Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48047
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย กาญจนวาสี-
dc.contributor.advisorถกล นิรันดร์ศิโรจน์-
dc.contributor.authorลัดดา ด่านวิริยะกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-07T05:30:40Z-
dc.date.available2016-06-07T05:30:40Z-
dc.date.issued2537-
dc.identifier.isbn9745838594-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48047-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้รวมของประสิทธิภาพการมัธยมศึกษาตอนต้นในด้านการจัดการศึกษาความเสมอภาคทางการศึกษาทรัพยากรทางการศึกษาและความสูญเปล่าทางการศึกษาข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยดัชนีเดี่ยวด้านการศึกษา 10 ตัวด้านความเสมอภาคทางการศึกษา 10 ตัว ด้านทรัพยากรทางการศึกษา 22 ตัวและด้านความสูญเปล่าทางการศึกษา 6 ตัว การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมกระทำโดยการวิเคราะห์ตัวประกอบสะกัดตัวประกอบแบบภาพพจน์ และหมุนแกนตัวประกอบแบบออโธกอนอลด้วยวิธีวาริแมกซ์ เปรียบเทียบตัวบ่งชี้รวมของประสิทธิภาพการมัธยมศึกษาเป็นรายด้านด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวตามขนาดของโรงเรียนและวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างตัวบ่งชี้รวมทั้ง 7 ตัวกับคะแนนมาตรฐานโรงเรียน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวบ่งชี้รวมของประสิทธิภาพการมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นรายด้านประกอบด้วย 1.1 ตัวบ่งชี้รวมของประสิทธิภาพด้านการจัดการศึกษา มี 2 ตัว ได้แก่ ภาวการณ์สอนและการสะพัดและคงอยู่ของนักเรียน ม. ต้น 1.2 ตัวบ่งชี้รวมของประสิทธิภาพด้านความเสมอภาคทางการศึกษา มี 1 ตัว ได้แก่สภาพการเป็นโรงเรียนในเขตเมืองและการแข่งขันของการรับนักเรียนเข้าใหม่ 1.3 ตัวบ่งชี้รวมของประสิทธิภาพด้านทรัพยากรทางการศึกษามี 2 ตัวได้แก่สภาพความต้องการของโรงเรียนและปัจจัยสนับสนุนคุณภาพการสอน 1.4 ตัวบ่งชี้รวมของประสิทธิภาพด้านความสูญเปล่าทางการศึกษามี 2 ตัว ได้แก่ สภาพการไม่สำเร็จการศึกษาและสภาพการออกกลางคัน 2. เมื่อเปรียบเทียบตัวบ่งชี้รวมของประสิทธิภาพการมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นรายด้านแต่ละตัวมีความแตกต่างกันตามขนาดของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ตัวบ่งชี้รวมของประสิทธิภาพการมัธยมศึกษาตอนต้น 5 ตัว ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กับคะแนนมาตรฐานโรงเรียนได้แก่ ตัวบ่งชี้รวมสภาพการเป็นโรงเรียนในเขตเมืองและการแข่งขันของการรับนักเรียนเข้าใหม่ตัวบ่งชี้รวมการสะพัดและคงอยู่ของนักเรียน ม.ต้น ตัวบ่งชี้รวมสภาพความต้องการของโรงเรียนตัวบ่งชี้รวมภาระการสอนและตัวบ่งชี้รวมสภาพการออกกลางคันen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to develop the composite indicator of secondary school efficiency concerning educational management, educational equality, educational resources and educational wastage. Data consisted of 10 single indicators in educational management, 10 single indicators in educational equality, 22 single indicators in educational resources, and 6 single indicators in educational wastage. Factor analysis method by Image factoring and Varimax rotation method was used to find the composite indicators. Comparing composite indicators among school of different sizes, one - way analysis of variance was used and compare the effect on the score of school standard, correlation analysis was employed. The major findings were as follows: 1. Composite indictors of secondary education efficiency consisted of 7 indicators. 1.1 2 composite indicators educational management were teaching loading, and student’s promotion and retiantion. 1.2 1 composite indicator educational equality was urbanization of school and competitive situation in student recruitment. 1.3 2 composite indicators educational resources were factor concerning school’s needs, and factor supporting teaching quality. 1.4 2 composite indicators education wastage were ungraduated situation, and student’s drop out situation. 2. Composite indicators of secondary education efficiency among school of different size were significantly different at .05 level. 3. 5 composite indicators of secondary education efficiency had significantly effected on the score of school standard at .01 level. They were urbanization of school and competitive situation in student recruitment student’s promotion and retiantion, factor concerning school’s needs, teaching loading, and student’s drop out situation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตัวบ่งชี้ทางการศึกษาen_US
dc.subjectการศึกษาขั้นมัธยม -- ไทยen_US
dc.titleการพัฒนาตัวบ่งชี้รวมของประสิทธิภาพการมัธยมศึกษาตอนต้นen_US
dc.title.alternativeThe development of composite indicator of secondary education dfficiencyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSirichai.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ladda_da_front.pdf880.5 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_da_ch1.pdf872.69 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_da_ch2.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_da_ch3.pdf882.67 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_da_ch4.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_da_ch5.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_da_back.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.