Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48001
Title: ความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติของการกำจัดความขุ่น โดยกระบวนการสร้างเม็ดตะกอนแบบไหลขึ้น สำหรับน้ำดิบความขุ่นต่ำ
Other Titles: Practicality of turbidity removal by the upflow pelletization process for low-turbidity raw water
Authors: สุรเชษฎ์ พลวณิช
Advisors: ธงชัย พรรณสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thongchai.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กระบวนการสร้างเม็ดตะกอนแบบไหลขึ้นเป็นกระบวนการกำจัดความขุ่นโดยการสร้างเม็ดตะกอนที่มีน้ำหนักสูง จมตัวได้ดี ทำหน้าที่ดักจับอนุภาคของความขุ่น ในการศึกษานี้ได้น้ำดิบจริงที่โรงงานผลิตน้ำบางเขน ซึ่งมีความขุ่นแปรตามสภาพสนาม ในที่นี้ได้ใช้สารส้มเหลวเป็นโคแอกกูแลนต์ ปริมาณความเข้มข้นของสารส้มที่ใช้จะแปรผันตามสภาพสนามเพื่อที่จะผลิตน้ำคุณภาพสูง ร่วมกับโพลีเมอร์ประจุลบโพลีเมอร์ไม่มีประจุ และโพลีเมอร์ประจุบวกเป็นโคแอกกูแลนต์ และ/หรือ โคแอกกูแลนต์เอด ที่ความเข้มข้น 0.3 มก./ล. การทดลองได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงกล่าวคือ ช่วงที่ 1 เป็นทดลองช่วงสั้น ( 6 ชม./ ครั้ง) เพื่อหาปริมาณความเข้มข้นของสารส้มและความเร็วน้ำไหลขึ้นที่เหมาะสม และนำไปประยุกต์ใช้กับการทดลองช่วงที่ 2 ต่อไป ช่วงที่ 2 เป็นการเดินระบบช่วงยาวนาน 72 ชม./ครั้ง เพื่อศึกษาสมรถนะ ผลกระทบ และประสิทธิภาพของระบบเมื่อเดินระบบเป็นเวลานาน โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำดิบและน้ำผลิต รวมทั้งได้เก็บตัวอย่างเม็ดตะกอนเพื่อนำมาวิเคราะห์หาค่าความขุ่น พีเอช สภาพด่างและความเข้มข้นของของแข็งแขวนลอย เพ่อนำมาหาขนาดและความเร็วในการจมตัวของเม็ดตะกอนที่ระดับ 130 ซม. ด้วย จากการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการสร้างเม็ดตะกอนแบไหลขึ้นนี้สามารถผลิตน้ำที่มีคุณภาพสูงได้ (5 เอ็นทียู) ภายในเวลา 13 นาที นับจากน้ำดิบเริ่มเข้าสู่ระบบจนเป็นน้ำผลิตออกจากระบบไป 2. ปริมาณสารส้ม 0, 10, 15, 20 และ 25 มก./ล. ที่ใช้ในกระบวนการผลิต คุณภาพน้ำผลิตที่ได้มีความแปรผันตรงกับปริมาณสารส้มที่ใช้ 3. โพลีเมอร์ไม่มีประจุและประจุบวกปริมาณ 0.3 มก./ล. สามารถผลิตที่มีคุณภาพและความเร็วในการจมตัวของเม็ดตะกอนสูงกว่ากรณีใช้โพลีเมอร์ประจุลบปริมาณ 0.3 มก./ล. เป็นโคแอกกูแลนต์ และ/หรือ โคแอกกูแนต์เอด 4. สารส้มอาศัยกลไกการดูดผิว ทำลายประจุ หรือการห่อหุ้มอนุภาคด้วยผลึกในการทำงานเสถียรภาพของอนุภาคคอลลอยด์ ในขณะที่โพลีเมอร์ประจุลอาศัยกลไกการต่อเชื่อมอนุภาคด้วยสารโครงสร้างโมเลกุลของโพลีเมอร์เอง โพลีเมอร์ไม่มีประจุอาศัยกลไกการต่อเชื่อมร่วมกับการสะเทินประจุ และโพลีเมอร์ประจุบวกอาศัยกลไกการดูดติดผิว การสะเทินประจุ และการต่อเชื่อมด้วยสายโครงสร้างโมเลกุลของโพลีเมอร์เอง
Other Abstract: The upflow pelletization process is a turbidity removal process performance in a pellet reactor. The turbidity particles in raw water were trapped in the reactor of high weights and high settling velocities. In this study, the turbidity particles in raw water (feed at Bangkhaen water treatment plant) varying according to conditions of testing area were destabilized by alum as coagulant in a rapid mixing unit. In addition different types of polymers such as anionic nonionic and cationic polymers were added at fixed dose of 0.3 mg./l. as coagulant and /or coagulant aid. Experiments were made at two intervals ; 1. short run experiments of six hours, with samplings being taken to analyze appropriate alum doses and upflow velocities in the reactor, 2. long run experiments of 72 hours with samplings being taken to analyze values of turbidity, pH, alkalinity, suspension solid concentration, pellet diameter and setting velocities at level 130 cm, effect and efficiency of the process. Conclusion 1. The upflow pelletization process could treat high quality water (5 NTU) within 13 minutes (from raw water coming in rapid mixing unit to treated water out of the process) 2. Alum doses : 0, 10, 15, 20 and 25 mg./l., quality of water directly varied according to the alum doses. 3. Fixed polymer dose of 0.3 mg./l., nonionic and cationic polymers could treat pellet-flocs higher weights and settling velocities than anionic polymer’s 4. Alum could destabilize colloids by adsorption/charge neutralization or sweep coagulation; anionic polymer by bridging and its high molecular weight/chain structure; nonionic polymer by charge neutralization and its high molecular weights/chain structure; and cationic polymer by adsorption/charge neutralization and its high molecular weights/chain structure.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48001
ISBN: 9746345915
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surachet_po_front.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open
Surachet_po_ch1.pdf262.22 kBAdobe PDFView/Open
Surachet_po_ch2.pdf351.81 kBAdobe PDFView/Open
Surachet_po_ch3.pdf5.42 MBAdobe PDFView/Open
Surachet_po_ch4.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Surachet_po_ch5.pdf35.62 MBAdobe PDFView/Open
Surachet_po_ch6.pdf356.5 kBAdobe PDFView/Open
Surachet_po_ch7.pdf245.19 kBAdobe PDFView/Open
Surachet_po_back.pdf14.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.