Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48346
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประวิตร นิลสุวรรณากุล-
dc.contributor.advisorจำรัส บิงคลาศัย-
dc.contributor.authorวรพจน์ อุชุไพบูลย์วงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-08T14:52:47Z-
dc.date.available2016-06-08T14:52:47Z-
dc.date.issued2532-
dc.identifier.isbn9745764205-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48346-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้ได้แยกปัจจัยเป็นสองส่วนคือ ปัจจัยภายนอกซึ่งหมายถึง ขนาด ประเภท และลักษณะของธุรกิจที่เป็นลูกค้าของสำนักงานสอบบัญชีซึ่งมีความสัมพันธ์กับปริมาณงานที่ผู้สอบบัญชีจะต้องปฏิบัติ ปัจจัยภายใน ซึ่งหมายถึง องค์ประกอบในการกำหนดค่าธรรมเนียมวิชาชีพของผู้สอบบัญชีหรือสำนักงานสอบบัญชี โดยใช้วิธีการวิจัยทางเอกสาร การสัมภาษณ์ และส่งแบบสอบถาม แหล่งที่มาของข้อมูลได้แก่ วารสารทางวิชาการ ข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสำนักงานสอบบัญชี และข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้รับจากธุรกิจที่ใช้บริการสอบบัญชี ผลของการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายนอกที่ใช้ในการประมา๕ธรรมเนียมวิชาชีพสอบบัญชี ซึ่งได้แยกพิจารณาเป็น 3 กรณี มีดังนี้ 1. กรณีการวิเคราะห์รวม ปัจจัยที่มีผลต่อค่าธรรมเนียมวิชาชีพสอบบัญชีคือ จำนวนทุนที่เรียกชำระ จำนวนรวมของรายได้ การเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ และขนาดของสำนักงานสอบบัญชี โดยปัจจัยทั้ง 4 สามารถอธิบายได้ในอัตราร้อยละ 59.32 เมื่อเทียบกับค่าจริง 2. กรณีการวิเคราะห์เฉพาะสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่ ปัจจัยที่มีผลต่อค่าธรรมเนียมวิชาชีพสอบบัญชี คือ จำนวนรวมของรายได้ การเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ และการที่บริษัทมีบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน โดยปัจจัยทั้ง 3 สามารถอธิบายได้ในอัตราร้อยละ 42.47 เมื่อเทียบกับค่าจริง 3.กรณีการวิเคราะห์สำนักงานสอบบัญชีขนาดกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อค่าธรรมเนียมวิชาชีพสอบบัญชี คือ จำนวนทุนที่เรียกชำระ จำนวนรวมของรายได้ จำนวนรวมของค่าใช้จ่าย การเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ และประเภทของธุรกิจ โดยปัจจัยทั้ง 5 สามารถอธิบายได้ในอัตราร้อยละ 86.48 เมื่อเทียบกับค่าจริง สำหรับปัจจัยภายใน ผลของการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ใช้เป็นองค์ประกอบในการกำหนดค่าธรรมเนียมวิชาชีพสอบบัญชีตามลำดับความสำคัญ มีดังนี้คือ เวลาที่ใช้ในการตรวจสอบบัญชี จำนวนพนักงานในแต่ละระดับที่ใช้ในการตรวจสอบ อัตราเงินเดือนของพนักงานตรวจสอบ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ได้แก่ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยควรเร่งดำเนินการให้ผู้ประกอบวิชาชีพเข้ามาเป็นสมาชิก ควรส่งเสริมให้ภาครัฐบาลและธุรกิจเห็นความสำคัญของการประกอบวิชาชีพ ควรพิจารณาหลักเกณฑ์การกำหนดค่าธรรมเนียมวิชาชีพและการกำหนดค่าธรรมเนียมวิชาชีพขั้นต่ำ คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีควรเพิ่มการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีและให้ผู้สอบบัญชีแจ้งค่าธรรมเนียมวิชาชีพ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับขอบเขตของงานสอบบัญชีen_US
dc.description.abstractalternativeThe study considered both external and internal factors affecting the setting of audit fees. External factors are size, type and client characteristic which reflect the quantity of audit task. Internal factors are the components used by the auditors or the firms in setting audit fees. The study methodology and approaches are conducted by documentary research, interviews and questionnaires. Sources of information are accounting are magazines, official publications, audit firm executives interviewing and responded questionnaires from audit client. From the regression analysis, the external factors are analyzed into : 1. Auditing business as a whole Called up capital, total revenue, listing in the stock market, and size of the audit firm were found to be the major factors which explain 59.32% of the audit fee. 2. Large size audit firm Total revenue, listing in the stock market, existence of related company were found to be the major factors which explain 42.47% of the audit fee. 3. Medium size audit firm Called up capital, total revenue, total expenditure, listing in the stock market, and type of business were found to be the major factors which explain 86.48% of the audit fee. The major internal factors affecting audit fee are in priority sequence, time consumption, number and level of staff assigned, staff salary, and office operating expenses. The study recommends that the Institute of Certified Accountants and Auditors of Thailand should invite all audit professionals to be member, the role of the audit profession should be emphasized to the public and private sectors, minimum fee should be considered. The Board of Supervision of Auditing Practices should closely monitor and control the standards of auditors and require disclosure of audit fees for assessing the reasonableness of the audit work.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการพิจารณากำหนดค่าธรรมเนียมวิชาชีพสอบบัญชี ในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeFactors affecting the consideration in determining audit fees in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบัญชีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vorapote_uc_front.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Vorapote_uc_ch1.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Vorapote_uc_ch2.pdf9.59 MBAdobe PDFView/Open
Vorapote_uc_ch3.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Vorapote_uc_ch4.pdf8.25 MBAdobe PDFView/Open
Vorapote_uc_ch5.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open
Vorapote_uc_back.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.