจีนมาตั้งแต่อดีตนับเป็นชุมชนแรก เริ่มทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างกับชุมชนอื่นๆ กล่าวคือการรวมตัวกิจกรรมประเภทเดียวกันเป็นย่านๆ กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นประเภทพาณิชยกรรม ประชากรอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น จัดเป็นที่ 3 รองจากเขตป้อมปราบ ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานที่เหมาะสมทางผังเมือง ความแออัดของประชากรและสิ่งก่อสร้างในพื้นที่จำกัด จนขาดที่เว้นว่างชุมชนไม่สามารถขยายตัวออกไปได้อีกแล้ว สร้างปัญหาให้กับสังคมเมืองในปัจจุบันอย่างมากมายนานัปการ สมควรได้มีการวางแผนพัฒนาพื้นที่ใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และชีวิตความเป็นอยู่ของประชากร ประกอบกับอาคารสิ่งก่อสร้างชำรุดทรุดโทรมหรือหมดสภาพมากมาย และส่วนบริการสาธารณะเช่น ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ท่อระบายน้ำ ขาดการวางแผนมาเป็นระบบที่ดีตั้งแต่แรกเริ่มทำให้เขตสัมพันธวงศ์เป็นชุมชนที่ขาดคุณภาพทางทัศนภาพ อย่างไรก็ตามหากได้มีการวางแผนปรับปรุงฟื้นฟูตามหลักวิชาผังเมืองอย่างถูกต้องเสียแต่บัดนี้ และดำเนินการอย่างจริงจัง จะทำให้ชุมชนเขตสัมพันธวงศ์เป็นชุมชนที่น่าอภิรมย์อีกครั้งหนึ่ง เป็นแบบฉบับของเขตชั้นในอื่นๆ ในการพัฒนาต่อไป ด้วยเหตุที่เขตสัมพันธวงศ์ เป็นศูนย์กลางแห่งธุรกิจการค้ามาเป็นเวลานาน การใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารจึงเป็นไปในทางเศรษฐกิจมากกว่าทางคุณภาพทางทัศนียภาพ ราคาที่ดินมีราคาสูงมากขึ้นทุกที ในการวางแผนพัฒนาเมืองได้พิจารณาองค์ประกอบทางด้านศักยภาพของพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ที่เกี่ยวกับพื้นที่ คือ 1. แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2525 – 2529) ได้กำหนดนโยบายที่จะพัฒนาชุมชนสมบูรณ์แบบในเมืองและชานเมืองด้วย การปรับปรุงย่านการค้าและที่พักอาศัยในเขตชั้นใน และบูรณะปรับปรุงอาคาร สถานที่หรือบริเวณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และอาคารใกล้เคียง 2. โครงการพัฒนาของรัฐ หรือเอกชน ที่เกี่ยวพันกับพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ ได้แก่โครงการระบบไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายดาวคะนอง สะพานพุทธ มักกะสัน ซึ่งมีเส้นทางบางส่วนผ่านเขตสัมพันธวงศ์ และมีสถานีรับส่งผู้โดยสารในเขตพื้นที่ อันเป็นทำให้การใช้ที่ดินบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป โครงการสถานีขนส่งสินค้าชานเมือง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด โดยจะไม่ให้รถบรรทุกขนาดใหญ่เข้ามาในเมือง ซึ่งมีผลกระทบต่อบริเวณย่านถนนทรงวาดอันเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าในปัจจุบัน ทำให้การใช้ที่ดินต้องเปลี่ยนแปลงไป โครงการปรับปรุงตัดถนนให้มีในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ของกรุงเทพมหานครคือถนนเชื่อมต่อระหว่างถนนเยาวราชกับถนนทรงวาด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินขึ้น และห้างสรรพสินค้าที่เกิดใหม่ ย่านถนนเยาวราช เช่น ห้างสรรพสินค้าคาเธ่ย์ อันมีผลทำให้ร้านค้า ย่อยหลายแห่งต้องล้มเลิกกิจการไปมีการเปลี่ยนแปลงใช้ที่ดิน 3. สภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม ของเขตสัมพันธวงศ์ได้วิเคราะห์การกระจุกตัวทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สถาบันการเงิน กลุ่มการค้าและธุรกิจสำคัญ อาคารกิจการค้าและธุรกิจขนาดใหญ่ บริเวณที่มีการกระจุกตัวทางเศรษฐกิจมากที่สุดอยู่ในแขวงจักรวรรดิ์เองลงมาเป็นแขวงสัมพันธวงศ์ นอกจากนี้ได้พิจารณาถึงรายได้จากภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อพิจารณาความเปลี่ยนแปลงกิจกรรมในพื้นที่ 4. การใช้ที่ดินไม่เต็มตามประสิทธิภาพ ซึ่งพิจารณาจากขนาดแปลงที่ดิน การถือครองราคาที่ดิน ความหนาแน่นอาคาร และสัดส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน โดยคำนึงถึงผลตอบแทนสูงสุดเท่าที่ควรจะเป็น แนวทางพัฒนาพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์จำเป็นต้องดำเนินการทั้ง 3 ลักษณะคือ การอนุรักษ์ (preservation) การปรับปรุง (Rehabitation) และการรื้อสร้างใหม่เนื่องจากเขตสัมพันธวงศ์มีทั้งอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นศาสนสถาน และมีทั้งบริเวณที่มีศักยภาพสูง และศักยภาพต่ำ โดยวิเคราะห์จากองค์ประกอบต่างๆ เช่น สภาพอาคาร การเข้าพื้นที่ และความหนาแน่นอาคาร เป็นต้น จากการวิเคราะห์เพื่อการดำเนินการปรับปรุงได้กำหนดนโยบายที่สำคัญไว้ให้พื้นที่เขตสัมพันธวงศ์มีการใช้ที่ดินเป็นลักษณะผสมของกิจกรรมประเภทพาณิชยกรรมและพักอาศัย ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงศูนย์พาณิชยกรรมให้เป็นลักษณะสมบูรณ์แบบ ลดความหนาแน่นอาคาร ส่งเสริมให้มีที่ว่างมากขึ้น และอนุรักษ์บูรณะปรับปรุงอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ จากนโยบายดังกล่าว ได้กำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องในการพัฒนาไว้คือ วางแนวทางการใช้ที่ดินให้คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ มีความสอดคล้องและสนองความต้องการของชุมชน สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มกิจการค้า ธุรกิจที่สำคัญ จัดระบบการจราจรให้เหมาะสมและคล่องตัว เสริมสร้างสภาพแวดล้อมในพื้นที่ให้ดีขึ้น มีที่ว่างในชุมชนมากขึ้น และส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และบูรณะปรับปรุง การวางแผนพัฒนาเขตสัมพันธวงศ์ จากผลการศึกษานี้ ประโยชน์ที่จะได้รับคือ เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล ด้านภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีการค้า ภาษีเงินได้บุคคล ทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้น การบริการสาธารณะอย่างมีระบบ ลดความแออัดของอาคาร มีที่ว่างเพิ่มมากขึ้นและทำให้ชุมชนเกิดสภาพแวดล้อมที่ดี อันที่ผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนดีขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับปรุงฟื้นฟูที่เขตสัมพันธวงศ์จะบรรลุเป้าหมายได้ จะต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐบาลและภาคเอกชน และจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติผังเมืองพ.