Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48172
Title: พฤติกรรมการสื่อสารและการผสมกลมกลืนเข้ากับวัฒนธรรมไทย : ศึกษาเฉพาะชาวจีนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
Other Titles: Communication behavior and Thai cultural assimilation : a study of chinese in Chiang Mai municipal area
Authors: สุมน อยู่สิน
Advisors: กริช สืบสนธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การสื่อสาร
สื่อมวลชน
ชาวจีน -- ไทย
การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาถึงพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชนและปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ชาวจีนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่มีการผสมกลมกลืนเข้ากับวัฒนธรรมไทย วิธีการรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ผู้ที่มีบิดาหรือมารดาเป็นคนสัญชาติจีนโดยกำเนิด มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 148 ตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่างได้ใช้วิธีการสุ่มแบบมีระบบแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ การทดสอบค่าความแปรปรวน (Analysis of Variance) การทดสอบค่าไคสแควร์ (X² ) การหาค่าสหสัมพันธ์ การทดสอบแบบ t-test และการทดสอบเครื่องหมาย (Sig-test) ผลการวิจัยปรากฏว่า ความถี่ในการเปิดรับสื่อมวลชนซึ่งได้แก่วิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์และภาพยนตร์ มีผลทำให้กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติและการปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทยแตกต่างกัน และพบว่ามีสื่อมวลชนบางประเภทได้แก่ วิทยุและภาพยนตร์ มีผลต่อการใช้ภาษาไทยเป็นภาษาพูดในชีวิตประจำวัน ส่วนในด้านการยึดถือประเพณีไทยและจีนนั้น ไม่พบว่ามีสื่อมวลชนประเภทใดที่มีผลทำให้กลุ่มตัวอย่างมีการยึดถือประเพณีทั้งสองฝ่ายแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนสื่อมวลชนที่เปิดรับ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดรับจำนวนมากหรือน้อยไม่มีผลต่อการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่นเพศ พบว่าเพศชายหรือเพศหญิงไม่มีความแตกต่างกันในด้านการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์หรือมีผลต่อการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมได้แก่อายุ การศึกษา อาชีพและความผูกพันภายในกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกัน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสื่อมวลชนมิใช่ปัจจัยที่สำคัญเพียงปัจจัยเดียวในการทำให้ชาวจีนมีการผสมกลมกลืนเข้ากับวัฒนธรรมไทย หากยังจะต้องมีปัจจัยอื่น ๆ มาสนับสนุนอีกด้วย สำหรับสภาพของการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของชาวจีนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ อยู่ในระดับที่มีการผสมกลมกลืนเข้ากับวัฒนธรรมได้ดี จะเห็นได้จากการที่กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ชื่อตัวและชื่อสกุลเป็นไทย และนิยมใช้ภาษาไทยเป็นภาษาพูดกับคนในครอบครัว และในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น ส่วนการยึดถือประเพณีนั้น ส่วนใหญ่จะยึดถือประเพณีไทยและจีนควบคู่กันไป โดยไม่ละทิ้งประเพณีจีนที่ได้ปฏิบัติสืบมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงเนื้อหาของสื่อมวลชนต่างๆ ให้มีการส่งเสริมให้ชาวจีนมีความรู้สึกผูกพันต่อประเทศชาติ และวัฒนธรรมไทยมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะให้ผู้ที่จะทำการวิจัยต่อไปได้ศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมในด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากวัฒนธรรมทางด้านการใช้ภาษาไทย ทัศนคติ การปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทย และการยึดถือประเพณี รวมทั้งเสนอให้มีการศึกษา พฤติกรรมการสื่อสารและการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในสังคมไทยต่อไป
Other Abstract: This study aims at studying the Chinese behavior in Chang Mai municipal area in mass media exposure and finding out factors which assimilate the Chinese to Thai culture. The survey research methodology is used the data are gathered from the sampled group by the questionnaire. The sampled group consists of 148 people who were korn to Chinese fathers or mothers with Chinese nationality. They are 15 years of age and over, both male and female, have been living in Chaing Mai municipal area. The sampled group is selected by systematic and purposive sampling. The data are analyzed in percentage, analysis of variance, Chi-Square, correlations, T-test and Sign test. The research findings show that the frequency of mass media exposure such as to radio, newspapers, television and film has quite a substantive influence on the respondents’ attitudes and behaviors. Some particular mass media, such as radio and film are found affecting the daily Thai language usage. No specific mass medium is found influencing the holding of Thai and Chinese culture differently. Besides, the varying amount of the mass media exposure is found not affect the cultural assimilation of the respondents. Regarding, male and female respondents, there is no difference in cultural assimilation. Factors that are found related to cultural assimilation are age, education, occupation and bond within the ethic network. It is also found that it is not merely the mass media playing an important role in assimilating the Chinese to Thai culture, but other factors are essential for their adaption. The Chinese in Chiang Mai municipal area assimilate to Thai culture considerably good. This can be justified when most of respondents change their Chinese first and family names to Thai and they prefer to use Thai in communicating with other family members. Meanwhile, they still keep their ascestral tradition. Some suggestions for the mass media operation are offered. More emphasis should be place on the promotion of patriotism and Thai culture for the Chinese. Further research can be done in analyzing other factors establishing cultural assimilation as well as the adaptative behavior of other minority group in Thai society.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48172
ISBN: 9745632465
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumon_yu_front.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_yu_ch1.pdf866.77 kBAdobe PDFView/Open
Sumon_yu_ch2.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_yu_ch3.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_yu_ch4.pdf7.23 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_yu_ch5.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Sumon_yu_back.pdf7.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.