Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48243
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชุลี อาชวอำรุง-
dc.contributor.authorรุ่งอรุณ รังรองรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-08T04:21:19Z-
dc.date.available2016-06-08T04:21:19Z-
dc.date.issued2532-
dc.identifier.isbn9745699543-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48243-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาถึงประเภท และแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับสูงของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในกรุงเทพมหานคร ตามการรับรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ให้ข้อมูลเป็นคณาจารย์ในวิทยาเขตต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร 11 วิทยาเขต ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่ปรับปรุงมาจาก Leadership Questionnaire ของ Bernard M. Bass มีจำนวนข้อกระทงทั้งสิ้น 72 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลได้คำนวณหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวน และวิเคราะห์ตัวประกอบด้วยวิธี Maximum Likelihood หมุนแกนตัวประกอบแบบออธอโกนอลด้วยวิธีวาริแมกซ์ โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS-X ข้อค้นพบมีดังนี้ คือ 1. ตามการรับรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชา ภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับสูงของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในกรุงเทพมหานครได้ ภาวะผู้นำ 2 ประเภท และได้แบบภาวะผู้นำ 5 แบบ ดังนี้ 1. ภาวะผู้นำประเภทเหนือรูปแบบ (Transformational Leadership) มีแบบภาวะผู้นำ 3 แบบ คือ 1.1 ภาวะผู้นำแบบอำนาจบารมี 1.2 ภาวะผู้นำแบบกระตุ้นเชิงปัญญา 1.3 ภาวะผู้นำแบบเน้นส่วนรวม 2. ภาวะผู้นำแบบประเภทปฏิสัมพันธ์ (Transactional leadership) มีแบบภาวะผู้นำ 2 แบบ คือ 2.1 ภาวะผู้นำแบบรูปแบบให้ปฏิบัติและให้รางวัล 2.2 ภาวะผู้นำแบบพ่อปกครองลูก 2. ในปัจจุบันผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นว่างานมีผลสำเร็จปานกลาง ผู้บังคับบัญชาสามารถประสานสัมพันธ์ความต้องการของผู้ใต้บังคับบัญชาในระดับปานกลาง พึงพอใจผู้บังคับบัญชาและวิธีบังคับบัญชาในระดับพอใจen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the pattern of high ranking administrator leadership of Rajamangala Institute of Technology by subordinates. A questionnaire with 72 items was used to collect data which were subsequently analyzed by SPSS-X. Factor analysis method with varimax rotation was employed to ascertain leadership styles. The major findings were as follows. Leadership of high ranking administrators in Rajamangala Institute of Technology was categorized into two types and five styles, namely, (1) Transformation Leadership ; 1.1 Charismatic 1.2 Intellectual Stimulation 1.3 Altruistic (2) Transactional Leadership; 2.1 Contingent Reward 2.2 Paternalistic. At present, subordinates perceived their leadership to be mediocre in their tasks, moderately mediocre in dealing with them. However, they are reported to be satisfied with their leaders.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับสูงของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeLeadership of high ranking administrators in the Rajamangala institute of technology, Bangkok metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPornchulee.A@Chul.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Roongaroon_ra_front.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Roongaroon_ra_ch1.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Roongaroon_ra_ch2.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open
Roongaroon_ra_ch3.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Roongaroon_ra_ch4.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open
Roongaroon_ra_ch5.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open
Roongaroon_ra_back.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.