Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48073
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มงคล เตชะกำพู | - |
dc.contributor.author | รังสี อดุลยานุภาพ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-06-07T07:20:47Z | - |
dc.date.available | 2016-06-07T07:20:47Z | - |
dc.date.issued | 2539 | - |
dc.identifier.isbn | 97463344884 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48073 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการฉีดกระตุ้นรังไข่ลูกโคพื้นเมืองไทยก่อนวัยเจริญพันธุ์ด้วยฮอร์โมนโกนาโดโทรปินรวมทั้งการกระตุ้นซ้ำและผลของการใช้ฮอร์โมน เอช ซี จี รวมทั้งความสามารถในการนำโอโอไซต์ที่ได้ไปทำการปฏิสนธินอกร่างกาย โดยการกระตุ้นลูกโคพื้นเมืองไทยอายุ 4-6 เดือนด้วยฮอร์โมน เอฟ เอส เอช ขนาด 192 มก. (32/32,24/24,24/24,16/16) โดยฉีดเข้ากล้ามทุก 12 ชั่วโมงในวันสุดท้ายของการฉีดกระตุ้นแบ่งลูกโคออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว คือกลุ่ม A ฉีดฮอร์โมน เอฟ เอส เอช ร่วมกับ ฮอร์โมน เอส ซี จี (500 ไอยู) และกลุ่ม B ฉีดเฉพาะฮอร์โมน เอฟ เอส เอช อย่างเดียว หลังจากนั้น 24 ชั่วโมง ดูดเก็บโอโอไซต์โดยการเปิดผ่าช่องท้อง จากนั้นทำการทดลองฉีดฮอร์โมนกระตุ้นซ้ำ ครั้งที่ 2, 3 และ 4 ห่างกันครั้งละ 6-8 สัปดาห์ โดยสลับกลุ่มการฉีดฮอร์โมนจากกลุ่ม A เป็นกลุ่ม B , กลุ่ม B เป็น กลุ่ม A สลับกันไป โอโอไซต์ที่เจาะเก็บได้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือโอโอไซต์ที่เจริญพร้อมปฏิสนธิ (Matured oocyte) และโอโอไซต์ที่เจริญไม่พร้อมปฏิสนธิ (Immature oocyte) นำโอโอไซต์ที่ได้ไปเพาะเลี้ยงและทำการปฏิสนธิต่อไป จากการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของการตอบสนองของรังไข่จากการฉีดกระตุ้น 4 ครั้งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 32.2±3.0 ใบ/ครั้ง/ตัว และไม่มีความแตกต่างในแต่ละครั้งของการฉีดกระตุ้น (ครั้งที่ 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ) เท่ากับ 46.1±8.8 , 28.6±3.6 , 26.4±3.5 และ 27.7±5.1 ใบ/ครั้ง/ตัว และกลุ่มทดลอง A ที่ฉีด ฮอร์โมน เอฟ เอส เอช ร่วมกับฮอร์โมน เอช ซี จี ไม่มีผลอย่างนัยสำคัญต่อการตอบสนองของรังไข่ทั้งจำนวนและขนาดของฟอลลิเคิล เมื่อเทียบกับกลุ่มทดลอง B ที่ฉีดเฉพาะฮอร์โมน เอฟ เอส เอช อย่างเดียว จากผลการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน จำนวนโอโอไซต์ที่เก็บได้ทั้งหมด เท่ากับ 704 ใบจาก 1274 ฟอลลิเคิล เฉลี่ย 17.6±1.8 ใบ/ครั้ง/ตัว คิดเป็นอัตราการเก็บโอโอไซต์เท่ากับ 55.2 % โดยกลุ่มทดลอง A สูงกว่ากลุ่มทดลอง B เท่กับ 59.1% และ 50.5% ตามลำดับ และจากการกระตุ้นซ้ำจะได้โอโอไซต์ชนิด matured ลดลง (P<0.05) นอกจากนี้กลุ่มทดลอง A จะได้จำนวนโอโอไซต์ชนิด matured มากกว่าและโอโอไซต์ชนิด matured น้อยกว่ากลุ่ม B นำโอโอไซต์ที่ได้ไปเพาะเลี้ยงเพื่อให้เกิดสภาวะพร้อมปฏิสนธิในน้ำยาเพาะเลี้ยงโดยเลี้ยงร่วมกับเซลล์กรานูโลซานาน 24 ชั่วโมง สำหรับโอโอไซต์ชนิด immature และ 4 ชั่วโมง สำหรับโอโอไซต์ชนิด matured จากการสุ่มตัวอย่างโอโอไซต์ทั้ง 2 ชนิดมาตรวจดูสภาวะพร้อมปฏิสนธิ พบว่ามีอัตราการเกิดสภาวะพร้อมปฏิสนธิไม่แตกต่างกัน (73.6% และ 73.5% ตามลำดับ) นำโอโอไซต์ส่วนที่เหลือไปฏิสนธินอกร่างกายกับตัวอสุจิที่ผ่านขบนวนการ capacitation จากนั้นเลี้ยงตัวอ่อนที่ได้น้ำยาเพาะเลี้ยงชนิด B₂ ที่เติม 10% FCS โดยเลี้ยงร่วมกับเซลล์ท่อนำไข่โค ตรวจดูอัตราการแบ่งตัวหลังจากปฏิสนธินอกร่างกาย 48 ชั่วโมง พบว่า ได้อัตราการแบ่งตัวเท่ากับ 32.9% (114/346 ใบ) โดยไม่มีความแตกต่างระหว่างโอโอไซต์ชนิด immature และโอโอไซต์ชนิด matured เท่ากับ 32.2% และ 35.4% ตามลำดับ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สามารถฉีดกระตุ้นรังไข่ถูกโคพื้นเมืองไทยก่อนวัยเจริญพันธุ์ได้ด้วยฮอร์โมนโกนาโดโทรปินรวมทั้งกระตุ้นซ้ำโดยวิธีการเปิดผ่าช่องท้องเจาะเก็บโอโอไซต์และฮอร์โมน เอช ซี จี มีผลต่อการเพิ่มจำนวน โอโอไซต์ชนิด