Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48063
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเยาวดี วิบูลย์ศรี-
dc.contributor.authorวิชุดา บัวคง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-07T06:56:33Z-
dc.date.available2016-06-07T06:56:33Z-
dc.date.issued2533-
dc.identifier.isbn9745776475-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48063-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของวิธีประมาณค่าพารามิเตอร์ข้อสอบและค่าความสามารถของผู้เข้าสอบ ระหว่างวิธีแมกซิมัมไลค์ลิฮูด วิธีฮิวริสติก และวิธีของเบย์ ของแบบจำลองโลจีสติก 3 พารามิเตอร์ โดยศึกษาจากแบบสอบวัผลสัมฤทธิ์ วิชาภาษาไทย (ด้านการใช้ภาษา) และแบบสอบความถนัดจำแนกด้านการใช้ภาษาไทย ซึ่งมีจำนวน 40 ข้อ และ 80 ข้อ ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดจันทบุรี จำนวน 1,028 คน การวิเคราะห์ผลใช้โปรแกรม LOGIST 5 Version 2.5 และโปรแกรมภาษาฟอร์แทรน เพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ ความยาก อำนาจจำแนก การเดาของข้อสอบและความสามารถของผู้เข้าสอบ ตามวิธีประมาณค่าทั้ง 3 วิธี คำนวณค่าฟังก์ชันสารสนเทศข้อสอบและแบบสอบ ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ และความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ของแบบสอบ ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ที่ประมาณค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบด้วยวิธีแมกซิมัมไลค์ลิฮูด มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ในกลุ่มผู้เข้าสอบที่มีความสามารถสูง รองลงไปคือแบบสอบที่ประมาณค่าด้วยวิธีของเบย์และวิธีฮิวริสติก ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มผู้เข้าสอบที่มีความสามารถปานกลางและต่ำนั้น แบบสอบที่ประมาณค่าด้วยวิธีของเบย์ มีประสิทธิภาพสูงที่สุด รองลงไปคือ แบบสอบที่ประมาณค่าความสามารถของผู้เข้าสอบทั้ง 3 วิธี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยวิธีของเบย์ ให้ค่าความตรงร่วมสมัยสูงที่สุด รองลงไปคือ วิธีฮิวริสติก หรือวิธีแมกซิมัมไลค์ลิฮูด 2. แบบสอบความถนัด ที่ประมาณค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบด้วยวิธีแมกซิมัมไลค์ลิฮูด มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ในกลุ่มผู้เข้าสอบที่มีความสามารถสูง รองลงไปคือแบบสอบที่ประมาณค่าด้วยวิธีของเบย์และฮิวริสติก ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มผู้เข้าสอบที่มีความสามารถปานกลาง แบบสอบที่ประมาณค่าพารามิเตอร์ข้อสอบด้วยวิธีของเบย์ มีประสิทธิภาพสูงที่สุด รองลงไปคือแบบสอบที่ประมาณค่าด้วยวิธีแมกซิมัมไลค์ลิฮูด และวิธีฮิวริสติกตามลำดับ แต่ในกลุ่มผู้เข้าสอบที่มีความสามารถต่ำ แบบสอบที่ประมาณค่าพารามิเตอร์ข้อสอบด้วยวิธีของเบย์มีประสิทธิภาพสูงที่สุด รองลงไปคือแบบสอบที่ประมาณค่าด้วยวิธีฮิวริสติก และวิธีแมกซิมัมไลค์ลิฮูด ตามลำดับ สำหรับความตรงเชิงทำนายที่เป็นผลจากการประมาณค่าความสามารถของผู้เข้าสอบทั้ง 3 วิธี แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยวิธีของเบย์ให้ค่าความตรงเชิงทำนายสูงที่สุด รองลงไปคือวิธีฮิวริสติก และวิธีแมกซิมัมไลค์ลิฮูด ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to compare efficiency of parameter estimation of the three parameter logistic model among Maximum Likelihood, Heuristic and Bayesian methods. The achievement and aptitude tests, which consisted of 40 and 80 questions respectively, on Thai Language Usage were employed for this study . The sample of 1,028 Mathayom 3 students of the Secondary School in Chantaburi province were randomly assigned to take the tests. The responses were analyzed by LOGIST 5 Version 2.5 and FORTRAN program to estimate the difficultly, discriminating, guessing and ability parameter through the three different methods. Item and test information function were calculated. The relative efficiency and the criterion related validity of tests were also computed. The finding were as also computed. 1. In achievement test, Maximum Likelihood method produced the most efficient of estimation for which the high ability group as following by Bayesian and Heuristic methods respectively. Bayesian method produced the most efficient of estimation for which the group of middle and low examinees as following by Maximum Likelihood and Heuristic methods respectively. There were statistically significant among the concurrent validity computed by the three different methods, The results showed the highest concurrent validity index computed by Bayesian method as following by Heuristic or Maximum Likelihood method. 2. In aptitude test, Maximum Likelihood method produced the most efficient of estimation for which the high ability group as following by Bayesian and Heuristic methods respectively. Bayesian method produced the most efficient of estimation for which the middle ability group as following by Maximum Likelihood and Heuristic methods respectively. And for which the group of low examinees, Bayesian method produced the most efficient of estimation as following by Heuristic and Maximum Likelihood methods respectively. There were statistically significant among the predictive validity computed by the three different methods. The results showed the highest predictive validity index computed by Bayesian method as following by Heuristic and Maximum Likelihood methods respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการทดสอบความสามารถ
dc.subjectการทดสอบ
dc.subjectแบบทดสอบ
dc.subjectทฤษฎีการตัดสินใจทางสถิติของเบส์
dc.subjectสถิติการศึกษา
dc.titleการเปรียบเทียบประสิทธิผลของวิธีประมาณค่าพารามิเตอร์ ของแบบจำลองโลจีสติก 3 พารามิเตอร์ ระหว่างวิธีแมกซิมัมไลค์วิฮูด วิธีฮิวริสติก และวิธีของเบย์ในแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบความถนัดen_US
dc.title.alternativeA comparison of efficiency of parameter estimation of the three parameter logistic model among maximum likelihood, hueristic and bayesian methods in achievement and aptitude testsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichuda_bu_front.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Wichuda_bu_ch1.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Wichuda_bu_ch2.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open
Wichuda_bu_ch3.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open
Wichuda_bu_ch4.pdf6.31 MBAdobe PDFView/Open
Wichuda_bu_ch5.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Wichuda_bu_back.pdf8.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.