Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48281
Title: การศึกษาเครื่องอบแห้งข้าวโพดแบบกระบะชนิดเม็ดไหลหมุนเวียน
Other Titles: A study of a recirculating batch corn dryer
Authors: วรพงษ์ นาคฉัตรีย์
Advisors: มานิจ ทองประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Manit.T@Chula.ac.th
Subjects: ข้าวโพด -- การอบแห้ง
เครื่องอบแห้งแบบเมล็ดไหลหมุนเวียน
การอบแห้ง
อุณหภูมิวิกฤต
ความชื้น -- การวัด
เมล็ดพืช -- ความชื้น
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เครื่องอบข้าวโพดแบบกระบะชนิดเมล็ดไหลหมุนเวียน เป็นเครื่องอบแห้งที่สามารถจะแก้ปัญหาเรื่องความชื้นที่แตกต่างกันมากในเครื่องอบแห้งแบบกระบะธรรมดา การศึกษาเครื่องอบข้าวโพดแบบกระบะชนิดเมล็ดไหลหมุนเวียนนี้ ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การจำลองแบบทางคณิตศาสตร์ของเครื่องอบแห้งฯ เพื่อศึกษาตัวแปรต่างๆ ที่สำคัญในการอบแห้งและการทดลองอบแห้งข้าวโพดกับเครื่องอบข้าวโพดแบบกระบะชนิดเมล็ดไหลหมุนเวียน เพื่อทำการเปรียบเทียบผลที่ได้จากการจำลองแบบฯ กับผลจากการทดลอง ผลจากการจำลองแบบฯ พบว่าตัวแปรสำคัญในการอบแห้งมีดังนี้ ก) อุณหภูมิของลมร้อนที่ใช้ในการอบแห้ง สำหรับค่าอุณหภูมิของลมร้อนนี้ถ้ามีค่าสูงจะทำให้ใช้เวลาในการอบแห้งน้อย แต่ในการอบแห้งไม่ควรให้อุณหภูมิสูงเกิน 185 องศาฟาเรนไฮท์สำหรับการอบแห้งข้าวโพดสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ ข) อัตราการไหลของอากาศ ถ้าใช้อัตราไหลของอากาศสูงก็จะทำให้ใช้เวลาในการอบแห้งน้อย ค) ความชื้นเริ่มต้นของข้าวโพด ควรจะทำการอบแห้งข้าวโพดที่มีความชื้นไม่สูงมาก เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานและเวลาที่ใช้ในการอบแห้ง ถ้าความชื้นเริ่มต้นของข้าวโพดมีค่าสูงก็จะให้ต้องใช้เวลาในการอบแห้งมาก ง) ความหนาของกระบะข้าวโพด ถ้าความหนากระบะมีค่าน้อยจะทำให้ปริมาณความจุของตู้อบแห้งน้อยลง ทำให้อบแห้งข้าวโพดได้ปริมาณที่น้อยลง แต่จะทำให้เวลาที่ใช้ในการอบแห้งใช้น้อยลงด้วย จ) ระยะเวลาของการอบแห้งต่อ 1 รอบ ควรให้ระยะเวลาของการอบแห้งต่อ 1 รอบใช้เวลาน้อยที่สุด เพื่อให้เมล็ดข้าวโพดมีการผสมผสานกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้ความแตกต่างของค่าความชื้นของข้าวโพดมีค่าน้อยลง ผลจากการเปรียบเทียบการจำลองแบบฯ กับการทดลองอบแห้ง พบว่าค่าความชื้นของข้าวโพดที่เวลาใดๆ, อัตราการลดความชื้น อุณหภูมิของอากาศที่ออกจากตู้อบแห้ง และเวลาที่ใช้ในการอบแห้งทั้งหมดมีค่าแตกต่างกันไม่มากนัก ค่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นพบว่าส่วนใหญ่จะเกิดจากการสูญเสียความร้อนเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นยังเกิดจากการเครื่องมือวัดที่มีความละเอียดไม่เพียงพอและความผิดพลาดจากผู้ทำการวัดเอง จากผลการทดลองพบว่าการสูญเสียความร้อนเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้ผลการจำลองแบบฯ คลาดเคลื่อนไปจากผลการทดลอง ซึ่งอาจจะแก้ปัญหานี้ได้โดยหุ้มฉนวนกันความร้อน และให้มีการไหลหมุนเวียนของเมล็ดเกิดขึ้นภายในตู้อบแห้งเลย
Other Abstract: A recirculating batch corn dryer can solve much more different-moisture content of corn in ordinary dryer. A study of this dryer was classified into two parts. One is a mathematical simulation of dryer in order to find suitable design variable of this corn drying. Another one is the experimentation on dryer in order to compare result of experimentation against with result of simulation. The result of the mathematical simulation was achieved that significant variable in corn drying are as follows : a) temperature of hot air for corn drying should be high temperature so that using the least drying time but not over 185oF for feedstuff. b) Air flow rate for corn drying, if it is higher, drying time will be less. c) initial moisture content should not be too high for time and energy saving. If initial moisture contentis higher, drying time is more. d) Batch thickness. If it is thiner, capacity of dryer is less and drying time is less too. e) Period of drying per cycle should have a short time so as to mix corn smoothly and the difference of moisture content of corn will be decreased. The result of the simulation and the experiment are compared and achieved that moisture content of corn at any time, rate of decreasing of moisture content, outlet air temperature from dryer and drying time were much different. The most of error was happened by heat lost and some minor error by technicians. The result of the experimentation has been found that heatlost is the only one important aspect which was made the result of the simulation deviate from the result of the experimentation. This solving method will be done by covering heat insulator and the circulation of corn should be circulated inside the dryer itself.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48281
ISBN: 9745699756
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worapong_na_front.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Worapong_na_ch1.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Worapong_na_ch2.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open
Worapong_na_ch3.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
Worapong_na_ch4.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Worapong_na_ch5.pdf907.07 kBAdobe PDFView/Open
Worapong_na_back.pdf8.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.