immature และอัตราการเก็บโอโอไซต์ อีกทั้งสามารถนำโอโอไซต์ที่ได้ไปทำการปฏิสนธินอกร่างกายและสามารถเจริญเป็นตัวอ่อนได้หลังการผสม 48 ชม. | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research had the objective to study the stimulation in Thai prepuberal native calves by gonadotropin hormone and also repeated stimulation and effect to the hCG administration and calf oocytes can be fertilized in vitro and developed to 2 – 4 cell stage embryo after 48 hrs. Ten Thai native calves at 4 – 6 months of age were treated with FSH by the regimens as follows; total dose ,192 mg IM. In 8 injection (32/32 , 24/24 , 24/24 and 16/16 mg) at 12 hrs. intervals. On the last day of FSH treatment, calves were randomized into 2 groups of 5 calves of each as follows: Treatment A (FSH+ hCG) , received an IM injection of hCG 500 iu but treatment B (FSH only) not received hCG injection. Oocytes collection by caudal midline laparotomy were performed 24 hrs. later by general anesthesia. The oocytes were directly aspirated and classified into 2 types : matured oocytes and immature oocytes and repeated stimulation 3 times by alternately among the treatment (A-->B , B-->A) at 6 – 8 weeks interval. Ovarian response of Thai prepuberal calves for 40 stimulations were 32.2 ± 3.0 /stimulation/calf and no difference among number of stimulation. Treatment A (FSH + hCG) were no difference of ovarian response both number and size of follicles compared with treatment B (FSH only). Seven hundred and four oocytes were aspirated from 1274 follicles average 17.6 ± 1.8 oocyte/stimulation/calf and oocyte recovery rate were 55.2% that treatment A had more than treatment B (59.1 and 50.0% respectively ). Repeated stimulation decrease number of matured oocytes (P<0.05). Treatment A were matured oocytes more than treatment B Oocyte were cultured in maturation media: TCM-199 with granulose cell for 24 hrs. in mature oocytes and 4 hrs in mature oocytes sampling oocyte for fixation, Maturation rate did not difference between 2 gr. (73.6% and 73.5% resp.). Retained of oocytes were inseminated by swim-up spermatozoa for 18 hrs. and culture in B₂ medium coculture with BOEC. Cleavage rate after insemination 48 hrs. were 32.9% (114/346) and no difference between immature and matured oocytes (32.2% and 35.45% resp.). This experiments indicated that had possibility to stimulate Thai prepuberal native calves by gonadotropin hormone and also repeated stimulation. The hCG administration had no effect to increased ovarian response but increased number of matured oocyte and oocyte recovery rate. Calf oocytes could be fertilized in vitro and developed to 2-4 cell stage embryo after 48 hrs. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ปฏิสนธิในหลอดแก้ว | en_US |
dc.subject | โค -- การผสมเทียม | en_US |
dc.title | การปฏิสนธินอกร่างกายในลูกโคก่อนวัยเจริญพันธุ์ | en_US |
dc.title.alternative | In vitro fertilization in prepuberal calves | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rangsri_ad_front.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rangsri_ad_ch1.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rangsri_ad_ch2.pdf | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rangsri_ad_ch3.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rangsri_ad_ch4.pdf | 894.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rangsri_ad_back.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.