ศ. 2518 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2484 และพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดเป็นต้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe growth of Bangkok Metropolitan in the past was the haphazard growth. This makes Bangkok differ from other big cities in Europe, U.S.A. and some countries in Asia. This kind of growth lacks of standard measures and directive policy which creates many problems to the city especially the inner areas. Samphanthawong District, the inner areas, was established at the Rattanakosin era. It situates next to the southern part of Rattanakosin area as close as a part of it. The Chinese who was the first community in this area started the special activity of economic mostly on commercialization. This creates may problems to the society due to the overpopulation which rates the third rank next to Pom-Prab District. The dense constructions in the limited area as well as the destructive buildings make Samphanthawong District lack of visual quality and infrastructure. Hence, it is about time to set a new plan and redevelopment according to the proper city planning to improve the condition and standard of living. This will make Samphanthawong District the best home-base for community and be a master plan for development of the other inner areas in the near future. As Samphanthawong District is the centre for commercial business for a long period of time. The land-use and the type of buildings are mostly for economic concern more than for visual quality make the price of land very expensive nowadays. To set a new plan for Samphanthawong District, the potential to be considered are as follows :- 1. The second development plan for Bangkok Metropolitan (B.E. 2525-2529) had determined the policy for perfect community in urban and suburban areas, the improvement of business and residential areas in the inner areas as well as the restoration of historical areas. 2. The public or private development projects which relate to Samphanthawong District such as Electrical Mass Transit Project-Dawnkanong-King Rama I Bridge-Makkasan has the partial route through Samphanthawong District and the depot in this area causes the change of land-use. The Suburban Cargo-Depot Project according to the Fifth Social and Development Plan to solve the traffic-jam by by –pass the heavy-trucks to get into the city effects the present cargo-depot in Song Vad District and also changes the land-use. The connection of Song-Vad Road and Yawarad Road makes a change of land-use and the construction of new department store in Yawarad Area cause the close of the smaller shops and again changes the land-use. 3. The social and economic status of Samphanthawong District shows the economic agglomeration i.e. financial institution, important business and commercial groups large scale business and commercial buildings which mostly agglomerate in Jakrawad District and Samphanthawong District respectively. Also, there is a consideration on tax’s income as an indicator for the change of activities in the areas. 4. Unefficient land-use can be considered by the size of the piece of land, the occupation, the price of the land, the density of the building and ratio of total building area to the piece of land which base on the maximum benefit. Three modes of development for Samphanthawong District are preservation, rehabitation and reconstruction. As Samphanthawong District is the area where most of valuable historical buildings had benn built mostly are for religion. To improve Samphanthawong District, which comprises of high and low potentials, to be the more developed area; it should be the mixed type land-use for both commercial and residential, the promotion of the perfect commercial centre, the decrease the dense buildings, the promotion of more land-space and the preservation of the historical buildings. To follow this goal, there should be policy for efficient land-use, the response to community’s need, the support for commercial and business agglomeration, the good traffic system, the strengthening of better environment, the increase of land-space in community and the promotion of preservation and rehabilation. The advantages from this study for development Plan of Samphanthawong District are as follows:- -toincrease government income tax – to improve the traffic system –to systemize the infrastructure – to decrease the building’s density and create more space and better visual quality and better living. However, to accomplish this goal, there must be the mutual cooperation between public and private sectors to implement the project following to City Planning Act B.E. 2518 and related Laws such as Building Central Act., Public Health Act and Public Cleansing Act.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการใช้ที่ดินen_US
dc.subjectสัมพันธวงศ์ (กรุงเทพฯ)en_US
dc.subjectผังเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectagricultural productionen_US
dc.titleการศึกษาการใช้ที่ดินเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนา เขตสัมพันธวงศ์en_US
dc.title.alternativeA land use guideline survey for the development plan of Samphanthawong Districten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorManop.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumon_ro_front.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_ro_ch1.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_ro_ch2.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_ro_ch3.pdf12.43 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_ro_ch4.pdf23.08 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_ro_ch5.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_ro_ch6.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_ro_ch7.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_ro_ch8.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_ro_back.pdf4.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.