Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48329
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวัฒนา ธาดานิติ-
dc.contributor.authorวิชัย วิรัตกพันธ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-08T09:06:09Z-
dc.date.available2016-06-08T09:06:09Z-
dc.date.issued2537-
dc.identifier.isbn9745840335-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48329-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะเสนอแนะแนวทางการจัดหาพื้นที่รองรับ สำหรับผู้ที่ถูกไล่รื้อจากชุมชนแออัดโดยศึกษาถึงกลุ่มที่ได้รับการแก้ปัญหาด้วยการย้ายที่อยู่อาศัยใหม่ (Relocation) การดำเนินการศึกษาทำโดยการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ 4 พื้นที่ศึกษา คือ ชุมชนร่มเกล้า 1 ชุมชนสุวรรณประสิทธิ์ 2, 3 ชุมชนออเงิน และชุมชนอ่อนนุช 40 ไร่ แล้วนำข้อสรุปจากการศึกษามาทำการกำหนดเป็นแนวทางในการจัดหาพื้นที่รองรับการรื้อย้ายชุมชนของผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีข้อสรุปที่สำคัญดังนี้ 1. ความเป็นอยู่ของชาวบ้านในเรื่องคุณภาพชีวิตนั้นดีขึ้นกว่าเดิม แต่มีปัญหาที่อยู่ห่างจากที่ทำงานมากขึ้น เพราะลักษณะที่ทำงานของชาวชุมชนไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ชาวชุมชนต้องรับภาระด้านค่าเดินทางที่เพิ่มขึ้น และทำให้เสียเวลาในการเดินทางเพิ่มขึ้น 2. ในด้านทางเศรษฐกิจชาวชุมชนเมื่อย้ายมาอยู่ที่ใหม่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่รายจ่ายของชาวชุมชนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้รายจ่ายเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ ทำให้รายได้ที่เพิ่มขึ้นจึงถือว่าไม่ส่งผลต่อการครองชีพ 3. ชาวบ้านรู้สึกพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในที่ใหม่ และสภาพสาธารณูปโภคและสาธารณูปการของชุมชนใหม่พอควร แต่ไม่ค่อยพึงพอใจต่อการเดินทางไปทำงานและเข้าสู่เมือง 4. เนื่องจากชาวชุมชนเป็นกลุ่มที่การศึกษาน้อย จึงประกอบอาชีพที่ไม่เป็นทางการ และมีส่วนหนึ่งที่ต้องพึ่งพาแหล่งงานที่เป็นย่านพาณิชยกรรม ผลของการวิจัยได้เสนอแนวทางในการจัดหาพื้นที่รองรับชุมชนผู้มีรายได้น้อย ดังนี้ คือ 1. พื้นที่รองรับต้องอยู่ไม่ไกลจากสาธารณูปการพื้นฐาน แหล่งงาน และศูนย์กลางย่อย โดยมีรัศมี 5-7 ก.ม. โดยต้องมีการคมนาคมที่สะดวกพอสมควร 2. บริเวณที่ตั้งของชุมชนต้องอยู่ห่างจากถนนใหญ่ไม่เกิน 2 ก.ม. 3. ขนาดที่ดินแต่ละแปลงในการจัดเป็นที่อยู่อาศัยควรจะมีขนาดประมาณ 15 ตรว. 4. การตัดสินใจเลือกพื้นที่ต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของชาวชุมชนเป็นสำคัญen_US
dc.description.abstractalternativeThis research has got an aim to suggest the guidelines of land acquisition for evicted slums by studying the communities which had their problems solved by relocation, The study selected 4 samples from this type of communities; i.e. Rom Klow 1, Suwan Prasit 2, 3, or Ngun, and On-Nut 40 Rai, The study conclusion can provide such guidelines which can be summarized as follow, 1. Living, concerning quality of life, is better than before. There is a problem of farther work places because their work places do not change. The people must bear the increases travel expenses and spend move traveling time. 2. In the economic aspect, the people have got some increased income while their expenses also increase. However, the increase of expenditure is proportionally more than the increase of income, causing no effect to their cost of living. 3. The people satisfy the environment of new settlement, public utilities and facilities, but dissatisfy the traveling to work places and to downtown. 4. Due to the low education level of the people, their job is informal and depends upon commercial area. Results of the study indicate guidelines of land acquisition for the low income communities as follow ; 1. The acquired land must be within the radius of 5-7 km. form public infrastructure, work places and subcenters with convenient transportation. 2. The location of the communities should be within 2 km. from the main street. 3. The plot size for housing should be at least 15 sq. wah. 4. The site selection should consider people satisfaction.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectการจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่en_US
dc.subjectนโยบายการเคหะ -- ไทยen_US
dc.subjectรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectชุมชนแออัด -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectคนจน -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectชุมชนร่มเกล้าen_US
dc.subjectชุมชนสุวรรณประสิทธิ์en_US
dc.subjectชุมชนอ่อนนุช 40 ไร่en_US
dc.titleการศึกษาเพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดหาพื้นที่รองรับการรื้อย้ายชุมชน ผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeA study to be guidelines of land acquisition for relocation of low income communities in Bangkok Metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางผังเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuwattana.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vichai_vi_front.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_vi_ch1.pdf430.01 kBAdobe PDFView/Open
Vichai_vi_ch2.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_vi_ch3.pdf8.34 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_vi_ch4.pdf11.64 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_vi_ch5.pdf780.48 kBAdobe PDFView/Open
Vichai_vi_back.pdf926.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.