Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48038
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
dc.contributor.authorสุคนธ์ แสงสุข
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2016-06-07T04:07:29Z
dc.date.available2016-06-07T04:07:29Z
dc.date.issued2533
dc.identifier.isbn9745774278
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48038
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับจุดศูนย์ถ่วงของร่างกาย โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายกับ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก และ เปรียบเทียบระดับจุดศูนย์ถ่วงระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีกระดานปฏิกิริยา (Reaction Board) ในระนาบขนานขอบฟ้า (Horizontal Plane) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติ จากคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับสังคมศาสตร์ (Statistical Package for the Social Science Version X : SPSSx เพื่อหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่ามัชฌิมเลขคณิตของระดับจุดศูนย์ถ่วงระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงด้วยการทดสอบค่า "ที" (t-test) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับจุดศูนย์ถ่วงร่างกาย กับ อายุ ส่วนสูง และ น้ำหนัก ด้วยค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficients) ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยระดับจุดศูนย์ถ่วงร่างกายของนักเรียนชายสูง 55.90 เปอร์เซ็นต์ นักเรียนหญิง 54.59 เปอร์เซ็นต์ 2. ค่าเฉลี่ยระดับจุดศูนย์ถ่วงร่างกายของนักเรียนชายสูงกว่านักเรียนหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ระดับจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายไม่มีความสัมพันธ์กับอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ระดับจุดศูนย์ถ่วงของร่างกาย มีความสัมพันธ์กับส่วนสูง และน้ำหนัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study height level of body's center of gravity (CG.) by finding relating among level of body's center of gravity (CG.), age, height, weight and to compare body's center of gravity (CG.) between male and female students. Two hundred male and two hundred female students of the upper secondary school in Bangkok Metropolis were the samples of the study. They were detected their weight in horizontal plane by Reaction Board then used each of their weight to calculate level of body's center of gravity (CG.), mean (X̅), standard deviation (SD), t-test and Pearson Correlation Coefficient (r). The results showed that : 1. The average CG. Level of male students was 55.90% and the females was 54.59%. 2. The average CG.level of male students was significantly higher than the females at the .05 level. 3. There was no a significant relationship between age and CG at the .05 level. 4. There were significant relationships among CG.with height and GC. With weight at the .05 level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการทรงตัวen_US
dc.subjectความสามารถทางกลไกen_US
dc.subjectวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวen_US
dc.subjectการเคลื่อนไหวของมนุษย์en_US
dc.titleการศึกษาระดับจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeA study of height level of the body's center of gravity of the upper secondary school students, Bangkok Metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThanomwong.K@Chula.ac.th
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukon_sa_front.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Sukon_sa_ch1.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Sukon_sa_ch2.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Sukon_sa_ch3.pdf689.48 kBAdobe PDFView/Open
Sukon_sa_ch4.pdf576.98 kBAdobe PDFView/Open
Sukon_sa_ch5.pdf892.22 kBAdobe PDFView/Open
Sukon_sa_back.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.