Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48178
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ | - |
dc.contributor.author | สมปอง วงศ์สุทธิรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-06-08T02:54:53Z | - |
dc.date.available | 2016-06-08T02:54:53Z | - |
dc.date.issued | 2533 | - |
dc.identifier.isbn | 9745772178 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48178 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงราคาของผัก และการตลาดในชนบท เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็กที่มีการสร้างฝาย โดยนำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาวางแผนการเพาะปลูกผักให้เหมาะสม ทั้งในด้านการเลือกชนิดของผัก และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเพาะปลูก โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาในพื้นที่เขตลุ่มน้ำห้วยยาง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งผักที่ทำการศึกษาทั้งหมดมี 10 ชนิด คือ แตกกวา ผักกาดขาว มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว ผักบุ้งจีน หอมแบ่ง ผักคะน้า กะหล่ำปลี พริกขี้หนู และมะเขือเปราะ สำหรับผัก 8 ชนิดแรกเป็นผักที่นิยมปลูกกันในเขตลุ่มน้ำห้วยยาง ส่วนพริกขี้หนูและมะเขือเปราะเป็นพืชชนิดใหม่ที่นำมาศึกษา โดยพริกขี้หนู (พันธุ์หัวเรือ) เป็นพืชที่นิยมปลูกที่ตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ส่วนมะเขือเปราะเป็นพืชที่นิยมปลูกที่ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์ส่วนเหลื่อมการตลาด ประสิทธิภาพการตลาด ส่วนแบ่งที่เกษตรกรได้รับ ดัชนีความไม่เสถียรภาพ และพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคา ผลการวิเคราะห์ พบว่า ในกรณีของผักที่เพาะปลูกในบริเวณลุ่มน้ำห้วยยาง ผักที่เกษตรกรควรเพาะปลูกมากที่สุดคือ ถั่วฝักยาว รองลงมาได้แก่ผักคะน้า มะเขือเทศ ผักบุ้งจีน ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา และหอมแบ่ง ตามลำดับ ส่วนกรณีผักชนิดใหม่ที่นำมาศึกษา พบว่า พริกขี้หนูเป็นผักที่ควรปลูกควรปลูกมากกว่ามะเขือเปราะ สำหรับในเรื่องเกี่ยวกับช่วงของระยะเวลาที่เหมาะสม ในการเพาะปลูกผักแต่ละชนิดนั้น พบว่า แตงกวา ควรเพาะปลูกในช่วงเดือนเมษายน-กันยายน ผักกาดขาวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และเดือนมิถุนายน-กันยายน มะเขือเทศในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน และสิงหาคม-ตุลาคม ถั่วผักยาวในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน และพฤศจิกายน-ธันวาคม ผักบุ้งจีนในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม และกันยายน-พฤศจิกายน หอมแบ่งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กันยายน กะหล่ำปลีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กันยายน ผักคะน้า ในช่วงเดือนมกราคม มีนาคม เมษายน และกรกฎาคม-ตุลาคม พริกขี้หนูในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม และมะเขือเปราะควรปลูกในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และกันยายน-พฤศจิกายน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The thesis aims to study the prices of vegetable and the rural marketing in order to formulate guidelines for agriculture development in a small watershed area created by weir construction. The knowledge of this study can be used to plan vegetable growing by selecting the kinds of vegetable and the suitable period of planting. The study is conducted in the watershed area of HuaiYang in Nakorn Ratchasima province. The study covers ten kinds of vegetables : cumumber, Chinese cabbage, tomato, yard-long-bean, water spinach, multiplier onion, Chinese kale, cabbage, chilli, and small eggplant. The first eight of these vegetables are popular and have been grown in this watershed area. Chilli and small eggplant are the suggested vegetable for introduction into the area. Chilli (Hua Rau) is the popular crop n Hua Rau sub-district of Ubon Ratchathani province, while small eggplant is popular in Sila sub-district of Khon Kaen province. The present study analyzed marketing margins, marketing efficiency, return to farmers, instability index and behavior of price movement. Results from the study indicate that among the eight vegetables of this watershed area, the most appropriate vegetable is yard-long-bean, and others are Chinese kale, tomato, water spinach, Chinese cabbage, cabbage cucumber and multiplier onion. For the suggested vegetables, chilli is more appropriate than small eggplant. The appropriate period for growing of cucumber should be in April to September, Chinese cabbage should be in ether February to April or June to September, tomato should grow in either April to June of August to October, yard-long-bean should grow in either March to April or November to December, water spinach should grow in ether January to March or September to November, multiplier onion should be in February to September, cabbage should grow in February to September, Chinese kale should grown in January, March, April and July to October, chilli should grow in January to May, and small eggplant should grow in either January to February or September to November. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผัก -- ราคา | en_US |
dc.subject | ผัก -- การตลาด | en_US |
dc.subject | การปลูกพืช -- การวางแผน | en_US |
dc.subject | พืชไร่ -- แง่เศรษฐกิจ | en_US |
dc.subject | ส่วนเหลื่อมการตลาด | en_US |
dc.subject | ดัชนีราคา | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์อนุกรมเวลา | en_US |
dc.subject | อัตราผลตอบแทน -- ไทย | en_US |
dc.subject | ต้นทุน | en_US |
dc.subject | ลุ่มน้ำห้วยยาง | en_US |
dc.title | ราคาของผักและการตลาดในชนบท : กรณีศึกษา ของเขตลุ่มน้ำห้วยยาง | en_US |
dc.title.alternative | Rural vegetable prices and marketing : a case study of Huaiyang Watershed area | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sompong_von_front.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_von_ch1.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_von_ch2.pdf | 2.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_von_ch3.pdf | 3.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_von_ch4.pdf | 6.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_von_ch5.pdf | 9.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_von_ch6.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_von_back.pdf | 5.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.